วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

พลิกกฎหมายพิฆาตสื่อ ตอนที่ 1

จำนวนผู้เข้าชม website counter

นแวดวงคนทำสื่อ อาจได้ยินแว่วๆว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังผลักดันกฎหมายคุมสื่อ อันเนื่องมาจากทัศนคติของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีต่อการทำงานสื่อ และความฝังใจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ส่งเรื่องให้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติสอบสวน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการสุดสัปดาห์แล้ว ไม่ได้การตอบรับที่น่าพึงพอใจ
           
ความจริงคือรัฐบาลไม่ได้ผลักดันกฎหมายคุมสื่อ  แต่เป็นการสนับสนุนแข็งขัน และปักธงไว้เป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล สำหรับร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ที่พิจารณาต่อเนื่องมาจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จนมาถึงสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ (สปท.) ประกอบกับเสียงเรียกร้องของนักวิชาการ และประชาชนทั่วไปให้ใช้มาตรการเด็ดขาดกับสื่อมวลชน
           
ร่างกฎหมายการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพฯนี้ จะนำไปสู่การก่อเกิด “สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ” หรือ สภาร่มใหญ่ ที่ออกแบบให้มีอำนาจ และ “สภาพบังคับ” สื่อที่ละเมิดจริยธรรม เพราะการมีอยู่ของสภาวิชาชีพเดิม คือ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ที่ใช้มาตรการทางสังคม ในการกำกับดูแลสื่อ ไม่สามารถจัดการอะไรได้
           
ในขณะที่องค์กรสื่อ และองค์กรวิชาชีพสื่อ โดยเฉพาะในส่วนกลางต่างก็คัดค้านการมีกฎหมายมากำกับ ควบคุม  แต่ด้วยการละเมิดจริยธรรมบ่อยครั้ง และไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่า จะกำกับดูแลกันอย่างไรให้เป็นมรรค เป็นผล ความชอบธรรมในการมีกฎหมายคุมสื่อจึงมีมากขึ้นเป็นลำดับ
           
คนทำงานสื่อรุ่นก่อน ในกลุ่มหนังสือพิมพ์ ที่ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ในการต่อสู้กับเผด็จการมาอย่างโชกโชน มีบทบาทในการเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายคุมเข้มสื่อหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 คือแนวต้านสำคัญกฎหมายคุมสื่อ
           
พวกเขาเคยมีประสบการณ์ ในการเสนอร่างกฎหมายคุมสื่อของรัฐบาล ซึ่งจะมีตัวแทนของภาครัฐอย่างน้อย คนคือตำรวจ วัฒนธรรม และกรมประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมเป็นกรรมการสภาวิชาชีพ ซึ่งนั่นคือช่องทางที่รัฐจะเข้าแทรกแซงการทำงานของสื่อได้
           
แต่กฎหมายคุมสื่อฉบับล่าสุดนี้ ซึ่งร่างและร่วมพิจารณาโดยนักวิชาการสื่อ สื่อมวลชนอาชีพ ที่มีความรู้ และเข้าใจสภาพปัญหาของสื่อดี มีความแตกต่างจากหลักการของกฎหมายฉบับเดิมๆ อย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ “สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ” จะเป็นนิติบุคคลและไม่เป็นหน่วยงานของรัฐ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานกรรมการ
           
และจะไม่มีตัวแทนของภาครัฐ โดยตำแหน่งเข้ามาเป็นกรรมการ
           
ทำนองเดียวกับ ไทยพีบีเอส ที่มีความเป็นอิสระ และมีการจัดตั้งโดยกฎหมายพิเศษเฉพาะ
           
คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มีทั้งหมด 16 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการซึ่งสมาชิกคัดเลือกกันเองจากผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ด้านวิทยุกระจายเสียง ด้านวิทยุโทรทัศน์ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ด้านสื่อออนไลน์ ด้านโฆษณา ด้านข่าว ด้านบันเทิงและอื่นๆ และผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนภูมิภาค จำนวน คน
           
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสรรหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จำนวน คน ได้แก่ ด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จำนวน คน ด้านกฎหมายมหาชนจำนวน คน ด้านสังคม จำนวน คน ด้านอื่นๆ จำนวน คน กรรมการผู้แทนผู้บริโภค จำนวน คน
           
คนเหล่านี้มาจากการคัดเลือกกันเองของสื่อสายหนึ่ง อีกสายหนึ่งมาจากการสรรหา
           
แต่ทั้งหมดนี้ล้วนยึดโยงกับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ไมได้เกี่ยวข้องตัวแทนรัฐ หรือการใช้อำนาจรัฐ
           
สัปดาห์หน้าว่ากันต่อว่า สภาสื่อที่มีโครงสร้างเช่นนี้ มีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1083  วันที่ 17 - 23 มิถุนายน 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์