วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปฏิบัติโกง ในเสื้อกาวน์

จำนวนผู้เข้าชม good hits

รื่องทุจริตสอบเป็นเรื่องธรรมดาๆเรื่องหนึ่งในสังคมไทย หากมิใช่การทุจริตของคนที่สอบเป็นแพทย์ วิชาชีพที่เรียกร้องความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมสูงอย่างยิ่ง ไม่ต่างไปจากอาชีพสื่อมวลชน เรื่องราวคงไม่เป็นที่ฮือฮาเพียงนี้
           
เป็นเรื่องฮือฮากับปฏิบัติการแบบที่เคยเห็นในหนังฮอลลีวูดที่ติดกล้องไว้ที่แว่นตา ที่นำมาใช้ในการทุจริตสอบแพทย์ของมหาวิทยาลัยรังสิตซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อธิบายว่าเป็นการทุจริตที่ไม่แนบเนียน เพราะเห็นชัดว่ามีกล้องติดอยู่ที่แว่นตา
           
เรื่องนี้เกิดขึ้นในระหว่างการจัดสอบคัดเลือกเข้าศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ รอบที่เมื่อวันที่ 7-8 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่สนามสอบมหาวิทยาลัยรังสิต มีผู้สอบทั้งสิ้น 3,000 คน ซึ่งหลังจากจับขบวนการดังกล่าวได้ ทางมหาวิทยาลัยทราบเบื้องต้นว่า มีผู้ร่วมกระทำผิดทั้งสิ้น คน เป็นผู้ถ่ายภาพข้อสอบ คน (เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่นได้รับค่าจ้างคนละ 6,000 บาท) เป็นผู้รับส่งข้อมูลไปยังติวเตอร์ 1 คน (ซึ่งคาดว่ามีทีมเฉลยโจทย์รออยู่) และจะทำการส่งเฉลยไปยังนักเรียนที่รออยู่ในห้องสอบ คน โดยผ่าน Smart watch
           
ยิ่งไปกว่านั้น คือการกระทำครั้งนี้ ต้องเสียเงินถึง 800,000 บาท เพื่อให้สอบติดแพทย์ วิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตแต่กลับเริ่มต้นด้วยการ โกง
           
ดร.อาทิตย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เล่าว่า คนแรกที่จับได้เพราะมีพฤติกรรมน่าสงสัย โดยเขาทำข้อสอบเสร็จเร็วมากและรีบร้อนออกจากห้อง เมื่อเจ้าหน้าที่คุมสอบพบพิรุธ จึงเข้าตรวจสอบและขอดูแว่นตาที่ใส่ พบว่าที่บริเวณขาแว่นมีความใหญ่ผิดปกติ เมื่อตรวจเช็กพบว่าสามารถนำมาต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ โดยนาฬิกานี้เป็นเหมือนกล้องถ่ายรูป ที่ถ่ายภาพได้อย่างชัดเจน ก่อนจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการของขบวนการทุจริตสอบ เพื่อสู่กระบวนการค้นหาคำตอบ และขบวนการดังกล่าวจะส่งคำตอบเหล่านั้น กลับไปยังนาฬิกาที่เด็กทั้ง 3 คนใส่อยู่ในห้องสอบ ซึ่งเด็กที่ใส่แว่นตาดังกล่าว ยอมรับว่า จะรีบนำแว่นตาไปให้เพื่อนอีกคนที่รออยู่ จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ตามไป และรวบตัวเด็กอีกคนไว้ได้ ก่อนที่จะนำตัวส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
           
ค่าใช้จ่ายสำหรับการกระทำดังกล่าว เด็กบอกว่าเสียเงินไป 50,000 บาท ก่อนที่จะได้นาฬิกา เรือน และได้มีการทำสัญญาไว้ว่า เมื่อนำนาฬิกามาคืนแล้วสอบได้ ต้องจ่ายเงิน 800,000 บาท สุดท้าย ดร.อาทิตย์ กำชับทิ้งท้ายด้วยว่า มหาวิทยาลัยเราไม่เคยมีความคิดจะสนับสนุนเรื่องแบบนี้เลย เราพยายามจับตาเรื่องทุจริตอยู่แล้ว แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการหากินที่ไม่ถูกต้องของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งต่อไปจะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการเข้าสอบ โดยห้ามนำอุปกรณ์ อย่างสร้อย แหวน แว่นตา ปากกา โทรศัพท์ และนาฬิกาเข้าสอบด้วย จะอนุญาตแค่ดินสอ 2บี เท่านั้น แถมอธิการฯ ยังพูดติดตลกด้วยว่า อาจต้องแก้ผ้าเข้าสอบ
           
