วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำตอบจากแม่เมาะ (จบ)

ม้าสีหมอก                                           

ความเดิม ความตายที่แม่เมาะ เป็นข้อถกเถียงยาวนานบนพื้นที่รายรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ลำปาง โรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน ที่กลายเป็นฝันร้ายของชาวบ้านแทบทุกตารางนิ้วในประเทศไทย เมื่อเร็วๆนี้ ผู้บริหาร กฟผ.ได้มีหนังสือชี้แจงมายัง “ลานนาโพสต์” อันแสดงถึงความรับผิดชอบที่น่าชื่นชม หากน้ำเสียงที่คล้ายจะบอกว่าความตายที่แม่เมาะ เป็นความตายโดยธรรมชาติ โดยอายุขัย โดยโรคภัยที่อาจไม่เกี่ยวข้องสารพิษที่ถูกปล่อยจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทำให้นึกถึงความตายที่มินามาตะ อันเริ่มต้นจากการปิดบังความจริง จบด้วยความตายของชาวบ้านผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ผู้ที่ต้องยอมจำนนต่ออำนาจ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ ณ แห่งหนใด

  
ต้นเดือนตุลาคม 2535 สารพิษที่ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำให้ชาวบ้าน และพนักงาน กฟผ.ล้มป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ พืชพันธุ์ของชาวบ้าน และสวนสักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.)เกือบทั้งหมด ถูกฝนกรด ใบหุบและหงิกงอ
   
กฟผ.ยอมจ่ายเงินชดเชยจำนวน ล้านบาท โดยจ่ายให้ผู้ป่วยในรายละ พันบาท ผู้ป่วยนอกรายละ พันบาท จ่ายเงินค่าเสียโอกาสการทำงานในช่วงที่ป่วยรายละ 100 บาท/วัน รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายที่เกิดกับสัตว์และพืชผลทุกกรณี
       
นี่เป็นการจ่ายสำหรับค่าเสียหายชัดเจน มิใช่เป็นการจ่ายชดเชยผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว
      
เราคงพูดไม่ได้ว่า การเจ็บป่วย ล้มตาย ในพื้นที่แม่เมาะ เกิดจากผงฝุ่น และก๊าซซัลเฟอร์ไดอ็อกไซด์ จากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในทุกกรณี ในทุกเวลา โดยไม่มีเงื่อนไข
      
แต่ในแง่ของความเป็นมนุษย์ ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ความพยายามที่จะสืบค้นความจริงในความป่วยเจ็บของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยเฉพาะการที่มีบทบาทที่ควรต้องใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ ก็พึงต้องระมัดระวังไม่แสดงท่าทีหรือความเห็นที่เสมือนปัดความรับผิดชอบ
         
 ปรากฏการณ์แม่เมาะ อาจไม่เหมือนปรากฏการณ์มินามาตะ แต่ก็มีเส้นทางที่ใช้ชุดคำอธิบายชุดเดียวกันได้
           
มินามาตะ คือเมืองชนบทเล็กๆ เช่นเดียวกับอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากโตเกียว ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราวพันกิโลเมตร ในเขตจังหวัดคุมาโมโตะ ตัวเมืองตั้งอยู่บนเกาะคิวชู เกาะใหญ่ทางใต้สุดของญี่ปุ่น
             
ในปี 2451 โนงูชิ ซิตางาอุ วิศวกรผู้ร่ำรวยเข้ามาตั้งโรงงานแคลเซียมคาร์ไบด์ ในนามบริษัทนิทชิทสุ  ตามคำชวนของ มาเอดะ โอกิ สมาชิกตระกูลซามูไรเก่าแก่ของมินามาตะว่าที่นี่เหมาะแก่การตั้งโรงงาน เนื่องเพราะมีที่ดินราคาถูกจำนวนมากถูกทิ้งร้างหลังเลิกทำนาเกลือ
               
ผ่านมานานปี สัตว์เลี้ยงรอบอ่าวชิรานูอิเริ่มล้มตาย จากโรคประหลาดที่ไม่รู้สาเหตุ ต่อมาก็เป็นชีวิตมนุษย์
               
โยชิมิสึ ทานากะ พบว่าชิชุโกะ ลูกสาววัย ขวบ จับตะเกียบไม่ได้ ตาพร่า เดินและพูดลำบาก มีอาการกระตุก ต่อมาจิตสึโกะ ลูกสาวคนสุดท้องวัย ขวบ ก็เกิดอาการเดียวกัน การตรวจรักษา แพทย์พบว่า ประสาทส่วนกลางของผู้ป่วยถูกทำลายและมีอาการสมองบวม
               
โรงงานนิทชิทสุ ว่าจ้างนักวิชาการออกมาเสนอรายงานว่าปลาในอ่าวชิรานูอิปนเปื้อนโลหะหนักน้อยกว่าปลาในแหล่งน้ำอื่น นายกเทศมนตรีฮาชิโมโตะ ฮิโคซิจิ ที่เคยทำงานกับโรงงาน เสนอว่า ปัญหาน่าจะมาจากพายุไต้ฝุ่นที่พัดเข้ามามินามาตะ จนเกิดน้ำท่วม ทำให้สารเคมีลงไปในอ่าว
               
แต่ในที่สุดก็มีผลพิสูจน์ของมหาวิทยาลัยคุมาโมโตะว่า สาเหตุการตายของชาวบ้านมาจากการปล่อยสารพิษจากโรงงานนิทชิทสุทั้งสิ้น
                
เราคงไม่ปรารถนาจะเห็นความจริงเช่นนี้ เกิดขึ้นที่แม่เมาะ การอธิบายโดยไม่พยายามทำให้สำคัญผิดในข้อเท็จจริง ย่อมเป็นการแสดงความจริงใจกับชาวบ้าน เพราะถึงอย่างไรเขาเหล่านั้น ก็ต้องเป็นผู้จำยอมรับชะตากรรมจากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า มีฐานะทางสังคมสูงกว่าอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

ขอบคุณข้อมูล จากสุเจน กรรพฤทธิ์ มินามาตะบทเรียนโลกไม่ลืม นิตยสารสารคดี เมษายน 2555


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1049 วันที่ 9 - 15 ตุลาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์