วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รีแบรนด์ลำปางขายนครแห่งความสุข



ลำปางเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวหนาวนี้ พร้อมเปิดตัวตราสัญลักษณ์ใหม่ “ลำปางแบรนด์” ขายความเป็นนครแห่งความสุข ที่ไม่หมุนไปตามกาลเวลา” 

จังหวัดลำปางรุกตลาดท่องเที่ยวกำหนดแบรนด์ใหม่ มุ่งสู่ทิศทางนครแห่งความสุขที่ไม่หมุนไปตามกาลเวลาหรือ Lampang Slow Travel @City of Happiness พร้อมเปิดตัวสัญลักษณ์ใหม่ให้มีความโดดเด่น และมีความชัดเจนในภาพลักษณ์ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น พร้อมเดินหน้ากิจกรรมเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการ วันที่ 8 พ.ย.57 จัด FAM Trip โดยการนำผู้ประกอบการนาเที่ยวในประเทศเยือนจังหวัดลำปาง พร้อมอบรมผู้ประกอบการและบุคลากรด้านท่องเที่ยว ในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีด้วย 

นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวความเป็นมาของโครงการณฯว่า จากการระดมความคิดเห็นจากประชาสังคมของจังหวัดลาปาง ได้ทิศทางที่ชัดเจนขึ้นว่า จังหวัดลำปางจะต้องก้าวสู่การเป็นนครแห่งความสุขซึ่งจะเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งตนเอง ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป และจะได้สร้างแบรนด์ใหม่ที่จะดึงดูดภาคการท่องเที่ยวว่าลำปาง นครแห่งความสุข ที่ไม่หมุนไปตามกาลเวลาหรือ Lampang Slow Travel @ City of Happiness ทั้งนี้ การสร้างตราสัญลักษณ์ใหม่ของลำปางอยู่ภายใต้โครงการลำปางแบรนด์นครแห่งวัฒนธรรมล้านนา เปิดประตูการค้าสู่อาเซียนเพื่อให้มีความโดดเด่น และมีความชัดเจนในภาพลักษณ์ของจังหวัดลาปาง เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจสามารถแข่งขันสู่สากล โดยเปลี่ยนแนวคิดจากเมืองที่เป็นสถานที่ตั้ง ให้กลายเป็น เมืองจุดหมายปลายทางที่จะต้องไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถจดจำแบรนด์ของเมือง ซึ่งคือภาพรวมของทั้งเมืองในภาพเดียว แต่สะท้อนการเป็นตัวแทนทุกๆ มิติที่เกิดขึ้น และดำเนินต่อไปภายในเมือง 

ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวต่อไปว่า โดยตราสัญลักษณ์ของลำปางจะประกอบไปด้วยรถม้า ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของลำปางเมืองรถม้ามีตำนานยาวนานมากว่า 100 ปี    ไก่ เป็นสัญลักษณ์ของลำปางมาตั้งแต่สมัยเมืองกุกกฏนคร และมีชามตราไก่อันลือชื่อ และวัดพระธาตุลำปางหลวง วัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปาง สร้างขึ้นโดยจำลองคติไตรภูมิจักรวาลที่มีองค์พระธาตุเป็นตัวแทนของเขาพระสุเมรุซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก 

นายธานินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าความหมายของคำว่าไม่หมุนตามกาลเวลาเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างสมัยใหม่กับของดั้งเดิมที่สนับสนุนให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือ ช้าหน่อย อย่าเร่งรีบเกินไปนัก เหตุที่ต้อง ช้าหน่อย เพราะปัจจุบันนี้สิ่งแวดล้อมรอบตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็น ผู้คน, สิ่งปลูกสร้าง, หรือ เทคโนโลยี ล้วนมีพัฒนาการเคลื่อนที่ไปข้างหน้ารวดเร็วมาก และเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องวิ่งตามให้ทัน โดยที่มีเงื่อนไขของการแข่งขัน ความรวดเร็วและเวลา มาประกอบอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการช้าหน่อย จะได้มีจังหวะก้าวที่สมเหตุสมผล เพราะความช้าในการใช้ชีวิต ไม่เพียงแต่ช่วยชะลอการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น ที่สำคัญบางบริบท ในความช้า ยังช่วยรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชนชาติ สร้างการเรียนรู้ กระจายรายได้ ช่วยพัฒนาให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมเดียวกัน ทำให้มีการใช้ชีวิตกับการพักผ่อนมากขึ้นสุดท้าย ก็จะนำมาซึ่งชีวิตที่มีความสุข ดังนั้น องค์ประกอบของคำว่า  ไม่หมุนไปตามกาลเวลา จึงมีมิติที่สำคัญ คือ  SlowTravel  คือ การเดินทางท่องเที่ยวแบบพินิจพิเคราะห์ ใส่ใจและพร้อมเรียนรู้ความเป็นมาของสถานที่ วัฒนธรรมชุมชน เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ตลอดเส้นทาง  SlowDesign   คือ ลดความเป็นวัตถุนิยม หรือ การแต่งเติมที่มากเกินไป มีการใช้วิจารณญาณมากขึ้นในการอยู่อาศัย และการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนให้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งลำปาง ขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีแหล่งอารยธรรมล้านนาไทยที่ยาวนานและที่น่าสนใจ มีความงดงามของขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ   SlowLiving คือการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ใส่ใจรายละเอียด รอบตัว สร้างสมดุลทั้งใจและกาย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีและสังคมที่สงบสุข โดยวิถีชีวิตของคนลำปาง จะเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ ทำให้ลาปางเป็นสังคมที่สงบสุข  Slow Food -ทุกหัวมุมถนนของลำปาง จะมีอาหารอร่อยๆ ที่ปรุงด้วยวัตถุดิบตามฤดูกาล ให้เลือกทานมากมาย เพื่อการสุขภาพที่ดีของผู้คน  และ SlowWear  ลำปางมีการรณรงค์ให้ประชาชนสวมใส่ผ้าพื้นเมืองที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เพื่อจะช่วยกระจายรายได้สู่ชุมชน และยังเป็นการรักษาอัตลักษณ์ของเมืองอีกทางหนึ่ง
 
