วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ต้องเชื่อป้ายบอกความเร็วไหม ?


เคยสงสัยรึเปล่าครับ ว่าที่มาของป้ายกำหนดความเร็วตามที่จอดรถ โรงเรียน หรือตามชุมชนนั้น เขาเอาอะไรเป็นตัวกำหนด เพราะบางทีอาจคิดว่าความเร็วที่เราขับนั้น เหมาะสมอยู่แล้ว ไม่ได้เร็วเกินไป แต่หากขับตามความเร็วในป้าย มันก็จะช้าเกินความจำเป็น เราเลยเลือกไม่ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด

โดยหลักสากลแล้ว ความเร็วที่กำหนดไว้ตามป้าย คนเขียนไม่ได้นั่งเทียนเขียนนะครับ เขามีหลักการคำนวนความเร็วเพื่อความปลอดภัยเป็นสูตรสำเร็จเรียบร้อยแล้ว

สูตรที่ว่านี้ เป็นการคำนวนระยะเวลาการตอบสนองของคนก่อนเบรคทำงาน หมายความว่า โดยธรรมชาติของการหยุดรถ เมื่อเราเห็นรถข้างหน้าจอด หรือมีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องหยุด สมองจะสั่งการไปที่เท้า เพื่อให้เรายกเท้าออกจากคันเร่ง และขยับไปเหยียบเบรค (หรือเรียกสั้นๆ ว่า Reaction Time) โดยถ้าหากสมมุติว่าในขณะนั้น เรามีสมาธิในการขับรถเต็ม 100% เราจะใช้เวลาเพื่อให้ร่างกายเตรียมตัวเหยียบเบรกประมาณ 0.8 วินาทีก่อนที่เบรคจะเริ่มทำงานจริง ซึ่งดูเผินๆ แล้วเหมือนเพียงแป๊บเดียวเท่านั้นจริงมั้ยครับ

แต่ความจริงลองดูตามนี้ครับ 

สูตรในการคิด Reaction time หรือระยะเวลาการตอบสนองคือ (ความเร็ว / 10) X 3

ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราขับรถที่ความเร็ว 15 กม./ชม. จะเท่ากับว่าระยะเวลาการตอบสนองของเราที่ 0.8 วินาที แปลงเป็นระยะทางของรถที่ได้วิ่งไปประมาณ 4.5 เมตร ก่อนระบบเบรคจะทำงาน หรือประมาณ คันรถ ถ้าเราขับรถที่ความเร็ว 30 กม./ชม. ระยะของรถที่วิ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น เมตรก่อนที่เบรคจะทำงานหรือประมาณ คันรถ

ลองนึกภาพตามสิครับ ว่าถ้าหากเราขับอยู่ในลานจอดรถ แล้วรถคันหน้าที่จอดอยู่ริมทางไม่ทันมอง เปิดประตูลงจากรถทันที ต่อให้เราวิ่งมาแค่ 30 กม./ชม. รถของเราก็จะชนประตูรถคันนั้นทันทีโดยที่เรายังไม่ทันได้เหยียบเบรคเลย

ยิ่งไปกว่านั้น ที่บอกว่าระยะเวลาตอบสนอง 0.8 วินาที นั้นหมายถึงเราขับรถแบบมีสมาธินะครับ ถามตามตรงเถอะว่า เดี๋ยวนี้มีใครขับรถมีสมาธิบ้าง ไหนจะเล่นไลน์ ฟังเพลง และทำอื่นๆ เยอะแยะไปหมดครับ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1066 วันที่ 12 - 18กุมภาพันธ์ 2559)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์