วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วงเวียน วิงเวียน

จำนวนผู้เข้าชม Hit Web Stats

าจมีที่เดียวในโลกที่วงเวียน ต้องบังคับกันด้วยไฟเขียว ไฟแดง เพราะประเทศไทยตามใจฉัน ไม่สนใจกติกา ไม่ใส่ใจวิธีใช้รถใช้ถนนในวงเวียนที่ถือเป็นหลักสากลว่าให้รถในวงเวียนไปก่อน ไปดูปรากฎการณ์นี้กันที่ห้าแยกหอนาฬิกา มาช้าแต่เหยียบคันเร่งให้เข้าถึงวงเวียนก่อน เพื่อจะได้ไปก่อนโดยไม่เคารพสิทธิรถในวงเวียน
           
ว่ากันว่าวงเวียนเป็นระบบการจราจรที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนเส้นทาง ทั้งปลอดภัยกว่า และง่ายต่อการดูแลรักษา ไปจนถึงยังช่วยลดมลภาวะจากการจราจรให้รถไม่ติดขัดและสามารถคล่องตัวได้ดี เป็นระบบจราจรสากลที่ไม่ใช้ไฟแดง ที่ใช้หลักการไหลเป็นวงกลม โดยให้รถในวงเวียนไปก่อน  ทั่วทั้งโลกก็เป็นเช่นนี้
           
แต่วงเวียนในประเทศไทย ถ้าจะให้รถในวงเวียนไปก่อน ต้องบังคับด้วยไฟเขียว ไฟแดง ฉะนั้น วงเวียนใหญ่ 2 แห่งในกรุงเทพ คือวงเวียนอนุสาวรีย์ชัย และวงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่แต่เดิมใช้กติกานี้ ก็เปลี่ยนมาใช้สัญญาณไฟจราจรบังคับแทนเนิ่นนานมาแล้ว แล้ววงเวียนในเมืองเล็กๆ อย่างลำปาง อาการจะเป็นอย่างไร
           
ประเทศอังกฤษได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการใช้วงเวียนมากที่สุดในโลก ผู้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการขับรถผ่านแยกที่นำการจราจรแบบวงเวียนอาจจะรู้สึกว่ายาก แต่หากได้ทดลองใช้จะพบว่าการขับรถผ่านวงเวียนที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกติกา เคารพกฎจราจร จะสะดวกมาก  เพราะเมื่อเข้าใกล้วงเวียนเพียงให้ทางรถที่วิ่งอยู่ในวงเวียน รวมทั้งชำเลืองหรือมองไปดูรถที่วิ่งมาทางขวา หากไม่มีรถหรือมีแต่กำลังวิ่งเข้ามาในระยะที่ปลอดภัย เขาก็สามารถขับรถเข้ารอบวงเวียน และได้สิทธิในการยึดครองทางเอก (รถในวงเวียน) เป็นการชั่วคราว โดยที่รถคันอื่นๆ จะต้องคอยสังเกตและให้ทางแก่เรากันต่อไป กลายเป็นหลักกติกาสากลทั่วโลกว่า
           
ให้รถในวงเวียนไปก่อน
           
หันกลับมามองบ้านเรา ห้าแยกหอนาฬิกา เป็นจุดกลางเมืองลำปางที่เชื่อมต่อไปหลายเส้นทาง ก่อนหน้านั้นมีการใช้สัญญาณไฟจราจร แต่เมื่อราวปี 2550 ได้มีการจัดทำโครงการปรับภูมิทัศน์ข่วงนคร โดยใช้งบประมาณสูงถึง 75 ล้านบาท จนเมื่อข่วงนครสร้างเสร็จในปี 2551 จึงได้เปลี่ยนรูปแบบการจราจรมาเป็นใช้วงเวียน
           
