วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2558

นิคมอุตสาหกรรมลำปาง ปลูกโรงงานบนพื้นที่สี่เขียว

           
นวคิดที่จะผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง ของอดีตผู้ว่าฯธานินทร์ สุภาแสน ภายใต้ชื่อลำปาง โลจิสติกส์ (Lampang Logistics)  นับเป็นการมองไกลที่น่ายกย่องยินดี โดยเฉพาะหากความฝันนี้เป็นจริง ลำปางก็จะเป็นจังหวัดนิคมอุตสาหกรรมที่ ในภาคเหนือถัดจากลำพูน ที่จะแปลงพื้นที่สีเขียวให้เป็นโรงงาน
           
ธงที่ปักไว้ของนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่นี้ จะเป็นด้านการเกษตร หรืออุตสาหกรรมเกษตร ในฐานะแหล่งผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ และส่งออกครั้งเป็นอันดับที่ ของโลก ซึ่งก็จะเป็นประเด็นที่จะกล่าวต่อไปถึงผลอีกด้านหนึ่งของการมีนิคมอุตสาหกรรมที่ปฏิเสธไม่ได้
           
ภายใต้การสนับสนุนของธนชาติ พื้นที่โครงการนี้จะอยู่ บริเวณติดทางหลวงหมายเลข 1 (และ AH1) บริเวณอำเภอเกาะคา พื้นที่กว่า 2,100 ไร่ ในความดูแลของราชพัสดุ สอดคล้องกับผังเมืองลำปางและแผนพัฒนาจังหวัดลำปาง ซึ่งได้จัดเตรียมพื้นที่เลี่ยงเมืองพาดผ่านและมีจุดจอดรถบรรทุก ตามโครงการของกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2558
           
หลังปรากฏข่าวนี้ นักธุรกิจ นักลงทุนหลายคนในจังหวัด ส่งเสียงขานรับกันคึกคัก
           
สำหรับคนในอำเภอเมือง คนที่เกาะคา อาจจะยังไม่สนใจ หรือเข้าใจความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของพวกเขามากนัก ชาวบ้านก็คงทำมาหากินกันไปตามปกติ หากจะมีด้านดีบ้าง ก็น่าจะเป็นความเจริญในพื้นที่ที่จะมีมากขึ้น มีการจ้างงานมากขึ้น และมีคนต่างถิ่นเอาเงินเข้ามาใช้จ่ายในพื้นที่มากขึ้น
           
กิจการเกี่ยวกับปากท้อง ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ที่อยู่อาศัย ก็จะเฟื่องฟู เพราะเมื่อมีจำนวนประชากรย้ายถิ่นเข้ามากขึ้น ปัจจัยสี่ของความเป็นมนุษย์ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ก็ต้องเพียงพอที่จะรองรับคนเหล่านั้น
           
เมื่อความเจริญเข้ามา ก็อาจเกิดปัญหาการปะทะกันระหว่างความทันสมัย กับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งในเขตเมืองลำปาง ถึงแม้จะมีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่จากต่างถิ่นเข้ามา มีกิจการวัสดุก่อสร้างในระดับเดียวกับเมืองใหญ่ทั่วไป แต่ในใจกลางความเป็นนครลำปาง น่าจะยังคงกลิ่นอายของความเป็นพื้นถิ่นลำปางไว้ได้
           
ส่วนที่อำเภอเกาะคา ก็อาจมีข้อพิจารณาต่างกัน   
           
โครงสร้างการผลิตของเกาะคา จะเปลี่ยนจากภาคเกษตร มาเป็นอุตสาหกรรม ถึงแม้จะเป็นอุตสาหกรรมเกษตร แต่ก็น่าเป็นห่วงในการจัดการระบบป้องกันปัญหามลพิษ เพราะภาคอุตสาหกรรมเกษตร เป็นแหล่งปล่อยมลพิษสำคัญ
           
ในขณะเดียวกัน การเคลื่อนย้ายชาวบ้าน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในภาคเกษตร เข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรมจะมีมากขึ้น เพราะอัตราการจ้างแรงงานสูงกว่า 3 – 4 เท่า พวกเขาจะมีฐานะดีขึ้น แต่ก็อาจจะเกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น มีการใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าเงินผ่อน มีการกู้หนี้ ยืมสิน กลายเป็นกลุ่มลูกหนี้กลุ่มใหม่ของสถาบันการเงิน
           
การเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดลำปาง เป็นเรื่องที่ดีและควรสนับสนุนอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่ควรมองข้ามอีกด้านหนึ่งที่เป็นผลพวงของการพัฒนา
           
ถ้าได้มองอย่างรอบด้าน และตระหนักรู้เสียแต่วันนี้ เราอาจได้ความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ โดยไม่เสียตัวตนไปด้วยก็ได้

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1050 วันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์