วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนรถโฟล์ค

จำนวนผู้เข้าชม Hit Web Stats

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวใหญ่ที่เป็นอุทาหรณ์สอนใจคนทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี ก็คือ เรื่องบริษัทรถยนต์  โฟล์คสวาเกน ไม่รู้
คิดยังไงติดตั้งเครื่องวัดปริมาณ CO2  ขี้โกง
           
เรื่องเกิดในสหรัฐอเมริกา แล้วลามมาถึงยุโรป และเอเชีย ทางด้านเยอรมนีซึ่งเป็นเจ้าของอแบรนด์  โฟล์คสวาเกน ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ และดำเนินการตรวจสอบ ข่าวนี้ไม่เพียงวงการรถยนต์เท่านั้นที่ให้ความสนใจ แต่นักการเมือง ผู้ออกกฎระเบียบต่างๆ และนักสิ่งแวดล้อม ต่างก็ออกมาตั้งคำถามกับระบบตรวจสอบมลพิษของ โฟล์คสวาเกน
           
โฟล์คสวาเกน ได้เรียกรถกลับคืน 8.5 ล้านคัน ในยุโรป 2.4 ล้านคัน ในเยอรมนี และ 1.2 ล้านคัน อังกฤษ ส่วนในสหรัฐอเมริกาได้เรียกคืน  500,000 คัน
           
มาตรฐานการปล่อย CO2 ถือเป็นเรื่องสำคัญในรถยนต์ ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดไว้ไม่เท่ากัน ประเทศที่พิถีพิถันเรื่องสิ่งแวดล้อมมากก็จะมีมาตรฐานสูง มาตรฐานนี้เรียกว่า ยูโร และใช้ตัวเลขเป็นตัวกำหนด เช่น ยูโร ก็มาตรฐานสูงกว่า ยูโร เป็นต้น
           
ตามข่าวบอกว่านอกจากการจะเรียกกลับคืนรถเป็นล้านคัน บรรดาผู้บริหารที่รับผิดชอบต้องลาออกกันเป็นแถว เพราะผู้บริหารนั่นเองที่เป็นผู้อนุมัติการติดตั้งเครื่องตรวจวัดที่ไม่ซื่อตรงดังกล่าว
           
ที่แน่ๆ ผู้บริหารที่ดูแลเรื่องการขายและการตลาด และเป็นกรรมการบริหารด้วยได้ลาออกไปแล้ว แม้ทางบริษัท ฯ จะอ้างว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้
           
เมื่อปี 2014 ทางผู้กำกับกฎระเบียบของสหรัฐอเมริกาเคยแสดงความห่วงใยเรื่องนี้มาทีหนึ่งแล้ว แต่ทางบริษัท ฯ ได้ชี้แจงว่าเป็นเรื่องประเด็นทางเทคนิค และเกิดจากสภาวะในแต่ละพื้นที่
           
สื่อให้ความเห็นว่าถ้าหากเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการของ  โฟล์คสวาเกน  ไม่บอกความจริงกับผู้บริหารระดับสูง มันก็เป็นเรื่องน่าเศร้าครับ
           
กรณีของ  โฟล์คสวาเกน  นี้ เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นเรื่อง วิกฤต คือ โอกาส” เพราะมันทำให้มีการตื่นตัวหลายเรื่อง ที่เห็นชัดๆ ก็คือ การทดสอบรถยนต์ และเรื่องมาตรฐานของรถยนต์ดีเซล
           
ยุโรปนิยมรถยนต์ดีเซลมากกว่าสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อว่าประหยัด และปล่อยมลพิษน้อยกว่า ความเชื่อนี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป และมีพัฒนาการใหม่ๆ เกิดขึ้น  เช่น นักรณรงค์สิ่งแวดล้อมบางคนให้ความเห็นว่า รถใช้ดีเซลในยุโรปนั้นใช้เทคโนโลยีที่ดีไม่เท่าในสหรัฐอเมริกา และบอกว่าเมื่อนำมาขับขี่บนท้องถนน รถยนต์ดีเซลกว่า 90% ไม่ได้มาตรฐานการปล่อยมลพิษ ส่วนนักวิเคราะห์บางคนก็บอกว่า อันที่จริงทางยุโรปก็ไม่ได้เข้มงวดเรื่องมาตรฐานมลพิษนัก และไม่เห็นมีความจำเป็นจะต้องไปคดโกงอะไรเรื่องการวัดค่ามลพิษ สิ่งที่พูดนี้อาจพาดพิงมาถึงกรณี  โฟล์คสวาเกน ก็ได้ เขาบอกว่าถ้ามันไม่ได้มาตรฐานก็ทดสอบรอบใหม่ก็น่าจะได้
           
กระแสรถยนต์ดีเซลในอดีตก็ดีมาเรื่อยๆ ด้วยความเชื่อว่ามันดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะรัฐบาลในประเทศต่างๆ ต่างก็มีนโยบายสนับสนุนรถยนต์ดีเซล รวมทั้งรัฐบาลไทยที่พยายามตรึงราคาน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ดีเซลอยู่ตลอดมา
           
แต่ช้าก่อน ผลการศึกษาที่ออกมาใหม่ๆ ไม่ได้สนับสนุนดีเซลนัก วงล้อเริ่มหมุนกลับมาทางน้ำมันเบนซิน และขณะนี้ยอดขายรถยนต์ดีเซลเริ่มอืดลง ยิ่งมามีเรื่อง  โฟล์คสวาเกน  ขึ้นมา รถดีเซลถึงคราวสะดุด
           
ในสหรัฐอเมริกายอดขายรถยนต์ดีเซลมีเพียง 1 % และไม่มีทีท่าจะเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ แต่ในยุโรป ปัญหาของ  โฟล์คสวาเกน กระทบมาถึงยอดขายรถยนต์ดีเซล เป็นไปได้ว่าผู้บริโภคจะตัดสินใจกระดกกลับไปอยู่ทางด้านรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซินแทนดีเซล ก็เป็นได้
           
สถาบันยานยนต์ของไทยมีหน่วยทดสอบรถยนต์ที่ทำการทดสอบได้ในระดับหนึ่ง สำหรับการทดสอบบางอย่าง ทางสถาบันก็ไว้ใจให้บริษัทรถยนต์ที่ได้รับความเชื่อถือนำผลทดสอบที่ทำแล้วในประเทศของตนนำมาใช้ได้ ซึ่งแน่นอนบริษัทใหญ่ๆ ที่ว่าต้องมี โฟล์คสวาเกน อยู่ด้วย
           
ขณะนี้ก็คงทราบกันแล้วว่ารถยนต์รุ่นที่มีปัญหาหลุดเข้ามาในเมืองไทยด้วยหรือไม่ ถ้ามีทาง โฟล์คสวาเกน ก็คงเคลียร์กันเรียบร้อยไปแล้วมั้งครับ

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1069  วันที่ 4 - 10  มีนาคม 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์