วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิงเวียน รถในวงเวียน

           
ลายปีก่อน ขับรถผ่านเชียงใหม่ เจอป้ายจราจรชวนเวียนหัว ของตำรวจจราจรเชียงใหม่ อ่านแล้วคำสองคำแรกเหมือนจะเข้าใจ แต่พออ่านต่อไป เริ่มงงงัน เช่น ห้ามเลี้ยวซ้าย ให้เลี้ยวขวาได้ เมื่อไม่นานมานี้ ใกล้ๆลำปาง ก็เห็นป้ายจราจร เป็นรูปเนินและข้อความ รถกระโดด ที่ลำพูน
           
ย้อนไปเชียงใหม่อีกที ทางไปโรบินสัน ก็มีป้ายจราจรเขียนตัวโตๆว่า “ห้ามเลย” ข้างล่างบอกเวลา 07.00 – 09.00 น.และ 15.00 – 17.00 น.ตกลงจะ ห้ามเลย หรือห้ามจอด เรียกว่าเป็นจิตวิทยาชั้นสูง ที่ทำให้คนใช้ถนนมีเรื่องต้องขบคิด ว่าจะจัดการกับชีวิตกับรถของตนเองอย่างไร
           
กลับมาที่ลำปาง ป้ายจราจรในวงเวียน ที่บอกว่าให้รถในวงเวียนไปก่อน น่าจะเข้าใจชัดเจน ภาษาไทยเขียนไว้ว่า ให้รถในวงเวียนไปก่อน แต่ความจริงที่หลายคนคุ้นเคยเมื่อขับรถมาถึงวงเวียน ก็คือ ใครใจถึงกว่าได้ไปก่อน ไม่ว่าจะอยู่ในวงเวียนก่อนหรือไม่
           
ให้รถในวงเวียนไปก่อน
           
เป็นคำที่เราได้ยินกันมาตลอด เพราะนั่นเป็นสิ่งที่กำหนดโดย พ.ร.บ. จราจร มาตรา 73 ระบุว่า ในกรณีที่วงเวียนใดได้ติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม สัญญาณ-จราจรหรือเครื่องหมายจราจรนั้น  ถ้าไม่มีสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงวงเวียน ต้องให้สิทธิแก่ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถอยู่ในวงเวียนทางด้านขวาของตนขับผ่านไปก่อน
           
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเพื่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรจะให้สัญญาณจราจร เป็นอย่างอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณ จราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้
           
วงเวียนเป็นระบบการจราจรที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนเส้นทาง ทั้งปลอดภัยกว่า และง่ายต่อการดูแลรักษา ไปจนถึงยังช่วยลดมลภาวะจากการจราจร เพราะทำให้รถไม่ติดขัด คล่องตัวได้ดี เป็นระบบจราจรสากลที่ไม่ใช้ไฟแดง ที่ใช้หลักการไหลเป็นวงกลม โดยให้รถในวงเวียนไปก่อน  ทั่วทั้งโลกก็เป็นเช่นนี้ 
           
เมื่อสิบกว่าปีกว่า ห้าแยกหอนาฬิกาใน วงเวียนในเมืองลำปางเคยมีสัญญาณจราจร แต่ตอนนั้นยวดยานพาหนะยังไม่ติดเหมือนอย่างทุกวันนี้
           
มาวันนี้วันที่ ห้าแยกหอนาฬิกาสัญญาณไฟจราจรหายไป มีป้าย ให้ทาง” “ให้รถวงเวียนไปก่อน” มาแทนที่ แต่ดูเหมือนว่ามารยาทการใช้รถใช้ถนนก็หายไปพร้อมๆกับสัญญาณไฟจราจร ทั้งที่หลักการใช้วงเวียนก็เป็นหลักการสากล
           
ปัญหาที่เจอกันเป็นประจำที่วงเวียนหอนาฬิกานี้คือ เวลาที่รถมาจ๊ะเอ๋ พร้อมๆกัน ซึ่งตามหลักการแล้วเราก็ควรปล่อยให้รถทางขวามือเราไปก่อน แต่นั่นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่อยู่ในอุดมคติ เพราะในความเป็นจริงแล้วรถยนต์ มอเตอร์ไซด์หลายคันไม่ได้สนใจที่จะดูป้ายคำสั่งเลย
           
สิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าเราคือรถทางโท (นอกวงเวียน)พุ่งตรงมาด้วยความเร็วแบบไม่มีทีท่าว่าจะชะลอความเร็วเพื่อให้รถในวงเวียนเคลื่อนตัวออกไป ทำให้หลายครั้งที่รถทางเอก(ในวงเวียน)ต้องหยุดเพื่อให้รถที่พุ่งตัวมานั้นไปก่อน ทำให้รถที่อยู่ในวงเวียนก็ติดเป็นหางว่าว (ไม่อยากนึกถึงสภาพตอนเวลาเลิกเรียน)
           
เหตุการณ์เหล่านี้มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ
           
วงเวียนในประเทศไทยที่ด้วยไฟเขียว ไฟแดง ฉะนั้น วงเวียนใหญ่ แห่งในกรุงเทพ คือวงเวียนอนุสาวรีย์ชัย และวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วงเวียนใหญ่ ซึ่งมักจะเป็นวงเวียนใหญ่หลายช่องทางการจราจรที่รองรับปริมาณรถจำนวนมาก
           
แล้ววงเวียนในเมืองเล็กตามต่างจังหวัด สิ่งที่สำคัญคือการมีมารยาทการขับต่อต่อผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน อุบัติเหตุและความสุญเสียที่เกิดขึ้นคงลดน้อยลง
           
สำคัญว่า คำว่าให้รถในวงเวียนไปก่อน ต้องส่งไปตีความหรือแปลไทยเป็นไทยให้ชัดเจนว่า หมายถึงใครอยู่ในวงเวียนได้ไปก่อน มิใช่ใครมารยาททรามได้ไปก่อน

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1048 วันที่ 2 - 8 ตุลาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์