วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

รองอธิบดี กรมชลประทาน ติดตามสถานการณ์น้ำ จ.ลำปาง กิ่วลม-กิ่วคอหมาเพิ่มขึ้นหลังจากเกิดพายุชินลากูกว่า 50 ล้าน ลบ.เมตร ขณะที่น้ำในเขื่อนใหญ่ทั่วประเทศ ยังต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 3,000 ล้าน ลบ.ม.ขอประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

เมื่อเวลาประมาณ 11.00น. วันที่ 7 ส.ค. 63  ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดี ฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน ได้ลงพื้นที่มาตรวจราชการ และติดตามสถานการณ์น้ำภาคเหนือ ที่ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 บ้านท่าส้มป่อย ต.ทุ่งฝาย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง หลังจากที่ จ.ลำปาง ได้เกิดอุทกภัยจากพายุชินลากูในหลายพื้นที่  โดยทางรองอธิบดีฯ ได้ร่วมประชุมประเมิน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่  1 ในหลายประเด็น  พร้อมทั้งติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนกิ่วลม-กิ่วคอหมา และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็กใน จ.ลำปาง
ซึ่งทางสำนักชลประทานที่ 2 ลำปาง ได้รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และพื้นที่การเพาะปลูกในเขตชลประทาน  ณ วันที่ 7 ส.ค. 63  ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 158.855 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 32.25 ของความจุอ่างเก็บเก็บน้ำทั้งหมด  ซึ่งเป็นน้ำที่สามารถใช้การได้ 128.264 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 26.04
สำหรับเขื่อนกิ่วลม มีปริมาณน้ำในอ่าง 44.582 ล้านลูกบาศก์เมตร  ร้อยละ 41.97  ส่วนเขื่อนกิ่วคอหมา มีปริมาณน้ำ 67.365 ล้านลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 38.63  และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 29  แห่ง  มีปริมาณน้ำรวม 28.675 ล้านลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 18.15  ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 103 แห่ง มี 18.232 ล้านลูกบาศก์เมตร ร้อยละ 31.38
โดยทางสำนักชลประทานที่ 2 ลำปาง มีแผนการเตรียมความพร้อมใช้เครื่องจักรกรณีช่วยเหลือผู้ประสบเหตุภัยพิบัติในพื้นที่ จ.ลำปาง ไว้แล้ว ซึ่งมีการจัดเตรียมรถบรรทุกติดเครนไว้จำนวน 4 คัน รถบรรทุกน้ำ 6 คัน รถบรรทุก 6 ล้อ 12 คัน  รถบรรทุกเทท้าย 6 คัน และเครื่องสูบน้ำอีกจำนวน 46 เครื่อง

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฯ กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เกิดพายุชินลากู และสลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ทำให้ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากในโซนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ในเชิงบวกก็ทำให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ เช่นเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล  รวมทั้งในเขื่อนกิ่วลม-กิ่วคอหมา มีน้ำไหลเข้าประมาณ 22  ล้านลูกบาศก์เมตร และ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้มีน้ำใช้การได้อยู่จำนวนหนึ่ง
จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ฝนจะเริ่มหมดในช่วงกลางเดือนตุลาคม หมายถึงว่าอีก 2 เดือนฝนจะซาลงแล้ว แต่ปริมาณน้ำฝนในภาคเหนือยังตกต่ำกว่าปกติ 20 เปอร์เซ็นต์ การคาดหมายว่าจะมีพายุเข้ามา 2 ลูกในช่วงนี้ มีเข้ามาแล้วหนึ่งลูกคือ ชินลากู  โดยทางกรมชลประทานได้เฝ้าระวังและติดตามอยู่ตลอดพบว่ามีหย่อมความกดอากาศที่ทะเลจีนใต้ เป็นร่องพาดผ่านตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งอาจจะเกิดฝนตกทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ  ซึ่งปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่งของประเทศ มีน้ำเก็บกักอยู่เพียง 17 เปอร์เซ็นต์  หรือประมาณ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าเทียบกับปีที่แล้วยังต่ำกว่าอยู่อีก 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  ต้องพยายามเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด  ทางรองนายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งการให้ทางกรมชลประทานบริหารน้ำท่า คือน้ำในลำน้ำลำธารนำมาใช้ให้มากที่สุด  รวมทั้งทางอธิบดดีกรมชลประทานเองได้สั่งการให้ดูแลในเรื่องพื้นที่เสี่ยงของการเกิดอุทกภัยด้วย พื้นที่ไหนมีความเสี่ยงมากต้องจัดสรรบุคลากรและเครื่องมือพร้อมให้การช่วยเหลือประชาชน
รองอธิบดีฯ กล่าวอีกว่า อยากจะเชิญชวนให้ประชาชนประหยัดน้ำตั้งแต่นี้ไป เพราะดูสถิติปีที่แล้วพบว่าน้ำฝนต่ำกว่าสถิติ 16 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน และในปีนี้อุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าน้ำฝนจะต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องน้ำฝนจะเอาแน่นอนไม่ได้  ทางด้านชลประทานก็จะพยายามเก็บกักน้ำให้มากที่สุดเพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีน้ำใช้  สิ่งสำคัญคือศูนย์บัญชาการน้ำของกรมชลประทาน ได้มีการคาดการณ์ว่าน้ำในเขื่อน ณ วันที่ 1 พ.ย. 63 ถึง 30 เม.ย. 64 จะมากกว่าปี 62  แต่ต้องเฝ้าติดตามทุกระยะ 15 วัน จึงขอความร่วมมือให้ประชาชนประหยัดน้ำในช่วงนี้

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์