วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สื่อในสถานการณ์ระเบิดป่วนเมือง ไม่ราดน้ำมันบนกองเพลิง

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

ารสืบสวน สอบสวน กรณีระเบิดป่วนเมืองมีความคืบหน้าไปตามสมควร เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมคนร้ายได้ และได้เบาะแสว่า กลุ่มคนร้ายที่ก่อเหตุมีมากกว่า 10 คน อายุอยู่ในช่วงประมาณ 20 28 ปี สอบประวัติอาชญากรรมแล้ว ยังไม่พบผู้เกี่ยวข้องกับเหตุก่อความไม่สงบในพื้นที่ต่างๆ โดยผู้ก่อเหตุเดินทางโดยรถยนต์โดยสารปรัยบอากาศมาจากภาคใต้

แต่ผู้ที่ถูกระบุว่า เป็นคนร้ายทั้งที่จับได้แล้ว และอยู่ระหว่างการจับกุม ล้วนเป็นผู้ต้องสงสัย ยังไม่ได้เป็นผู้ต้องหา ไม่ได้เป็นจำเลย และยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งในแง่หลักกฎหมาย ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า เขากระทำความผิด จะบอกว่าคนเหล่านี้คือตัวการในปฎิบัติการระเบิดป่วนเมืองครั้งนี้ไม่ได้

และยิ่ง ไม่มีพยานหลักฐาน ที่มั่นคง ทุกสิ่งก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน ไม่ว่าฝ่ายใดก็ไม่ควรที่จะกล่าวหา ปรักปรำใคร และตัดสินไปตามอคติส่วนตัว โดยเฉพาะหากถ้อยคำนั้น มาจากสมาชิกแห่งสภาผู้แทนราษฎร ที่ควรมีความน่าเชื่อถือ เช่น กรณีของนางปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่โพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัวด้วยความมั่นใจ

 “นายกทักษิณเป็นคนไม่ดีคะ ต้องเรียนรู้แพ้ รู้ชนะ พอหยุดเผา ก็มาระเบิด #อำมะหิด"

น่าสงสัยว่าเธอมีวุฒิภาวะมากพอหรือไม่ ที่จะคิดว่าถ้อยคำที่ฟันธงว่านายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด ไม่ควรพูดในพื้นที่สาธารณะ ในฐานะที่เป็น ส.ส.และคำของนางปารีณา ก็สะท้อนทัศนคติของคนอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งสื่อมวลชนบางคน บางค่าย ที่ยังวนเวียนอยู่แต่เรื่องนายทักษิณ ไม่ยอมไปผุดไปเกิดกับความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล

เมื่อมันรู้สึกแพ้ มันก็ป่วนเมือง ทุกคนต้องช่วยกัน ทั้งระวังตัว และเป็นหูเป็นตาให้บ้านเมือง แล้วเราก็จะผ่านช่วงนี้ไปได้” 

คำเช่นนี้ มีสื่อหนึ่งเดียวในประเทศนี้เท่านั้น ที่จะกล่าววาจาได้

แน่นอนว่า อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ควรโยนให้รัฐบาล เป็นผู้สร้างสถานการณ์ เช่น ถ้อยคำของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ที่ว่า อาจเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อปกปิด หรือกลบข่าว ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวคำถวายสัตย์ปฎิญาณตนไม่ครบ ผิดรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ที่จะทำให้รัฐบาลไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้

สำหรับสื่อมวลชน อย่างน้อยปรากฎการณ์ระเบิดป่วนเมือง ก็ทำให้เราได้ทบทวนหลักการรายงานข่าวในสถานการณ์อ่อนไหว และเป็นเส้นแยกแบ่งให้เห็นความรับผิดชอบที่ไม่เหมือนกันระหว่างสื่ออาชีพ กับกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าสื่อ สื่ออาชีพเขาจะตระหนักว่า ต้องรายงานข่าวอย่างสมดุลอย่างไร

จะรักษาสมดุลอย่างไร ในการทำหน้าที่รายงานข่าวสถานการณ์ความรุนแรง โดยมุ่งต่อประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) อีกทั้งสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน โดยที่ยังต้องรักษาหลักการในทั้งฐานะสื่อมวลชนและคนไทยคนหนึ่งที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกับคนอื่นๆ

โดยรูปแบบของข่าว คือการก่อความไม่สงบ สร้างสถานการณ์ สร้างความตระหนกตกใจ ซึ่งหากประเมินความพร้อมและศักยภาพของฝ่ายความมั่นคงแล้ว อยู่ในวิสัยที่ควบคุมสถานการณ์ได้ และเหตุการณ์จะไม่บานปลาย ร้ายแรงไปกว่านี้ ขณะที่น้ำหนักของข่าวก็ไม่ถึงขนาดจะยกระดับเป็นการก่อการร้าย ทั้งในจุดเกิดเหตุ และผลกระทบ

หน้าที่ของสื่อมวลชน คือควรได้ตระหนักถึงหลักการรายงานข่าวในสถานการณ์อ่อนไหว ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงหน้าที่ของความเป็นพลเมือง ว่าข่าวและภาพที่นำเสนอไปนั้นส่งผลกระทบต่อสังคม ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง หรือสร้างความสับสน จากเฟคนิวส์ที่ถูกส่งออกมามากมายอย่างไร

องค์ประกอบสำคัญ ของการก่อเหตุร้ายนั้น ยิ่งมีการแสดงรายละเอียดของจุดที่วางระเบิด หรือจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยทั้งที่เป็นคนละเหตุการณ์ การแสดงรายละเอียดผู้บาดเจ็บ ความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือการทำซ้ำข่าวและภาพเหล่านั้น เสมือนเป็นเหตุการณ์ที่ปั่นป่วนไปทั้งเมือง นั่นคือเป้าหมายของผู้บงการ

คนทำสื่อ จะต้องอธิบายความบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ไม่วูบไหวไปตามกระแสข่าวลวง และไม่ตกเป็นเครื่องมือขยายผลความสับสนวุ่นวายให้ผู้ก่อความรุนแรง

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1241 วันที่ 9 - 15 สิงหาคม 2562)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์