วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กฟผ.ชัยชนะของผู้ปราชัย (1)

           
นถึงวันนี้ ยังคงมีประเด็นถกเถียงกันเรื่องการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด จากการอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องที่ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ และผู้ถูกฟ้องที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
           
โดยเฉพาะเจ้าของพื้นที่แม่เมาะ ผู้ถูกฟ้องที่ ที่คล้ายกับจะตีความคำพิพากษาให้เป็นคุณแก่ฝ่ายตนแต่ฝ่ายเดียว
           
และเนื่องจากเป็นคำพิพากษาศาลสูงสุดในทางปกครองแล้ว กระบวนการจากนี้ คือการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา มิใช่การโต้แย้งคำพิพากษา แต่ด้วยความเคารพในคำวินิจฉัยของศาล ดูเหมือนจะมีช่องทางให้ ผู้ถูกฟ้องที่ พลิ้วไหวไปได้บนกระดานโต้คลื่น หรือเป็นความเข้าใจผิดของชาวบ้าน
           
ประสา “ม้าสีหมอก” ความยุติธรรม ต้องเป็นความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย คือชาวบ้านก็ได้รับการแก้ไขเยียวยาพอสมควรแก่เหตุ กฟผ.ในฐานะหน่วยงานรัฐที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน ก็ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษามิใช่เพียงที่อ่านได้เป็นลายลักษณ์อักษร
           
แต่ต้องเข้าถึงหัวจิตหัวใจของเจ้าของพื้นถิ่น ที่เขาต่อสู้เพื่อชุมชนและรอคอยความหวังมายาวนานด้วย
           
เรื่องนี้ในระดับชาวบ้าน อาจอยู่ในฐานะเสียเปรียบ เพราะพวกเขาอาจไม่แม่นยำในเรื่องกฎหมาย เท่าเจ้าหน้าที่รัฐ ในขณะเดียวกัน ในมิติของกฎหมายมหาชน ซึ่งต่างจากกฎหมายที่คนทั่วไปคุ้นเคย ก็อาจต้องทำความเข้าใจกันพอสมควร
           
จะเข้าใจคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อาจต้องเข้าใจก่อนว่า ชาวบ้านคือผู้ชนะในเบื้องต้นแล้วในศาลชั้นต้น
           
ศาลปกครองชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องที่ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมบางมาตรการและมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
           
และมีคำสั่งให้อพยพหมู่บ้านออกนอกรัศมีผลกระทบ ให้ฟื้นฟูขุมเหมืองให้ใกล้เคียงกับสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยการถมดินกลับไปในบ่อเหมืองให้มากที่สุด และให้ปลูกป่าทดแทน เฉพาะในส่วนที่นำพื้นที่ที่ต้องฟื้นฟูขุมเหมืองไปทำเป็นสวนพฤกษชาติและสนามกอล์ฟ
           
คำสั่งศาลชั้นต้นนี้ อ่านแล้วได้ความว่า ให้ กฟผ.ฟื้นฟูขุมเหมือง ถมดินในบ่อเหมือง ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่ฟื้นฟูที่ไปทำสวนพฤกษชาติและสนามกอล์ฟ แปลว่าจะต้องไม่มีสวนพฤกษชาติและสนามกอล์ฟอีก มีเพียงป่าทดแทน
           
นี่ก็เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้
           
นอกจากนั้นก็มีเรื่อง การวางแผนจุดปล่อยดิน ให้ตำแหน่งที่ปล่อยดินไม่อยู่ในตำแหน่งต้นลมที่พัดผ่านไปยังชุมชนที่อยู่โดยรอบ กำหนดพื้นที่กันชนระหว่างพื้นที่ปล่อยดิน กับชุมชน ไม่น้อยกว่า 50 เมตร
           
ให้จัดทำรายงานการตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมทุก 2 ปี โดยจะต้องมีรายงานการตรวจสอบในทุกผลกระทบที่เกิดขึ้น และเสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทราบ หาก กฟผ.มีมาตรการป้องกันและแก้ไขที่ดีกว่า ก็ให้ยื่นแก้ไขต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
           
ประเด็นนี้ คือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น จะต้องรับทราบมาตรการของ กฟผ.ก่อนดำเนินการ โดยให้อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ตรวจสอบ
           
ทั้งหมดนี้ เป็นสาระสำคัญของคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น
           
ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 7 (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอุทธรณ์คาพิพากษาต่อ ศาลปกครองสูงสุด
           
ศาลปกครองสูงสุด มีคำวินิจฉัยว่า  แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด กฟผ.ได้ขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เห็นชอบให้มีการกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่พิพาทกันบางมาตรการแล้วก็ตาม
           
แต่ไม่ปรากฏว่า กฟผ. ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ ในการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรการป้องกันและแก้ไขสิ่งแวดล้อม มาตรการนั้นจึงยังไม่มีผลใช้บังคับ กฟผ.ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับเดิมต่อไป
           
โดยศาลสั่งให้พิจารณาเป็นรายกรณี
           
กรณี กฟผ.ไม่ขนดินไปเก็บกองนอกเขตประทานบัตร ตามแผนผังโครงการทำเหมืองแร่ถ่านหิน ข้อนี้ ไม่ถือว่า กฟผ.มีความผิด ไม่เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย เช่นเดียวกับกรณีการรักษาความชื้นในขณะที่ทำการโม่ดินและหินขนาดใหญ่
           
แต่กรณีที่ผิดคือ การที่ กฟผ.รื้อม่านน้ำที่สร้างขึ้นในบริเวณที่กำหนดให้เป็นที่ทิ้งดินกับบ้านหัวฝายออก และได้ทำการปลูกต้นสนประดิพัทธ์เป็นแนวกำบังแทน
           
เมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้อนี้ ยังมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมอุตสาหกรรมฯ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เสนอไว้ในรายงานฯ
           
รายงานกำหนดให้ทำการติดตั้งม่านน้ำเพื่อเป็นการลดฝุ่นละอองในบรรยากาศ มีความยาว 800 เมตร ระหว่างที่ทิ้งดินด้านทิศตะวันออกกับบ้านหัวฝาย และระหว่างที่ทิ้งดินด้านทิศตะวันตกกับหมู่บ้านทางทิศใต้ ถือว่า กฟผ.ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
           
เมื่อพิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดแล้ว มีทั้งประเด็นที่ กฟผ.มีความผิด และไม่มีความผิด ซึ่งหากตีความอย่างไม่มีอคติแล้ว ความในคำวินิจฉัยของศาลก็ชัดเจนพอสมควรว่าจะปฏิบัติอย่างไร
           
แล้วเหตุใด คำพิพากษานี้ ยังคงมีประเด็นโต้แย้ง รวมทั้งเรื่องร้อนแรงสวนพฤกษชาติและสนามกอล์ฟ
           
สัปดาห์หน้ามาหาคำตอบว่า ทำไมจึงเป็นชัยชนะของผู้ปราชัยสำหรับ กฟผ.



(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1037 วันที่ 17 - 23  กรกฏาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์