วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ห้วยรากไม้เข้มแข็ง รวมกลุ่มปลูกข้าว ลดทุนเพิ่มผลผลิต

จำนวนผู้เข้าชม website counter

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวช่วยชาวนาในพื้นที่ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง หลังในพื้นที่แห่งนี้ประสบผลสำเร็จ ในการเข้าโครงการ การส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงนาใหญ่ เกษตรอินทรีย์ ที่ชาวบ้านรวมกลุ่มกัน สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตแก่กลุ่มได้เป็นผลสำเร็จ

เมื่อวันที่ 30 พ.ย.59 ที่บริเวณศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) แปลงใหญ่ (ข้าว)ของเกษตรบ้านห้วยรากไม้หมู่ 4 ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง นายสงกรานต์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายสุรพล ทองเที่ยง เกษตรจังหวัดลำปาง พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังแปลงนาข้าวของเกษตรกรหมู่บ้านแห่งนี้   เพื่อรับฟังการบรรยายผลการดำเนินการเพราะปลูกข้าวในพื้นที่   โดยได้จัดตั้งเป้นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แปลงใหญ่ (ข้าว) มีสมาชิก ในโครงการจำนวนทั้งสิ้น 200 คน พื้นที่โครงการ 1,136 ไร่  ทั้งหมดปลูกพันธุ์ข้าวสันป่าตอง 1 , กข6, rice berry, มะลิแดง,หอมนิล

ซึ่งก่อนลงมือเพาะปลูกได้มีการวิเคราะห์พื้นที่จัดทำข้อมูลรายแปลง ในการพัฒนาคุณภาพข้าวในรูปแปลงใหญ่ เพื่อให้มีความรู้ในเรื่องของการผลิตจนถึงการแปรรูปเพื่อจำหน่าย ซึ่งที่ผ่านมาสามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้เมล็ดพันธ์ข้าวจากเดิม 15 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 10 กิโลกรัม/ไร่ลดการใช้ปุ๋ยเคมี จาก 50 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 30 กิโลกรัม/ไร่ โดยการใช้ปุ๋ยตามค่าวอเคราะห์ดิน และลดการใช้สารเคมี โดยใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทน ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมลดลงจาก 5,182 บาท/ไร่ เป็น 4,041 บาท/ไร่ ลดลงร้อยละ 22 นอกจากนี้ผลผลติที่ได้เพิ่มมากขึ้นคือจากเดิม 494 กิโลกรัม/ไร่ เป็น 553 กิโลกรัม/ไร่ ที่ความชื้น 15% ขณะเดียวกันมีการจัดการด้านการตลาด มีการทำข้อตกลงซื้อขายข้าวเปลือกในราคาที่สูงกว่าตลาด 200 บาท/ตัน กับโรงสีในพื้นที่จังหวัดลำปาง และจำหน่ายข้าวแปรรูป ในตลาดชุมชนและจุดจำหน่ายสินค้าทั่วไป ซึ่งถือว่าศูนย์แห่งนี้ได้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากรับฟังการสรุปแล้วทางคณะได้ร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าวกับชาวบ้านอีกด้วยเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ชาวนา

นายสงกรานต์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ จะได้ดำเนินการโดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรกร เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตร ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมสามารถช่วยแก้ปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองประเด็นการพัฒนาในพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรให้มีการบริหารจัดการในลักษณะแปลงใหญ่ที่เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่ เป็นผู้จัดการพื้นที่ และติดตามการดำเนินงานเพื่อให้ประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างเช่นในครั้งนี้

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1107 วันที่  2 - 8  ธันวาคม 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์