วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2560

ว่าด้วยเรื่อง‘ท่องเที่ยวชุมชน’

จำนวนผู้เข้าชม

จั่วหัวกันด้วยศัพท์แสงคุ้นหูว่า “การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ภาษาอังกฤษสากล คือ Community - Based Tourism  คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชนและชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของ มีสิทธิในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน

ความหมาย นัยสำคัญนี้ เป็นเรื่องที่ หน่วยงานต่างๆพุ่งเป้าหน้างานไปที่ชุมชน หลากหลายรูปแบบ ในลำปางเราก็มีหน่วยงานรัฐและเอกชน สร้างผลงานกันมาระยะสองสามปีที่ผ่านมา

หากแต่ ข้อมูลที่พบส่วนใหญ่ มักเป็นไปในรูปแบบของการเอาขนมแป้งขนมปัง ไปส่งให้แล้วบอกว่า มาทำขนมปังกันเถอะ ซึ่งชุมชนเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  อยากมีส่วนร่วมบ้างไม่อยากบ้าง  เพราะชุมชนยังมองไม่เห็นโอกาสของการสร้างมูลค่าเพิ่มทางสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม วิถีชุมชนของตนเองให้ออกมาเป็นสินค้าการท่องเที่ยวชุมชน  ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้อยากเข้าไปในชุมชน นำเงินในกระเป๋าของเขาไปจับจ่ายในชุมชน

ประเด็นที่จะพูดในเรื่องนี้คือ นักวิชาการ หรือนักวิจัยอะไรก็ตามที่เข้าพื้นที่ไปนั้นมีองค์ความรู้ประสบการณ์จริงด้านการท่องเที่ยว มากกว่าวิชาการที่หาโหลดข้อมูลได้ในกูเกิล เอาไปถ่ายทอดกันไหม??

ใครคือผู้เชี่ยวชาญ  และใครคือคนรับลูก หน้าเสื่อหน้างานในชุมชนนั้นๆ

จะเปรียบเปรยเหมือนเรื่องที่ว่า กระบวนการส่งแป้งขนมปังเข้าไปในชุมชน ที่ว่านี้ ก็เลยกลายเป็น สิ่งที่ป้อนไม่ถูกปาก การพัฒนาจึงไม่เกิดขึ้นจริง  สื่อดิจิทัล ที่กำลังถั่งโถมเข้าไปเป็นแรงหนุน ให้ชุมชนสื่อสาร เรื่องราวคุณค่า ของชุมชน นั้น ก็ อาจจะไม่มีความหมาย

เพราะชาวบ้านไม่อยากทำขนมปัง แต่ถ้าชวนชาวบ้านเอาแป้งขนมปังมาปรับ ใช้กับการทำขนมท้องถิ่นนั้น มันจะสนุกกว่าไหม ??

นักวิชาการ หน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ต้องทบทวน ว่า จะไปสอนเขาเอาแป้งขนมปังนั้นทำอะไร ให้ขายได้แบบ อิน ที่จะบอกให้คนกิน(นักท่องเที่ยว) นั้น ฟิน...ว่ากินขนมชุมชนที่ปรุงจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่แท้จริง มันอร่อยยังไง ...

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1147 วันที่ 22 - 28 กันยายน 2560)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์