วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

สางเส้นใยใบสับปะรด คิดใหม่ขยายงานสิ่งทอ หนุนชาวบ้านเพิ่มมูลค่า

จำนวนผู้เข้าชม Hit Web Stats

วันที่ 26 เมษายน 2559 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง ร่วมกับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดแสดงนิทรรศการ “ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือจากเส้นใยสับปะรด ซึ่งเป็นผลผลิตสำคัญจากการวิจัยในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของจังหวัดลำปาง” เพื่อเผยแพร่ความสำเร็จจากผลการดำเนินงานตามโครงการ "พัฒนาคุณภาพยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของจังหวัดลำปาง ด้วยนวัตกรรมเส้นใยสับปะรด ที่ห้องประชุมกาสะลอง โรงแรมเวียงลคอรอ.เมือง จ.ลำปาง โดยมีนายสมศักดิ์ หวลกสิน อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง พร้อมด้วย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ

ด้าน ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ปลูกสับปะรดจำนวนมาก จึงมีวัตถุดิบอย่างเพียงพอ การคิดค้นพัฒนาประดิษฐ์เครื่องสางเส้นใยจากใบสับปะรด และได้ประสบผลสำเร็จ สามารถสร้างเครื่องสางเส้นใยจากใบสับปะรดได้เอง ด้วยต้นทุนเพียง700,000 บาท ซึ่งสามารถผลิตเส้นใยที่มีความสม่ำเสมอได้มาตรฐานคุณภาพ และสามารถนำเส้นใยสับปะรดที่ได้ไปปั่นทอ เป็นผ้าผืนใยสับปะรด 100% หรือนำไปปั่นร่วมกับใยฝ้ายผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอได้สำเร็จ และขณะนี้ได้มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้ง เสื้อผ้า กระเป๋า กรอบรูป ที่รองจาน สิ่งของชำร่วยและของที่ระลึกอื่นๆ หลายรายการ

ทั้งนี้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอฯ ดังกล่าว เป็นหนึ่งในแผนงานการส่งเสริมและพัฒนาจังหวัดลำปาง ที่ได้เริ่มต้นดำเนินการมาตั้งแต่เดือน มีนาคม 2557 ภายใต้การบูรณาการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง กับ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม มีเป้าหมายในการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอของจังหวัดลำปาง ให้ได้มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี มีอาชีพผ้าทอพื้นเมืองในจังหวัดลำปางกว่า 30 กลุ่ม ร่วมโครงการสร้างผลผลิตนวัตกรรมใหม่ จากการนำวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรมาใช้ให้เกิดมูลค่า ด้วยการผลิตเป็นเส้นใยธรรมชาตินำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือที่มีมูลค่าเพิ่ม สามารถเข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ได้ 

วันที่ 27 เมษายน 2559 กระทวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จับมือหลายหน่วยงาน จัดสัมมนา ยกระดับโอทอปด้วย“คูปองวิทย์เพื่อโอทอป”(STI Coupon for OTOP Upgrade) ณ ห้องจันทร์ผา โรงแรมเวียงลคร ซึ่งเป็นโครงการเป็นการให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ในการพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ และเครื่องจักร  มีเป้าหมายให้การสนับสนุนโอทอปที่มีศักยภาพทั่วประเทศ

โดยนางสาวเสาวณี มุสิแดงผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานเปิดการสัมมนา มีผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน และโอทอป เข้าร่วมรับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ การยกระดับสินค้าโอทอป หรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการพัฒนาศักยภาพการผลิตให้ได้มาตาฐานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชนในการสร้างมูลค่าทางการตลาดให้ขายได้ในระดับสากลเช่น มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. และมาตรฐานพื้นฐาน  เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง น้ำยาที่ใช้ในครัวเรือนต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น อย. หรือ GMP ในงานนี้ มีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการรายเดิม และรายใหม่ที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากนวัตกรรมด้านต่างๆ ในโครงการ คูปองวิทย์เพื่อโอทอป จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในงานนี้ มีการนำตัวอย่างการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาศึกษาวิจัย และทดลองการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆหลายชนิด โดยส่วนหนึ่งมีการนำผลิตภัณฑ์ สับปะรดในน้ำเชื่อม ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการการแปรรูปอาหารจากสัปปะรดอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้ายกับการทำสับปะรดกระป๋อง แต่บรรจุในถุงฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย สามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรม และเพื่อการส่งออกได้สะดวก

นางวรรณดี มหรรณพกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.)วิทยากรผู้บรรยายในหัวข้อ การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์โอทอป และยังเป็นผู้ศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์สับปะรดในน้ำเชื่อม กล่าวว่า ลำปางเป็นจังหวัดที่มีการปลูกสับปะรดมาก การแปรรูปสับปะรดรูปแบบใหม่ๆจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการสร้างอาชีพของชุมชน ซึ่งการศึกษาวิจัยได้ผลสำเร็จในการผลิตสับปะรดในน้ำเชื่อม บรรจุถุงฆ่าเชื้อ พร้อมรับประทาน ผู้บริโภคนำไปอุ่น หรือ แช่เย็น ใส่น้ำแข็งรับประทานได้ทันที

ผู้ประกอบการชุมชนกลุ่มใดรายได้สนใจขอรับการสนับสนุนการพัฒนาจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.)สามารถนำสูตรการผลิตนี้ไปใช้ได้เลย นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมอื่นๆที่ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการในลำปางพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผลิตได้จริง มีคุณภาพมาตรฐาน

ผู้ประกอบการเป้าหมาย คูปองวิทย์เพื่อโอทอป (STI Coupon for OTOP Upgrade) คือ กลุ่ม Start Up หมายถึง ประชาชนทั่วไป วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ที่ยังไม่ขึ้นทะเบียน OTOP ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่

ผู้ประกอบการกลุ่ม Existing หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP
ที่ต้องการน้าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน

ผู้ประกอบการกลุ่ม Growth หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นบริษัท และห้างหุ้นส่วนจ้ากัด ที่มีการ
ผลิตและจ้าหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น/ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการOTOP ที่ต้องการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในการต่อยอด พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถแข่งขันทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” ให้บริการใน 6 เรื่อง คือ พัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์และเครื่องจักร ครอบคลุมกลุ่ม OTOP ทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มเริ่มต้นทำผลิตภัณฑ์(Start Up) กลุ่ม OTOP ปัจจุบัน และกลุ่ม OTOP ที่ต้องการก้าวไปสู่ SMEs โดยเชี่ยวชาญ มาช่วยยกระดับ OTOP พร้อมทั้งจัดช่องทางการจำหน่ายออนไลน์(e-market place) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นให้ด้วย

มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติครบถ้วน จะมีที่ปรึกษาและแผนพัฒนา OTOP ตามความต้องการที่เหมาะสม เพื่อเลือกใช้บริการใน 6 ด้านดังกล่าว ในวงเงิน 300,000 – 500,000บาทต่อปีต่อราย โดยสัดส่วนการสนับสนุนเงินคูปองฯ และเงินลงทุนร่วมของผู้ประกอบการ ตั้งแต่ 3070% ขึ้นกับบริการและจำนวนการจ้างงาน นอกจากนี้ยังมีกลไกของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการต่อยอดสนับสนุนเงินทุนให้เปล่าภายใต้โครงการ ทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรมของ สนช. การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย iTAPของ สวทช. และการสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการ STIM ของ วว. 

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์  ฉบับที่ 1076 วันที่ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2559)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์