วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ทางออกไฟฟ้าเข้าไม่ถึงชุมชน


นายจรูญ คำปันนา ประธานคณะกรรมการผู้ใช้พลังงาน (คพข.) ประจำเขต 1 เผยว่า ข้อมูลจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 6 จังหวัดภาคเหนือ มีหลายพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากสายส่งเข้าไม่ถึง โดยรัฐบาลมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาขยายเขตไฟฟ้าเฉลี่ย ครัวเรือนละ 5 หมื่นบาท แต่หาก อยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ระบบสายส่งต้องมีต้นทุนสูงกว่าที่กำหนดจึงติดปัญหาในเรื่องงบประมาณ และบางส่วนติดปัญหาพื้นที่ป่าสงวน อุทยานและเขตป่าตามที่กฎหมายมีข้อห้าม ถือเป็นอุปสรรคหนึ่งต่อการขยายเขตไฟฟ้าใหม่ เช่นเดียวกันที่จังหวัดลำปาง เขต บ้านแม่ส้านอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าเพียง 30 ก.ม.แต่ระบบไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง ซึ่งต้องใช้เวลาในการผลักดันมายาวนานมาก ทั้งนี้สำนักงาน กกพ. ร่วมกับ คณะกรรมการผู้ใช้ไฟ (คพข.ประสานงานร่วมมือกันทุกฝ่าย เพื่อเชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวแทนผู้นำหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ มาประชุมหารือแนวทางออกร่วมกัน ส่งผลให้บางพื้นที่ได้รับการพิจารณาขยายเขตไฟฟ้าใช้ได้แล้ว และเร่งสำรวจพื้นที่ และเข้าไปประสานงานช่วยเหลือประชนพื้นที่ ไฟฟ้ารับเข้าไมได้ ก็ มีทางเลือกโดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ เช่นเดียวกับหมู่บ้านตัวอย่าง บ้านสองแควพัฒนา ตงแม่ยาว อ.เมือง เชียงราย และหมู่บ้านสามขา อ.แม่ทะ จงลำปาง ที่ใช้ไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากลำห้วย เป็นต้น

นายพงษ์พันธ์  ต๊ะถา นายกเทศมนตรีตำบลแม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย ประธานดำเนินโครงการพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำ หมู่บ้านแสงแควพัฒนา ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย เผยว่า จากปัญหาระบบไฟฟ้าจากรัฐบาลเข้าไม่ถึงเขตตำบลแม่ยาวซึ่งเป็นชุมชนที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่หลายชนเผ่า แม้จะเป็นพื้นที่เขต อ.เมือง แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตภูเขา และพื้นที่ป่า มีอุปสรรคมากมายทั้งเรื่องพื้นที่และงบประมาณการขยายเขตไฟฟ้ามาถึง นายกเทศมนตรีคนก่อนซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้วได้ริเริ่มโครงการนวัตกรรมพลังงานทดแทนขึ้นมาแก้ปัญหา โดยการใช้พลังงานน้ำจากลำห้วยจากภูเขาที่ไหลผ่าน เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และสร้างระบบสายส่งนำไฟฟ้าเข้าใช้เป็นไฟสาธารณะของหมู่บ้านเป็นโครงการแรก เมื่อใช้ได้ผลจึงขยายกำลังการผลิตไฟฟ้า เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาด 40 กิโลวัตต์ ส่งไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้าน ประมาณ 40 ครัวเรือน เก็บค่าฟ้าเดือนละ 20 บาท ต่อ 1 ครัวเรือน  โดยโครงการนี้ได้งบประมาณจากการลงขันของชาวบ้าน และเงินสนับสนุนจากเทศบาล รวมถึงองค์การสหประชาชาติ ได้นำงบประมาณเข้ามาอุดหนุน

 อย่างไรก็ตาม  นายอนุชา อำนาจสกุล สท.แม่ยาว กล่าวว่า พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความเป็นอยู่ เมื่อมีข้อจำกัดเรื่องการใช้ไฟฟ้าจากรัฐบาล ก็ต้องหันมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านสองแควพัฒนา จะเป็นต้นแบบและขยายโครงการไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ในเขตตำบลแม่ยาว ซึ่งทั้งหมด เป็นหมู่บ้านชนเผ่า ให้ได้มีไฟฟ้าใช้ได้เช่นเดียวกับชุมชนเมือง

 (หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 945 วันที่ 27 กันยากัน - 3 ตุลตาคม 2556)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์