นี่อาจจะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการจับได้ว่ามีการทุจริตการสอบเข้าคณะแพทย์ศาสตร์ แต่หากมองย้อนอดีตไปการโกงข้อสอบดูจะเป็นเรื่องคู่กับนักเรียนไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะโกงมาก โกงน้อยก็ถือว่าโกงทั้งสิ้น
           
สมัยเป็นนักเรียน หลายคนอาจจะเคยโกงโดยการจดโพยเข้าห้องสอบ ไม่ว่าโพยนั้นจะมาในรูปแบบกระดาษชิ้นเล็กๆสอดแทรกในอุปกรณ์การเขียน หรือลอกโพยไว้บนแขน ขา พอใช้งานเสร็จก็ลบๆถูๆมันออกไป มาในสมัยนี้อาจจะไฮเทคขึ้นมา ถ้าผู้คุมสอบไม่เข้มงวดก็มีกรณีทีใช้สมาร์ทโฟนถ่ายรูปส่งไลน์กันเลย 
           
แต่สำหรับการทุจริตสอบสนามใหญ่ๆอย่างที่เคยเป็นข่าวโด่งดังเมื่อปี 2555 ที่มีจับขบวนการโกงสอบตำรวจ ซึ่งถือว่าเป็นการเหยียบจมูกเสือทีเดียว  ในครั้งนั้นมีผู้ทุจริตสอบ 217 ราย โดยจ่ายมัดจำ 30,000 บาท หากสอบได้ต้องจ่ายเพิ่มอีก 470,000 บาท รวมเบ็ดเสร็จจ่ายเงินค่าโกงสอบเพื่อให้เข้าไป รับราชการตำรวจ”  ด้วยเงิน 500,000 บาท ซึ่งแม้ว่าข้อสอบจะมี ชุด แต่ก็เป็นโจทย์เดียวกัน เพียงแต่สลับตัวเลือก ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการโกงข้อสอบแต่อย่างใด เพราะทำงานกันเป็นทีม มีมือปืนรับจ้างเข้าไปเป็นผู้สอบแล้วบันทึกข้อสอบผ่านกล้องเล็กๆไม่ว่าจะเป็นกล้องกระดุม กล้องปากกา กล้องดินสอ แบบที่สาบลับในหนังฮอลลีวูดใช้กัน แล้วส่งสัญญาณให้ทีมเฉลย แล้วจึงส่งสัญญาณกลับเข้าไปให้ ลูกค้า” ที่จ่ายเงินเพื่อโกงข้อสอบ
           
หลายครั้งที่การสอบคัดเลือกเพื่อเข้ารับราชการตำรวจ เราจะเห็นได้ว่ามีการเข้มงวดในการตรวจผู้สอบสอบมา ทั้งอุปกรณ์ที่นำเข้าห้องสอบ เสื้อผ้าต้องใส่ร้องเท้าผ้าใบ เสื้อยืดคอกลม กางเกงวอร์ม และเดินทางเครื่องเอกซ์เรย์ก่อนเข้าห้องสอบ แต่ก็ยังมีความพยายามที่จะทุจริตสอบ หรือสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั้นก็มีความเข้มงวดในการคุมสอบไม่ต่างกัน แต่ผลก็เป็นอย่างที่เห็นในข่าว คงจะดีกว่านี้ถ้าเรานำความพยายามไปใช้ในการอ่านหนังสือสอบ
           
การสอบเป็นขั้นตอนการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการไปทำหน้าที่ในสาขาวิชาชีพนั้นๆซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนทั้งสิ้น หากเราได้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เริ่มต้นจากการทุจริต จะต่างอะไรกับ โจรในเครื่องแบบ’ และหากเราได้แพทย์ที่เริ่มต้นจากการทุจริต เราก็คงได้แค่ ชาวบ้านสวมเสื้อกาวน์’ แล้วเราจะฝากผีฝากไข้ไว้ได้อย่างไร
      
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1078 วันที่ 13 - 19 พฤษภาคม 2559)


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์