วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระวัง ! “เหิรน้ำ”

จำนวนผู้เข้าชม good hits

อาการเหิรน้ำ หรือ Hydro Planning ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิด อาการหน้าดื้อเลี้ยวไม่เข้าโค้ง หรือท้ายปัด จนเกิดเหตุที่เราเรียกแบบภาษาปากว่า "รถแฉลบ" หลุดลงข้างทาง คือการที่ยางของรถหมุนลอยตัวอยู่บนผิวน้ำ (ถนนที่เจิ่งนองไปด้วยน้ำ) โดยยางจะไม่ได้สัมผัสกับพื้นถนนเลย จึงไหลเหมือนสกีไปตามโมเมนตัมของรถ ผู้ขับจะควบคุมรถได้ยาก หรือไม่สามารถควบคุมรถได้อีกต่อไป
ทำไมยางจึงลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำได้ล่ะ
มี 4 องค์ประกอบครับ คือ

·       รูปแบบและความตื้นลึกของดอกยางโดยพื้นฐานแล้วยางใหม่ๆ ออกโรงงานมาเลย ก็มีรูปแบบของดอกยางต่างกัน ประสิทธิภาพในการรีดน้ำก็ต่างกัน ความกว้างของหน้ายาง และการยืดหยุ่นของโครงสร้างยาง ลมยางอ่อนแข็ง ล้วนมีผลทั้งสิ้นกับการรีดน้ำของยางเส้นนั้นๆ ยิ่งหากใช้ยางมาหลายหมื่นกิโลเมตรจน "ร่อง" ยางตื้นลง นั่นก็ยิ่งทำให้ความสามารถในการรีดน้ำลดทอนลงไป
          
·       น้ำหนักของรถรถขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา หนีหลักกลศาสตร์ธรรมชาติไม่พ้นครับ เมื่อวิ่งด้วยความเร็วเท่ากันกับรถที่มีน้ำหนักมากกว่าบนพื้นถนนที่เจิ่งนองไปด้วยน้ำ เมื่อมีน้ำหนักกดไม่เท่ากัน ยางก็มีโอกาสตัดน้ำบนพื้นถนนได้น้อยกว่ารถที่มีน้ำหนักมากกว่า รถเล็กที่ชอบเปลี่ยนขนาดหน้ายางที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะพวกชอบเปลี่ยนล้อและยางโอเวอร์ไซส์ ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพการยึดเกาะที่ดีขึ้นบนถนนแห้ง แต่ประสิทธิภาพจะกลับกันจนถึงขั้นแย่เอามากๆ เมื่อวิ่งบนถนนเปียก

·      ·      ปริมาณน้ำที่เจิ่งนองบนถนนแม้ระดับน้ำสูงไม่ถึงครึ่งเซนติเมตร แค่นี้ก็มากพอที่จะทำให้รถที่วิ่งมาในความเร็วหนึ่งๆ ซึ่งร่องยางไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางได้ทัน ก็ทำให้เกิดอาการเหิรน้ำได้แล้ว คิดง่ายๆ ครับปริมาณน้ำบนพื้นถนนยิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งรีดน้ำยากขึ้นเท่านั้น

·         ·      ความเร็วในการขับขี่ยิ่งล้อหมุนเร็วเท่าไหร่ อัตราการรีดน้ำออกจากหน้ายางต่อวินาทีก็ยิ่งมีเวลาให้รีดน้อยลง นั่นคือประสิทธิภาพในการรีดน้ำลดลง

ตอบข้อคำถามว่าทำไมต้องขับขี่ให้ช้าลงตอนฝนตกน้ำนองถนนฉะนั้นสรุปง่ายๆ ครับ ฝนนี้ถ้าไม่อยากแวะเที่ยวข้างทาง ตรวจสอบความลึกของดอกยาง ควรเปลี่ยนก็เปลี่ยน ยังไม่มีเงิน ไม่พร้อมเปลี่ยนก็ยังไม่เปลี่ยนก็ได้ แต่ต้องขับระวังมากขึ้น ที่แน่ๆต้องขับให้ช้าลง รถยิ่งเล็กน้ำหนักยิ่งเบา ยิ่งต้องให้ขับช้าเลยครับ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1087 วันที่ 15 - 21 กรกฎาคม  2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์