กรมทางหลวง
ศึกษาความเหมาะสมก่อนเดินหน้าโครงการสร้างทางเลี่ยงเมืองลำปาง เล็งตัดเส้น
ต.ปงแสนทอง เชื่อมต่อ ต.พิชัย เป็นเส้นทางการขนถ่ายสินค้าในอนาคต
เชื่อมโยงเศรษฐกิจกลุ่มภาคเหนือ
เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 56
ที่ห้องประชุมโรงแรมเวียงลคอร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิกการประชุมปฐมนิเทศโครงการ
งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองลำปาง
โดยมีนายพรพรต สุริยนต์
วิศวกรโยธาเชียวชาญกรมทางหลวง เป็นผู้กล่าวรายงาน
ทั้งนี้
สืบเนื่องจากจังหวัดลำปางได้กำหนดยุทธศาสตร์ในด้านการคมนาคมขนส่ง
และความต้องการพัฒนาจังหวัดลำปางให้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงสินค้า เชื่อมเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง
และยังสามารถเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการค้าขาย
การรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC ) ที่จะเกิดขึ้นในปี
พ.ศ. 2558
เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดลำปางมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการที่จะเป็นจุดศูนย์กลางการแวะพักรถในการขนส่งสินค้าและเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้
( North-South Economic : NSEC ) เป็นการเชื่อมโยงสินค้าและบริการในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
( Greater Mekong Subregion : GMS ) ผ่านเส้นทาง R3B และจากการสำรวจพื้นที่แนวเส้นทาง
พบว่าปัจจุบันกรมทางหลวงมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองด้านใต้จนแล้วเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นเส้นทางขนาด 2 ช่องจราจร
และยังมีเขตทางพร้อมที่จะขยายต่อไปในอนาคต
อีกทั้งกรมทางหลวงชนบทก็ยังอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบทางเลี่ยงเมืองด้านตะวันตก ขนาด
4 ช่องจราจร ระยะทางราว 14 กิโลเมตร โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการจากแยกทางหลวงหมายเลข
11 ประมาณ กม.ที่ 3-4 อยู่ในพื้นที่ ต.ปงแสนทอง อ.เมืองลำปาง
และจุดสิ้นสุดโครงการบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1 ( ถนนพหลโยธิน) แนวสำรวจช่วงประมาณ
กม.ที่ 711-712 ในพื้นที่ ต.พิชัย อ.เมืองลำปาง โดยการปฐมนิเทศในโครงการดังกล่าว
มีเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและข้าราชการทั้งภาครัฐ เอกชน
หอการค้าจังหวัดและกลุ่มผู้นำชุมชนจากหมู่บ้านต่างๆ
ที่มีเขตเชื่อมต่อกับการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองกว่า 150 คน
เข้าร่วมรับฟังอย่างคึกคัด พร้อมร่วมซักถามแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ
ถึงความเป็นที่จังหวัดลำปางจำเป็นต้องทางเลี่ยงเมืองไว้รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
( AEC ) และเหมาะสมกับกาลงทุนมากน้อยแค่ไหน
โดยมีคณะปรึกษาของบริษัทผู้ดำเนินโครงการคอยตอบคำถาม
นายพรพรต สุริยนต์ วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญกรมทางหลวง เปิดเผยว่า
โครงการทางเลี่ยงเมืองลำปางด้านเหนือ ซึ่งจะเป็นโครงการต่อเนื่องกับโครงข่ายด้านใต้ที่ได้ออกแบบไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
ขั้นตอนต่อจากนี้ไปจะเป็นการจ้างงานศึกษาด้านความเหมาสมกับทางเศรษฐกิจ
วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อจะหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเชื่อมโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองให้สมบูรณ์และคุ้มกับการลงทุน โดยจะต้องมีการคัดเลือกใช้วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมมาเปรียบเทียบหาข้อดีข้อเสีย ซึ่งวันนี้เป็นการประชุมครั้งแรก
เป็นการแนะนำโครงการและแนะนำตัวบริษัทที่จะมาทำการศึกษา โดยต่อจากนี้ไปประมาณ 2-3
เดือน จะนำผลที่เราคัดเลือกหรือศึกษาไว้แล้วมานำเสนอกับประชาชนชาวลำปางอีกครั้งหนึ่ง
จากนั้นก็จะเป็นการเจาะลึกลงในรายละเอียดในด้านผลกระทบต่างๆที่เกี่ยวกับพื้นที่
ในส่วนของงบประมาณในการก่อสร้างนั้นอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านบาท เมื่อถึงเวลานั้นกรมทางหลวงก็จะนำเรื่องเสนอกับรัฐบาลเพื่อตั้งแผน
หากนโยบายได้รับความเห็นชอบด้วยเราก็จะมีการออกแบบและรายละเอียดอื่นๆต่อไป
นายพรพรต
กล่าวว่า
ส่วนในขั้นตอนการศึกษานั้น จะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี
หากไม่มีผลกระทบที่จะต้องนำเสนอกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ก็สามารถออกแบบในรายละเอียดได้เลย แต่ถ้ามีผลกระทบไม่ว่าจะเรื่องของประชาชนในพื้นที่
เรื่องสิ่งแวดล้อมหรือเรื่องของประวัติศาสตร์
จะต้องนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการในชุด สผ. เพื่อแก้ไข หากผ่านพ้นไปได้ก็จะเริ่มออกแบบการก่อสร้าง
ทั้งหมดนี้คงต้องใช้เวลาอีกหลายปี
ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในการสำรวจถนนสายเลี่ยงเมืองจะเป็นเรื่องของราคาค่าชดเชยที่ดิน
ซึ่งชาวบ้านมีความกังวลอยู่มาก
แต่ปัจจุบันนี้กรมทางหลวงได้ยึดถือนโยบายตามกฎหมายเป็นหลัก
ซึ่งจะมีคณะกรรมการร่วมกันพิจารณาในระดับจังหวัด
ซึ่งจะให้ราคาที่เป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
สำหรับการออกแบบก่อสร้างนั้นก็ต้องดูความเหมาะสมของทางการศึกษาด้านการจราจร
การจะสร้างได้กี่เลนต้องอยู่กับการพิจารณาปริมาณของรถว่ามีประมาณเท่าไร
ตัวถนนถึงจะรองรับได้พอดี
แต่หากว่าศึกษาแล้วเห็นว่าไม่คุ้มกับการลงทุนในด้านเศรษฐศาสตร์หรืออะไรก็ตามก็อาจจะไม่ได้เข้ารับการพิจารณา
แต่การศึกษามีผลเป็นบวกมีแนวโน้มเรื่องแก้ปัญหาจราจร เศรษฐกิจคุ้มค่านั้น
กรมทางหลวงก็จะต้องทำแผนผลักดันให้มีการก่อสร้างต่อไป
ซึ่งการศึกษาในครั้งต้องใช้งบประมาณในการสำรวจประมาณ 10 ล้านบาท