วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความตายไซเบอร์


าลทหารเมื่อสัปดาห์ก่อน  มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกคุณนิรันดร์ เยาวภา อดีตผู้ดูแลเว็บไซต์ แมเนเจอร์ กรณีเผยแพร่เอกสารแถลงการณ์สำนักพระราชวังปลอม มีความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 และการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย  ปี จำเลยไม่เคยได้รับโทษมาก่อน ลดโทษจำคุกเหลือ ปี 6 เดือน พิจารณาอายุ และพฤติการณ์การกระทำความผิด ซึ่งจำเลยเยียวยาแก้ไขในทันที จึงให้โอกาสจำเลยกระทำความดีต่อสังคมต่อไป โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้สามปี

ปรากฏการณ์นิรันดร์ เยาวภา นี้นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ สำหรับสื่อมวลชนที่เคยชินกับงานประจำ โดยไม่มีความละเอียดถี่ถ้วนเพียงพอ ในเรื่องที่มีความอ่อนไหวในสังคม ความท้าทายประการหนึ่งของคนทำสื่อยุคปัจจุบัน ก็คือการเผชิญหน้ากับภาวะข้อมูลข่าวสารไหลล้น จนแยกแยะไม่ออกระหว่าง “จริง” กับ “เท็จ”
ซึ่งตรงข้ามในยุคที่ผมเริ่มทำงานสื่อราว 40 ปีก่อน  ถ้าเราไม่ออกไปหาข่าว ดีที่สุดคือไปสอยเอาเอกสารข่าวของสำนักข่าวไทย อสมท  มาฉีก มาตัด มาปะ มาเรียบเรียงใหม่

คุณนิรันดร์ ได้รับแถลงการณ์นั้น มาจากกลุ่มนักข่าวสายกระทรวงวัฒนธรรมและสาธารณสุข ซึ่งส่งแถลงการณ์มาให้เป็นประจำอยู่แล้ว จึงโพสต์ขึ้นเว็บไซต์  โดยไม่มีเจตนาหมิ่นสถาบัน  จากนั้นได้ตรวจสอบไปยังสำนักพระราชวัง ทราบว่าไม่ใช่แถลงการณ์จริง จึงลบออกและขอโทษในเว็บไซต์ อีกทั้งได้ขอพระราชทานอภัยโทษด้วย

อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาลงโทษจำคุกคุณนิรันดร์ ถึง ปี อาจมีคำถามเช่นเดียวกับในหลายๆคดีว่า คนที่รู้จักคุณนิรันดร์ซึ่งอาจรวมถึงผมด้วยนั้น ไม่มีทางที่จะเชื่อได้เลยว่า คุณนิรันดร์มีเจตนาจะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นอกจากการทำไปตามหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมา

แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา ก็คือ คดีนี้คุณนิรันดร์มิได้ปฏิเสธความรับผิด นอกจากขอโทษผู้ติดตามข่าวสาร ข้อมูล ของเว็บไซต์ผู้จัดการแล้ว ยังได้ทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษด้วย แปลว่า ศาลพิพากษาลงโทษ เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ

สำหรับการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น ปกติก็เป็นเพียงแบบพิธี ที่ยืนยันความบริสุทธิ์ใจของผู้กระทำความผิดเท่านั้น โดยปกติก็จะไม่มีพระบรมราชโองการกลับมาแต่อย่างใด

ความผิดทั้งสองสถาน คือความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่ก็กลายเป็นข้อหาที่คู่ขนานกันมาเสมอ ในพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์พูดเฉพาะเรื่องความมั่นคง แต่ไม่มีเรื่องสถาบัน  แต่เมื่อรวมกับเรื่องหมิ่นสถาบัน มันจะกลายเป็นอาญาแผ่นดินที่ยอมความไม่ได้ ซึ่งตรงกับข้ามกับคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาทั่วไป   

คุณนิรันดร์ ถูกลงโทษในความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในประเด็น การนำเข้าสู่ เผยแพร่ ส่งต่อ เว็บไซต์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม เป็นเท็จ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา

ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มาจากเจตนาของคุณนิรันดร์อย่างแน่นอน แต่ทันทีที่คุณนิรันดร์โพสต์ ความผิดก็สำเร็จแล้ว และคุณนิรันดร์ก็ถูกปิดปากด้วยการขอโทษ และการขอพระราชทานอภัยโทษ

ความตายไซเบอร์รวดเร็วเสมอ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1048 วันที่ 2 - 8 ตุลาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์