วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

‘หลุมดำ’ การศึกษาไทย

จำนวนผู้เข้าชม Free track counters

สอบได้เป็นเรื่องตลก สอบตกเป็นเรื่องธรรมชาติ  คำพูดติดตลกกันเมื่อ 20-30 ปีก่อน มาตอนนี้คง ขำไม่ออก เมื่อผลการสอบ O-NET ฟ้องคุณภาพการศึกษาไทยว่าต่ำกว่ามาตรฐาน ย้อนหลังไปดูคะแนนสอบยิ่งปวดใจเพราะ 5 ปีที่ผ่านมาเด็ก ม.6 สอบวิชาสามัญตกทุกวิชายกเว้นภาษาไทยที่ผ่านครึ่งมาเพียงน้อยนิด
           
ย้อนรอยวิเคราะห์ผลสอบวิชาสามัญ 7 วิชา ในช่วงเวลา 5ปี ย้อนหลังของนักเรียนชั้น ม. 6 ที่เดินหน้าสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา จัดการสอบโดย สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ. โดยข้อมูลคะแนนสอบย้อนหลัง 5 ปี มีดังนั้น
           
ปี 2555 (ผลสอบของปีการศึกษา 2554)  วิชาสามัญ วิชา มีคะแนนเฉลี่ยดังนี้  สูงสุดคือ ภาษาไทย 54.61 คะแนน สังคม 32.97 คะแนน  ชีววิทยา 32.75  คะแนน  ภาษาอังกฤษ  28.43 คะแนน  เคมี 25.75 คะแนน  ฟิสิกส์ 23.54 คะแนน และต่ำสุดคือ วิชาคณิตศาสตร์ 19.92คะแนน 
           
ปี 2556 (ผลสอบของปีการศึกษา 2555) คะแนนสอบ วิชาสามัญเฉลี่ยใกล้เคียงกับปี2555 โดยวิชาภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ 50.43 คะแนน รองลงมาคือ ชีววิทยา 30.40 คะแนน ภาษาอังกฤษ  30.01 คะแนน  ฟิสิกส์ 29.84 คะแนน  สังคม 29.18 คะแนน  เคมี 25.38 คะแนน และต่ำสุดยังคงเป็นวิชาคณิตศาสตร์เช่นเคย 20.95 คะแนน
           
ปี 2557 (ผลสอบของปีการศึกษา 2556) คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ภาษาไทย 54.35 คะแนน สังคม 39.42 คะแนน ภาษาอังกฤษ  31.05 คะแนน  ชีววิทยา 28.56 คะแนน  ฟิสิกส์ 25.29 คะแนน  เคมี  27.66 คะแนน ต่ำสุดก็ยังคงเป็นวิชาคณิตศาสตร์ 25.39 คะแนน
           
ปี 2558 (ประจำปีการศึกษา 2557)  สูงสุด ภาษาไทย 58.66 คะแนน  สังคมศึกษา 35.99  คะแนน  เคมี 31.16 คะแนน  ภาษาอังกฤษ 29.33 คะแนน  ชีววิทยา  29.05 คะแนน  ฟิสิกส์ 26.73 คะแนน  และต่ำสุดยังคงเป็นวิชาคณิตศาสตร์  20.35 คะแนน 
           
และเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา สทศ. ได้ประกาศผลสอบ O-NET อย่างเป็นทางการแล้ว พบว่าผลสอบ 5 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่ละวิชาคะแนนเต็ม 100 คะแนน ในภาพรวมทั้งประเทศมีดังนี้
           
ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 422,625 คน สูงสุด 96.50 คะแนน ต่ำสุด 0.50 คะแนน เฉลี่ย 49.36 คะแนน
           
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ผู้เข้าสอบ 423,519 คน สูงสุด 81.00 คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน เฉลี่ย 39.70 คะแนน
           
ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 423,417 คน สูงสุด 99.00 คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน เฉลี่ย 24.98 คะแนน

คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 423,654 คน สูงสุด 100.00 คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน เฉลี่ย 26.59 คะแนน            

วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 422,718 คน สูงสุด 90.00 คะแนน ต่ำสุด 0.00 คะแนน เฉลี่ย 33.40 คะแนน
           
ซึ่งคะแนนเฉลี่ยทั้ง 5 วิชาหลัก พบว่าไม่ถึงครึ่งแม้แต่วิชาเดียว !!
           