และวงเวียนไก่ขาว เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ ที่ตอนนี้สภาพช่วงเวลาเลิกงาน เลิกเรียน มีสภาพรถติดนรก เป็นที่ขึ้นชื่อว่าไม่จำเป็นอย่างไป เพราะรถติดยาวตั้งแต่แยกไปแดงสวนสาธารณะเขลางค์ ลากยาวมาถึงวงเวียน ยันข้ามสะพานพัฒนาภาคเหนือ เพราะย่านนั้นมีโรงเรียนไตรภพ โรงเรียนวิชานารี เลยไปอีกก็มีโรงเรียนปงสนุก โรงเรียนอนุบาล ที่ต่างต้องใช้ถนนเส้นนี้สัญจรไปมา หากระบบการไหลของรถไม่ลื่น รถก็ติดแหง๊กอยู่ ทุกทิศทุกทาง
           
การแจ้งปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดเบื้องต้นควรจะมีตำรวจจราจรมาดูแล แก้ไขหรือไม่นั้น อาจต้องให้ผู้หลักผู้ใหญ่ไปเจอสภาพติดแหงกอยู่ตรงนั้นบ้าง จะได้แบ่งกำลังจากตอนตั้งด่านมาดูแลช่วงการจราจรติดขัดช่วงเวลาเลิกเรียนบ้าง
           
แล้วค่อยไปสู่การสร้างความมีน้ำในการขับขี่บนท้องถนน ไม่ใช่เอะอะก็พุ่งพรวดเข้าวงเวียน เพื่อจะได้ไปก่อนคนอื่น รถในวงเวียนติดก็ช่าง...มัน
           
หลายปีที่ผ่านมาเมืองลำปางคึกคักขึ้นด้วยการเปลี่ยนแปลงของสังคม  จำนวนรถมอเตอร์ไซด์ และรถยนต์บนท้องถนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาการจราจรช่วงเวลาเร่งรีบ บริเวณวงเวียนข่วงนคร วงเวียนไก่ขาวก็เช่นกัน  มีรถสัญจรผ่านไปมาก เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง หลายคนบอกว่าเป็นเพราะไม่มีสัญญาณไฟจราจร ทั้งที่กฎจราจรทั่วโลกที่มีวงเวียนนั้นต่าง ต้องให้รถในวงเวียนไปก่อน
           
สัญญาณไฟจราจรอาจะเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
           
เพราะเท่าที่สังเกตรู้ว่าเมื่อต้องให้รถในวงเวียนไปก่อนทำให้รถแต่ละคันพยายามเร่งความเร็วเพื่อให้เข้ามาอยู่ในวงเวียนเพียงเพื่อจะได้ ไปก่อนดังนั้น จากหลักสากล ให้รถในวงเวียนไปก่อนจึงกลายเป็น ให้รถ ตูไปก่อน จึงไม่แปลกที่จะเกิดอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง
           
การรณรงค์เรื่องการรักษากฎจราจรจึงเป็นสิ่งที่จะทำให้วงเวียนไม่ใช่เรื่องน่าวิงเวียนหรืองุนงงสงสัยอีกต่อไป หากทุกคนร่วมใจกันปฏิบัติตามกฎจราจร มีน้ำใจบนท้องถนน ปัญญาวงเวียนที่วนเวียนจนรถชนกันโครมครามคงหายไป
           
เราลงมาคิดถูกว่าหาบริเวณหอนาฬิกา กลับมาใช้ระบบไฟแดงเหมือนเมื่อก่อน หารจราจรจะติดขัดเพียงใด ยิงโดยเฉพาะช่วงเวลาโรงเรียนเลิก เพราะเส้นถนนนั้นเชื่อมต่อ หลายโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนเทศบาล 4 ประชาวิทย์ อัสสัมชัญ อรุโณทัย มัธยมวิทยา และยังไม่นับโรงเรียนอื่นๆที่รถรับส่ง รถผู้ปกครองที่มารับลูกๆหลังเลิกเรียน
           
เราอาจต้องมาพิจารณากันบ้างว่าสิ่งที่หายไปนั้น คือ สัญญาณไฟจราจร  หรือ “น้ำใจ”ในการใช้รถ ใช้ถนน ที่สาบสูญไปจากสังคมเมืองลำปางกันแน่

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1084 วันที่ 24 - 30 มิถุนายน 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์