ด้านนายวิสูตร บัวชุม ผู้อานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สานักงานเชียงใหม่  กล่าวว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้วางนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย ในปี 2558 ประกอบด้วย  โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองทางเลือก   โครงการ Dream Destinations 2015 กาลครั้งนั้น...ความฝันผลิบาน ส่งเสริมให้คนไทยออกไปท่องเที่ยวเส้นทางท่องเที่ยวสายดอกไม้ตลอดทั้งปี และ โครงการวันธรรมดาน่าเที่ยว คาดว่าจะกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยจานวน 148 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้น 9.5% จากปี 2557 และจะมีรายได้หมุนเวียนในประเทศ 800,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2557 

สาหรับโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองทางเลือก จะแนะนา 10 แหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่น่าสนใจ ภายใต้แนวคิดเมืองต้องห้าม...พลาดในส่วนของภาคเหนือ คือจังหวัดลำปาง มีสโลแกนว่าเมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา ซึ่งสอดคล้องกับโครงการลำปางแบรนด์พอดี ส่วนโครงการ Dream Destinations 2015 กาลครั้งนั้น...ความฝันผลิบาน ในส่วนของจังหวัดลำปางจะตรงกับช่วงเดือนกุมภาพันธ์ คือดอกเสี้ยวบานที่ป่าเหมี้ยง อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางที่ชัดเจนมากขึ้นถือว่าโครงการลำปางแบรนด์ สอดคล้องกับแผนงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองทางเลือกของ ททท. คือเมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา ทั้งนี้ ลำปางถือเป็นเมืองที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวหลากหลายเป็นเมืองต้นแบบ แห่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ นักท่องเที่ยวส่วนมาก เมื่อนึกถึงลำปางจะคิดถึงรถม้า ถือเป็นภาพวันวานที่ยังมีชีวิต  นอกจากนี้ลำปางยังมีแหล่งท่องเที่ยวและประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่นประเพณีแห่สลุงหลวง งานล่องสะเปาจาวละกอน ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวของภาคเหนือที่มีประเพณีลอยประทีปทางน้ำ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญูกตเวที บูชารอยพระพุทธบาทแห่งสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกด้วย ทั้งนี้ ยังมีกิจกรรมที่ห้ามพลาด..ในการมาเยือนเขลางค์นครแห่งนี้อีก เช่น กาดกองต้า วัดปงสนุกอาหารพื้นเมืองเด่น บ้านโบราณ 10 แห่ง ตำนานก๋าไก่ เส้นทางจักรยานนั่งรถม้าชมเมือง เรียนรู้วิถีชุมชน วิถีช้าง วิถีป่า วิถีธรรมชาติกิจกรรมการประกวดสะเปาลอยน้ำ และประกวดธิดาสะเภาแก้ว สะเภาคำ เป็นต้น เพียงแต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์เชื่อมโยง
 
นายอธิชัย ต้นกันยา รักษาการประชาสัมพันธ์จังหวัดลำปาง กล่าวถึงกิจกรรมต่างๆของโครงการฯว่า  กิจกรรมเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันที่ 8 พ.ย. 57 เวลา 17.30  . บริเวณข่วงนครห้าแยกหอนาฬิกา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดลาปาง เป็นประธานเปิดงาน ทั้งนี้ กิจกรรมในงานจะประกอบไปด้วย นิทรรศการและการออกร้านภายใต้โครงการ ประกาศผลและมอบรางวัลการประกวดภาพยนตร์สั้นลาปาง นครแห่งความสุข ชมภาพยนตร์สั้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ชมการแสดง Mini แสง สี เสียง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมของโครงการที่เกี่ยวเนื่องกันได้แก่ การจัด FAM Trip โดยการนำผู้ประกอบการนำเที่ยวในประเทศ (Tour Agents) จากกรุงเทพฯ และสื่อมวลชนส่วนกลาง มาท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 6 - 9 พ.ย. 57 และมาร่วมในพิธีเปิดตัวโครงการแบรนด์ด้วย นอกจากนี้ยังจะนาคณะ FAM Trip ดังกล่าวนี้ พบผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวของจังหวัดลำปาง ในกิจกรรม Table Top Sale ณ โรงแรมลาปางเวียงทอง เพื่อให้เกิดการเจรจาแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการด้านท่องเที่ยวรวมไปถึงกิจกรรมในช่วงเช้าของวันที่ 8 พ.ย.57 เวลา 09.00 – 12.00 . จะมีกิจกรรมการอบรมผู้ประกอบการ และบุคลากรด้านท่องเที่ยวในการเป็นเจ้าบ้านที่ดีเพื่อเตรียมพร้อมลำปาง รองรับนักท่องเที่ยว AEC”



(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 1002 ประจำวันที่ 31  ตุลาคม - 6 พฤศจิกายน  2557)

Share:

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์