วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ระบบกันสะเทือนก็ผลิตไฟฟ้าได้ !?!

จำนวนผู้เข้าชม Must See Places In Paris

ใครเรียนกลศาสตร์มาบ้างจะรู้ดีว่า พลังงานที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์นั้นมีมากมายหลายรูปแบบ แต่การใช้การเคลื่อนที่ จะเป็นการนำกลับมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ง่ายที่สุด
           
ออดี้ เห็นว่า ยังมีการเคลื่อนที่ในส่วนอื่นๆ ของตัวรถที่สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ คือ การเคลื่อนที่ขึ้น/ลงของช่วงล่าง เป็นการเคลื่อนที่ซึ่งสามารถเอาไปปรับใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ออดี้ เรียกว่า EROT (Electromechanical Rotary Damper) ครับ
           
แนวคิดในการพัฒนา คือ การนำ พลังงานจลน์” (Kinetic Energy) ในจังหวะที่ปีกนกของช่วงล่างมีการขยับขึ้น/ลง การขยับขึ้น/ลงนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนกับการผลิตกระแสไฟฟ้าของไฟฉายแบบเขย่า เมื่อเราเขย่าตัวไฟฉายขึ้น/ลง แม่เหล็กกับขดลวดจะเคลื่อนที่ตัดกัน ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น เมื่อผลิตไฟฟ้าได้ก็จะนำไปชาร์จเข้าไปในแบตเตอรีนั่นเอง EROT จึงสามารถลดพลังงานที่สูญเปล่าได้
           
ทีมวิศวกรของ ออดี้ พัฒนาอัลเทอร์เนเตอร์เฉพาะกิจ ให้มีหน้าที่แทนโช็คอับและสปริงแบบเดิม ตัวอัลเทอร์เนเตอร์นี้จะทำหน้าที่แทนโช๊คอับและสปริงไปเลย
           
มันทำงานได้ยังไง ? การปรับความหนืดของช่วงล่างนั้นจะให้ซอฟท์แวร์ในการควบคุมให้มีการทำงานใกล้เคียงกับการทำงานของโช็คอับและสปริง เปรียบเทียบง่ายๆ คล้ายกับโช๊คอับไฟฟ้า ที่จะมีการทำงานที่รวดเร็วกว่าโช็คอับน้ำมันมาก อัลเทอร์เนเตอร์จะถูกติดตั้งที่ล้อคู่หลังแทนโช็คอับข้างละตัว มีแบตเตอรีขนาด 48 โวลท์ แยกต่างหาก เพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ แม้จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นการนำพลังงานที่สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์กลับมาใช้งานอีกส่วนหนึ่ง
           
EROT เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานโดยรวม ลดการใช้เชื้อเพลิงและลดมลพิษได้ เมื่อวัดเฉพาะตัวเลขการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว สามารถลดการปล่อยได้ประมาณ 3 กรัม/กม. ด้านความประหยัดนั้น ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงได้ประมาณ 0.7 ลิตร/100 กม. เป็นอีกทางเลือกที่ใช้งานได้ครับ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1101 วันที่  21 -  27 ตุลาคม 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์