วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ศึกษากฎเหล็ก กกต. หาเสียงล้ำเส้น มีสอยแน่

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

ผู้สมัคร พรรคการเมืองทั้งหลาย ต้องระแวด ระวัง สำหรับการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ว่า นี่เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกฎระเบียบหาเสียงฉบับใหม่ ลงนามโดยนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

กฎ ระเบียบการหาเสียงครั้งนี้ เข้มข้นอย่างยิ่ง เข้มยิ่งกว่าการเลือกตั้งครั้งใด เข้มข้นถึงขนาดที่ละเอียดเสียยิ่งกว่าฝุ่นPM 2.5 และสำคัญคือ ผู้สมัคร พรรคการเมืองจำนวนไม่น้อย ไม่เข้าใจ ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้คิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ด้วยความเคยชินที่เคยปฎิบัติกันมา ดังนั้น ผู้สมัคร ส.ส.ลำปาง อย่างน้อย 2 คน ได้ทำผิดกฎระเบียบหาเสียงครั้งนี้แล้ว ในการหาเสียงทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์  แต่คล้ายจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ที่ว่าคล้ายจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นนั้น เนื่องเพราะเป็นความตั้งใจของ กกต.ที่จะปล่อยให้หาเสียงกันเต็มที่ โดยถือว่าผู้สมัคร พรรคการเมือง ต้องศึกษา เรียนรู้ และเข้าใจกฎระเบียบในการหาเสียงครั้งนี้แล้ว และกกต.จะเก็บข้อมูลการหาเสียงที่ไม่ได้เป็นไปตามกติกา ไว้ประกอบการพิจารณาสอยภายหลังการเลือกตั้ง

ว่ากันเฉพาะการหาเสียงทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก่อน ไม่ว่าจะเป็นการหาเสียงด้วยตัวเอง มอบหมายบุคคลอื่น หรือว่าจ้างสื่อทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล  ครอบคลุม เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย หรือสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์

ยังมี ยูทูป แอฟพลิเคชั่น อีเมล์ เอสเอ็มเอส รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท

กรณีที่จ้างสื่อ จะต้องระบุชื่อผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน วัน เดือน ปีที่ผลิตเนื้อหาให้ชัดเจน

ผู้สมัคร ส.ส.ที่หาเสียงทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งเราพบว่า ในจังหวัดลำปาง มีผู้สมัครบางคน หาเสียงด้วยวิธีต่างๆ แม้ไม่ได้เห็นชัดเจนว่าเป็นการหาเสียงหรือไม่ เช่น ไปปรากฎตัวในงานต่างๆ แสดงความคิดเห็นทางการเมือง ฯลฯ หลังมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งแล้ว ก็ยังใช้เนื้อหาที่ตีความได้ว่าเป็นการหาเสียงแบบเดิม คนเหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงยิ่งที่จะถูกสอย และถูกดำเนินคดีหลังเลือกตั้ง 

เพราะระเบียบ กกต.กำหนดว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะต้องแจ้งวิธีการ ช่องทาง ระยะเวลาในการหาเสียง รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามแบบที่กำหนด ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกกต.ประจำจังหวัดทราบ ตั้งแต่วันสมัครรับเลือกตั้ง หรือก่อนดำเนินการหาเสียงทางชองทางอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีหาเสียงในนามพรรคการเมือง ต้องแจ้งต่อเลขาธิการ กกต.

ไม่เพียงการหาเสียงโดยตัวผู้สมัคร โดยพรรคการเมืองเท่านั้น กรณีที่มีการหาเสียงโดยมิได้เป็นผู้สมัคร หรือมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง คือการหาเสียงผ่านบุคคลอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการนับค่าใช้จ่าย ก็ยังอยู่ภายใต้กฎระเบียบเข้มข้นของ กกต.ด้วย

การหาเสียงเลือกตั้งโดยบุคคลที่มิได้เป็นผู้สมัครหรือมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้บุคคลที่มิได้เป็นผู้สมัครหรือมิได้เป็น สมาชิกพรรคการเมืองที่ประสงค์จะหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด แสดงชื่อและชื่อสกุล หรือชื่อนิติบุคคล หรืออาจแสดงชื่อย่อ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดที่สามารถ ระบุเจาะจงตัวบุคคลที่ดำเนินการได้

สื่อที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระบุชื่อและชื่อสกุลหรือ ชื่อนิติบุคคลของผู้จัดท า การแสดงตนและระบุข้อมูลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง อาจกระท าในรูปแบบตัวอักษร ภาพ หรือเสียงก็ได้

บุคคลที่มิได้เป็นผู้สมัครหรือมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้ง ทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายการค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ รวมแล้วเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาท ให้แจ้งค่าใช้จ่ายต่อผู้สมัครหรือพรรคการเมืองทราบ ทั้งนี้ ให้ผู้สมัครแจ้งให้ผู้อ านวยการ ส านักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบด้วย

นี่เป็นเพียงหาเสียงเลือกตั้งทางโซเชียลมีเดียเรื่องเดียว ที่มีว่าที่ ส.ส.ลำปาง ทำผิดกฎแล้ว ยังมีกฎเหล็กอีกหลายข้อที่ต้องติดตามกันต่อไป บนพื้นที่นี้ “ม้าสีหมอก”

(หนังสือพิมพ์ลลานนาโพสต์ฉบับที่ 1215 วันที่ 1 - 7 กุมภาพันธ์ 2562)

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์