วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

จากแดนมังกร ถึงล้านนา

            
ความสำเร็จอย่างถล่มทลายของภาพยนตร์จีนเรื่อง Lost in Thailand หรือแก๊งม่วน ป่วนไทยแลนด์ ที่มีกำหนดฉายทั้งในประเทศไทยและประเทศจีนตั้งแต่ปี พ.2556 โดยมาถ่ายทำในประเทศไทย และมีเมืองเชียงใหม่เป็นโลเกชันหลัก ผลของภาพยนตร์เรื่องนี้ ส่งแรงกระตุ้นมหาศาลต่อชาวจีนจำนวนมาก ให้อยากมาท่องเที่ยวประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองเชียงใหม่ดูสักครั้ง
           
กระแสจาก Lost in Thailand บวกรวมกับนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวจากทั้งไทยเอง และรัฐบาลจีน ซึ่งผ่อนปรนกฎระเบียบในการเดินทางไปต่างประเทศของประชาชนมากขึ้น เช่น การอนุ­าตให้นำเงินออกนอกประเทศมากขึ้น การอนุ­าตให้ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยว หรือเยี่ยม­าติในต่างประเทศ โดยไม่ต้องซื้อแพ็กเกจทัวร์แบบเหมาจ่ายจากบริษัทนำเที่ยว และการเพิ่มจำนวนประเทศที่อนุ­าตให้ชาวจีนเดินทางไปได้ ส่งผลให้ในปี พ.2557 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 7 จากบรรดาประเทศยอดนิยมทั้งหมด 8 ประเทศของนักท่องเที่ยวจีน (อันดับ 1 นิวซีแลนด์โดยมีตัวเลขประมาณการของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่หลั่งไหลมาเที่ยวประเทศไทยอยู่ที่ 4.6 ล้านคน ทั้งนี้ จังหวัดยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจีนมี 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต และกระบี่ กิจกรรมยอดนิยมอันดับ 1 คือชมโบราณสถาน พอ ๆ กับอันดับ 2 การชิมอาหารไทย ด้านสินค้ายอดนิยมที่นักท่องเที่ยวจีนโปรดปราน คือ เสื้อผ้า
           
ปีนี้เป็นปีที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชูแคมเป­ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558” และคาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 5.6 ล้านคน นำมาซึ่งรายได้ 2.48 แสนล้านบาท
           
แน่นอน อย่าลืมว่านักท่องเที่ยวจีนนั้น มีวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่างกับเราอย่างสุดขั้ว สำหรับคนที่ผ่านการอบรมมัคคุเทศก์มาแล้ว ย่อมรู้ดีว่า เหล่านี้คือตัวอย่างพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแต่ละประเทศที่ต้องรับรู้และทำความเข้าใจ
           
ชาวจีน – ไม่ชอบการทะเลาะ  ชอบซื้อของที่ระลึกฝากผู้อาวุโส ชอบสีแดง สีทอง และเลข 8 เดินทางเป็นกลุ่ม กินอาหารจุ ชอบดูโชว์คาบาเรต์
           
ชาวอังกฤษ – รักสัตว์ เกลียดการทารุณ แต่งกายสุภาพ ชอบทะเล ชอบชนบท ชอบความเป็นส่วนตัว เป็นคนไว้ตัว ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหาร ไม่ชอบปะปนกับกลุ่มอื่น
           
ชาวออสเตรเลีย – ชอบภูเขา เป็นคนง่าย ๆ นิสัยใกล้เคียงกับชาวอังกฤษ
           
ชาวอเมริกัน – ชอบทะเล เป็นคนสบาย ๆ กล้าจ่ายหากคุ้มค่าเงิน ชอบให้แสดงตัว แต่งกายสุภาพ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดอิสระ ไม่สนใจใคร
           
ชาวเยอรมัน – ชอบกินอาหาร ชอบลองอาหารแปลกใหม่ กินจุ เป็นคนสบาย ๆ เป็นคนตรง
           
ชาวฝรั่งเศส –เดินทางเป็นกลุ่ม ใช้จ่ายระมัดระวัง แต่ถ้าซื้ออะไรจะซื้อตามกัน ค่อนข้างทำตัวตามสบาย เสียงดัง
           
ชาวฮอลแลนด์ – เป็นคนตรง สุภาพ ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ชอบท่องเที่ยวราคาประหยัด ไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ
           
ชาวรัสเซีย – ชอบมาเป็นกลุ่ม ชอบทะเล-ทะเลสาบ-แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ชอบแสง-เสียง ชอบเที่ยวกลางคืน
           
ชาวอิสราเอล – เลือกกิน ชอบฤดูฝน อยู่กันเป็นกลุ่ม สนใจงานหัตถกรรม ชอบท่องเที่ยวผจ­ภัย ใช้จ่ายประหยัด
           
ชาวอาหรับ – เดินทางเป็นครอบครัว ชอบช็อปปิงในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะสินค้าแบรนด์เนม กล้าจ่าย จึงมีการใช้จ่ายสูง
           
ชาว­ี่ปุ่น – นับถือโชคลาง รักความสงบ รักษาสุขภาพ ใช้จ่ายระมัดระวัง ชอบห้องน้ำที่มีอ่างอาบน้ำ ชอบเดินทางท่องเที่ยวกันเองโดยลำพัง
           
ชาวเกาหลี – เสียงดัง รุนแรง ใช้จ่ายน้อย ชอบตีกอล์ฟ ชอบกิจกรรมท่องเที่ยวประเภทสันทนาการ
           
นี่คือการจับจุดพฤติกรรมโดยรวม ซึ่งจะเห็นว่าแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันไป แต่สำหรับนักท่องเที่ยวจีน พฤติกรรมอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางวิถีชีวิตและบริบททางสังคม มีให้เล่าขานได้อย่างไม่รู้จบ โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ นับวันจะยิ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มขึ้น ร้านอาหารบางร้านถึงกับขึ้นป้ายไม่ไยดีต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ บางโรงแรมต้องแยกโซนกันเลยทีเดียว ร้อนถึง ทททสำนักงานเชียงใหม่ต้องประสานงานกับสำนักงาน ทททในประเทศจีน เพื่อสร้างความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยให้นักท่องเที่ยวจีนได้รับรู้ก่อนจะเดินทางมาท่องเที่ยว และดูเหมือนทางการจีนเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ คงจะหามาตรการต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพนักท่องเที่ยวของเขามากขึ้น
           
สำหรับลำปาง อาจไม่ใช่เมืองเป้าหมายหลักของนักท่องเที่ยวจีน แต่หากวันใดที่เมืองนอกกระแสอย่างเราเกิดไปเข้าตากรรมการ และวันนั้นยังไปไม่ถึงการพัฒนากฎกติกามารยาททางสังคม การทำความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่าง (ถึงจะสุดขั้วก็เถอะจะช่วยบรรเทาความขัดเคืองใจให้เราต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างภาษาได้อย่างมีความสุขขึ้น


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1030   วันที่  29 พฤษภาคม - 4 มิถุนายน 2558) 
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์