วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ลานนาโพสต์ กับสภา นสพ.

           
านนาโพสต์ เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวในจังหวัดลำปาง ที่เป็นองค์กรสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ความหมายสำคัญข้อเดียว คือการยกระดับมาตรฐานจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ให้เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ สุดท้ายคือเป้าหมายในการเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นระดับชาติ
           
ความฝันเช่นนั้น ปะติดปะต่อจนดูดีมีรูปร่าง ด้วยการยอมรับผ่านรางวัลต่างๆขององค์กรสื่อระดับชาติ
           
ปีนี้ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ องค์กรกำกับ ดูแลด้านจริยธรรมสื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศนี้ มีอายุครบรอบ 18 ปี เป็น 18 ปีที่มั่นคงแข็งแรงขึ้นเป็นลำดับ แม้จะมีคำถามมากมายจากสังคม ที่จำเป็นต้องอธิบายกันบ้างก็ตาม
           
ท่านประธานภัทระ คำพิทักษ์  เข้ามารับหน้าที่ในห้วงระยะเวลาสำคัญที่สังคมกำลังตั้งคำถามหนักหน่วงถึงจริยธรรมของสื่อ และมีความพยายามที่จะคิดอ่านกลไกในการกำกับ ในลักษณะของการควบคุมบังคับสื่อ ในนามของสภาปฏิรูปแห่งชาติ สื่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก็เป็นเป้าหมายหนึ่ง
           
ผมเชื่อว่า ทุกฝ่ายมีความปรารถนาดี ที่ต้องการให้สื่อยึดมั่นอยู่ในหลักการความเป็นสื่อที่ดี ไม่เป็นสื่อที่ทำร้ายสังคม ไม่เป็นสื่อที่สร้างและสั่งสมความเกลียดชังให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม
           
แต่การที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้น อาจจำเป็นต้องเข้าใจบริบทของสังคม และองค์ประกอบต่างๆ ที่ก่อรูปขึ้นเป็นสื่อมวลชน อันหมายรวมถึงสื่อที่เรียกกันได้แต่ในนาม หากมิได้เข้าใจและต้องการทำสื่อเพื่อรับผิดชอบ นอกจากการทำมาหากินเพื่อยังชีวิตให้อยู่รอด เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ
           
การทำสื่ออันมุ่งต่อผลประโยชน์เฉพาะหน้าโดยเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อการเมืองที่รับใช้กลุ่มหรืออุดมการณ์ทางการเมือง
           
สื่อที่มุ่งต่อการค้าขายความบันเทิง เรื่องเพศ เรื่องที่ตอบสนองสัญชาติญาณความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ หรือรวมถึงสื่อสังคมออนไลน์ ที่ท่วมท้นด้วยเรื่องราวมากมาย ทั้งจริงและเท็จปะปนกัน หากจะได้เข้าใจว่าเป็นคนทำอาชีพหนึ่ง หรือเป็นกิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ปกติ จะทอดธุระเสียบ้าง ก็จะทำให้สบายใจขึ้น
           
อาจจำเป็นต้องเข้าใจคนที่ทำ อาชีพสื่อ กับ วิชาชีพสื่อ
           
คำว่าอาชีพก็คือการทำมาหากินเพื่อให้ได้เงิน และทรัพย์สินเงินทองมาเลี้ยงชีพ ส่วนคำว่าวิชาชีพนั้น คือการทำงานโดยอาจไม่ได้มีเงินหรือผลประโยชน์เป็นจุดหมายเดียว หากต้องมีความรับผิดชอบควบคู่ไปด้วย
           
สำหรับสื่อที่มีความมุ่งหมายเจาะจง สื่อบันเทิงทุกรูปแบบ ทั้งสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และออนไลน์  นอกจากการกระทำผิดจริยธรรมอยู่เนืองๆแล้ว ส่วนใหญ่ยังมีความผิดตามกฎหมายควบคู่ไปด้วย เช่น การใช้ถ้อยคำ หรือภาพที่เป็นการหมิ่นประมาท หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
           
ข้อเสนอคือ ให้มีการพิจารณาใช้สิทธิฟ้องคดีโดยผู้เสียหาย หรือองค์กรผู้บริโภค และว่ากันไปตามกฎหมายปกติ ที่มีอยู่แล้ว เช่น กฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กฎหมายแพ่งว่าด้วยละเมิด กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
           
หากการบังคับใช้กฎหมายแข็งแรงขึ้น ความผิดเรื่องจริยธรรมของคนทำสื่อเป็น อาชีพ” เหล่านี้น่าจะลดลง
           
แต่หากใช้กฎหมายแบบไม่แยกแยะ และมุ่งที่จัดการสื่อทั้งระบบ โดยปราศจากความรู้ ความเข้าใจในบริบท หรือภูมิทัศน์ของสื่อ ความล้มเหลวก็จะเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคิดแล้ว
           
ปีนี้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จึงคิดจัดงานครบรอบ 18 ปี เพื่อถกแถลงเรื่องกฎหมายกันให้ชัดเจน
           
งานจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ ที่ผ่านมา  ณ ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ฯ
           
เริ่มด้วยการปาฐกถาพิเศษเรื่อง อนาคตสื่อไทยหลังรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
           
ต่อด้วยการสนทนากลุ่มเรื่อง ความอยู่รอดและความท้าทายของสื่อไทย โดยนายสมนึก กยาวัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว จำกัด นายศุภกรณ์ เวชชาชีวะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ การ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง จำกัด (มหาชน)
           
นายวริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บไซต์ เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และนางสาววริษฐา ภักดี เจ้าของและบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้ โฆษณา หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ จ. ลำปาง
           
ดำเนินรายการโดย ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
           
เป็นบทบาทเล็กๆของบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์บ้านนอก บนเวทีระดับชาติ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1035 วันที่ 3 - 9  กรกฏาคม 2558)
Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์