วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Warantee แบบไทยๆ

จำนวนผู้เข้าชม Hit Web Stats

นานๆ จะได้เห็นการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรม จากหน่วยงานของรัฐครับ ผมพบหัวข้อข่าวประจำวันที่น่าสนใจดังนี้ 

"เจ้าของรถเฮ ! ศาลอุทธรณ์สั่งบริษัทรถรับรถคืน หลังมีปัญหาคุณภาพไม่ตรงตามโฆษณา" 

ถ้าผมเป็นเจ้าของรถ ผู้ได้รับความเดือดร้อนอย่างสาหัสมาเป็นเวลานาน คง "เฮ" ไม่ออกหรอกครับ เพราะเขาควรจะได้รับความคุ้มครองด้วยการตัดสินให้ได้รับความยุติธรรม ได้รับการชดเชย และชดใช้ตั้งแต่แรกแล้ว 

ผมขอถ่ายทอดรายงานข่าวมา สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่ได้อ่านข่าวนี้ เพราะมีประโยชน์มาก เนื่องจากปัญหาทำนองนี้ มีโอกาสเกิดกับตัวเราสูงมาก ในสังคม "เงินเป็นใหญ่" จะได้รู้วิธีปกป้องตนเองกันครับ 

เรื่องมีอยู่ว่า อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่ง ได้เข้าเรียกร้องบริษัทจำหน่ายรถยนต์กระบะตอนเดียว ที่ซื้อด้วยเงินดาวน์กว่าแสนบาท และได้นำรถยนต์คันนี้ไปประท้วงขอคืนรถ และเรียกเงินดาวน์คืน ที่หน้าบริษัท ฯ เมื่อกว่า ปี ที่ผ่านมา แต่บริษัทผู้จำหน่ายรับเพียงซ่อมแซมให้เท่านั้น โดยปฏิเสธที่จะรับคืนรถ และคืนเงินดาวน์ให้ หลังจากนั้น ผู้ซื้อได้ยื่นฟ้อง บริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ บริษัทผู้ผลิต และบริษัทไฟแนนซ์ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ให้ นุชนารถ เช่าซื้อ ศาลชั้นต้นได้พิจารณายกฟ้อง นุชนารถ ได้ยื่นอุทธรณ์ และขอถอนฟ้องจำเลยที่ คือ บริษัทไฟแนนซ์ที่เช่าซื้อ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง" 

"ล่าสุด ศาลอุทธรณ์ภาค แผนกคดีผู้บริโภคได้รับอุทธรณ์ และพิจารณาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยพิพากษากลับ ให้จำเลยที่ และ ร่วมกันรับคืนรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์ และร่วมกันชำระเงิน 191,868 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องคดีเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และร่วมกันชำระเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ ไป โดยหักเป็นค่าใช้ทรัพย์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันทำสัญญาเช่าซื้อ ไปจนกว่าโจทก์จะส่งมอบรถยนต์แก่จำเลยที่ หรือที่ และให้จำเลยที่ และที่ ร่วมกันชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือ แก่จำเลยที่ ในนามโจทก์ 

ปัญหาที่เกิดจากความบกพร่องของรถ เป็นปัญหาที่ผู้ผลิตและผู้ขาย ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะในช่วงเวลา เดือน ตั้งแต่ซื้อรถมา เจ้าของรถส่งเข้าซ่อมเพื่อให้ผู้ขายแก้ไข ถึง ครั้ง แต่ศูนย์บริการของผู้ขายไม่สามารถแก้ปัญหาได้ รถดังกล่าวเป็นรถกระบะตอนเดียว เครื่องยนต์เบนซิน ติดตั้งระบบแก็สธรรมชาติ หรือ ซีเอนจี (หรือ เอนจีวี ที่นิยมเรียกกัน) เจ้าของรถไม่สามารถใช้งานในระบบแก็สได้ บางครั้งระบบจ่ายทั้งน้ำมันเบนซิน และแก็ส เข้าสู่กระบอกสูบพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นอีก เช่น เข้าเกียร์ถอยหลังไม่ได้ 

ปัญหาทำนองนี้ หากเกิดขึ้นในประเทศที่เจริญแล้ว มีการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเข้มแข็ง และยุติธรรม ไม่ใช่เรื่องใหญ่ระดับที่จะต้องไปต่อสู้กันในศาลครับ เพราะเจ้าของสินค้าจะรู้ดีว่า สู้ไปก็ไม่มีทางชนะเลย ยินยอมรับคืนรถสุดห่วย ให้หมดปัญหาตั้งแต่ต้นดีกว่า สิ้นเปลืองน้อยที่สุดแล้ว และไม่เสียชื่อเสียงด้วย รถพวกนี้ต้นทุนต่ำครับ มีกำไรกันในสัดส่วนที่สูง รับคืนมาแล้ว จะเอามาซ่อมมาดัดแปลงเพื่อใช้งานเองให้คุ้ม ให้เป็นประโยชน์อย่างไรก็ได้ ใช้ไปซ่อมไปเพราะของมันห่วย ก็ไม่มีใครมาซอกแซกสนใจ 

แต่ผู้จำหน่ายรถในเมืองไทย มักย่ามใจเคยตัว ไม่เข้าใจความหมายของการรับผิดชอบ ถ้า "ชอบ" ยินดีรับอย่างยิ่ง แต่ถ้า "ผิด" ขอปัดสวะ ตะแบง แก้ตัว โทษทุกสิ่งรอบข้างไว้ก่อน ด้วยจุดยืนที่เชื่อว่าได้เปรียบลูกค้า ดูหมิ่นลูกค้า ว่าขาดศักยภาพในการฟ้องร้องเพื่อให้ได้รับความยุติธรรม ซึ่งที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หรือเรื่องเล็ก สำหรับลูกค้า แต่เมื่อสถานการณ์บังคับ ยากลำบากอย่างไรก็ต้องยอมแล้วครับ เพื่อปกป้องสิทธิ์ของเราที่พึงจะได้รับอย่างยุติธรรม ในฐานะผู้บริโภค เพราะเราไม่เคยชำระค่าสินค้าด้วยเงินปลอม หรือเงินที่ไร้ค่า หรือไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องจ่ายนะครับ 

ทำอย่างไรถึงจะลบ หรือกำจัด ฉายา "เสือกระดาษ" ที่ผู้บริโภคชาวไทย ตั้งให้แก่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของชาติเรา อย่าหมดหวังครับ หลายสิ่งหลายอย่าง ที่คนรุ่นก่อนๆ เคยบอกไว้ว่าอย่าไปหวัง ไม่มีวันเป็นไปได้ ก็เป็นไปแล้ว ระหว่างนี้พวกเราคงต้องปกป้อง คุ้มครองตัวเองกันไปพลางๆ ก่อน เก็บข้อมูลในเรื่องนี้ไว้ให้ดีครับ ถ้าทั้งเล่มกินที่เกินไป ตัดเรื่องนี้เก็บลิ้นชักไว้ก็ได้ หรือใช้กล้องของโทรศัพท์ถ่ายเป็นภาพไว้ก็ได้ วันหนึ่งอาจเกิดปัญหาเช่นเดียวกันนี้กับเราก็ได้ จะได้มีแนวทางต่อสู้ และมีความหวังครับ


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1079 วันที่ 20 - 26 พฤษภาคม 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์