หากจำแนกตามภูมิภาค ได้แก่ กทม. ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้
           
วิชาภาษาไทย กทม.เฉลี่ย 56.42 ภาคเหนือเฉลี่ย 50.73 ภาคตะวันออกเฉลี่ย 50.55 ภาคกลางเฉลี่ย 50.10 ภาคตะวันตกเฉลี่ย 49.75 ภาคใต้เฉลี่ย 47.54 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ย 46.37
           
วิชาสังคมฯ กทม.เฉลี่ย 42.23 ภาคเหนือเฉลี่ย 40.63 ภาคตะวันออกเฉลี่ย 40.12 ภาคกลางเฉลี่ย 39.83 ภาคตะวันตกเฉลี่ย 39.66 ภาคใต้เฉลี่ย 38.94 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ย 38.64
           
วิชาภาษาอังกฤษ กทม.เฉลี่ย 34.42 ภาคเหนือเฉลี่ย 25.61 ภาคตะวันออกเฉลี่ย 25.47 ภาคกลางเฉลี่ย 25.15 ภาคตะวันตกเฉลี่ย 23.68 ภาคใต้เฉลี่ย 23.44 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ย 21.94
           
วิชาคณิตศาสตร์ กทม. เฉลี่ย 33.66 ภาคเหนือเฉลี่ย 27.70 ภาคตะวันออกเฉลี่ย 27.35 ภาคกลางเฉลี่ย 27.04 ภาคตะวันตกเฉลี่ย 26.30 ภาคใต้เฉลี่ย 25.54 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ย 23.69
           
วิชาวิทยาศาสตร์ กทม.เฉลี่ย 36.08 ภาคเหนือเฉลี่ย 34.48 ภาคตะวันออกเฉลี่ย 33.75 ภาคกลางเฉลี่ย 33.52 ภาคตะวันตกเฉลี่ย 33.26 ภาคใต้เฉลี่ย 32.70 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ย 32.27
           
แปลง่ายๆก็คือ ว่าที่บัณฑิตที่เดินหน้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยนั้น สอบตก” เกือบทุกวิชา ผ่านแบบปริ่มน้ำแค่วิชาภาษาไทย
           
นั่นหมายความว่า ตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยไม่ได้มีการพัฒนาเลย
           
ผลการสอบที่มาจากคะแนนเฉลี่ยของเด็ก ม.6 หลักแสนคน ย่อมเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนว่า OUTPUT ของ ระบบการศึกษาไทยอยู่ในขั้นโคม่า”  เพราะผลการสอบ O-NET ทั้ง 5 รอบ สะท้อนให้เห็นชัดว่ามาตรฐานการศึกษาไทยไม่มีคุณภาพมากพอที่จะจัดให้ทุกโรงเรียนมีคุณภาพการสอนให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันได้ทั้งที่เด็กนักเรียนเรียนกันจนหัวฟู แต่ผลสัมฤทธิ์กลับไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น 
           
กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของการปฏิรูปการศึกษา ถมทับโจทย์ใหญ่อีกข้อที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ยุบเขตการศึกษา รวบอำนาจมาอยู่ที่ศึกษาธิการจังหวัด

การเรียนก็ถดถอย นโยบายวิธีจัดการบริหารการศึกษาก็ถอยหลังลงคลอง

เมื่อใดเอาการศึกษาออกจากระบบราชการได้ อาจจะเริ่มต้นลืมตาอ้าปากได้สักที

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1072 วันที่ 25 - 31 มีนาคม 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์