ผมไม่มีสถิติสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุโดยรถยนต์ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ถึงจะมีการรวบรวมไว้บ้าง ก็ไม่น่าเชื่อถือพอที่จะเอามาอ้างอิงอะไรได้ เพราะส่วนใหญ่ก็คงจะเป็นอย่างที่พวกเราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ถ้าถึงขั้นมีการเสียชีวิต ก็จะมีอยู่สองสาเหตุเป็นส่วนใหญ่ที่พี่ไทยของเราถนัด นั่นคือ ‘เบรกแตก’ กับ ‘คนขับหลับใน’ การวิเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นแบบเดาสุ่มผสมมั่ว ทำนองเดียวกับไฟฟ้าลัดวงจร ถ้าเป็นการไหม้ของบ้านหรืออาคารครับ
แต่จากสถิติของอุบัติเหตุโดยรถยนต์บนถนนสาธารณะของประเทศในยุโรป
ประมาณเกือบครึ่งหนึ่งเกิดขึ้นในเวลากลางคืน และในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง
มีสาเหตุมาจากการมองเห็นได้ไม่ดีพอเพราะขาดแสงสว่าง
หรือจะพูดในทางกลับกันก็ได้ครับ ว่าถ้าไฟหน้ารถให้แสงได้สว่างพอ ไกลพอ กว้างพอ
ในทิศทางที่ผู้ขับต้องการเห็นสิ่งกีดขวาง
จำนวนอุบัติเหตุจากสาเหตุที่ว่านี้ก็จะลดลงได้อย่างมาก
การให้แสงส่องสว่างจากโคมไฟหน้ารถ
ไปยังสิ่งที่ผู้ขับต้องการเห็น
หรือควรเห็นเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะความแตกต่างของสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ความเร็วที่เราเลือกใช้ มีตั้งแต่ระดับ
คลาน ไปจนถึงกว่า 100 กม. (ที่จริงเกินกว่านี้ก็มี แต่ผมไม่เอ่ยถึง
เพราะจะเป็นการชี้นำให้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร) เมื่อขับในเมือง
เราต้องการลำแสงที่สั้นแต่แผ่กว้าง ตอนเลี้ยวบริเวณทางแยก
เราต้องการไฟหน้าที่ส่องแสงนำไปในทิศที่เราต้องการจะเลี้ยว
ตั้งแต่ตอนเริ่มหมุนพวงมาลัยเพื่อเลี้ยวเพราะถ้ารอจนตัวรถเลี้ยวแล้วจึงเห็นสิ่งกีดขวาง
ก็อาจจะไม่เหลือเวลาเพียงพอ สำหรับการตัดสินใจเบรกหรือหลบหลีก ถ้าขับในทางโค้ง
เราต้องการไฟหน้าที่ส่องแสงไปยังถนนด้านหน้า
เพราะการส่องแสงไปในแนวเดียวกับแกนตามยาวของตัวรถนั้นไม่เพียงพอ
ยิ่งขับเร็วขึ้นเท่าใด ไฟหน้าก็ต้องส่องแสงเบนไปหาถนนส่วนโค้งด้านหน้าได้ตามส่วนที่เหมาะสมด้วย
ความสว่าง หรือความ แรง
ของหลอดไฟเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง หรือจะบอกว่าสำคัญที่สุดก็คงไม่ผิดครับ
ยกตัวอย่างง่ายๆ การเพิ่มพื้นที่ที่ถูกส่องสว่าง เช่น
ให้ส่องได้ไกลขึ้นสำหรับไฟสูง หรือให้ส่องสว่างได้เป็นมุมกว้างขึ้น
โดยไม่ให้ความสว่างลดลง แน่นอนว่าเราต้องเพิ่มกำลังของหลอดไฟขึ้นด้วย
หลอดไฟฮาโลเจน ที่ถือกันว่าดีที่สุดจนกระทั่งเกือบสิบปีที่ผ่านมา
และพวกเราเริ่มจะคุ้นเคยกันในตอนนี้
เพราะแพร่หลายไปถึงระดับล่างของรถยนต์ทุกประเภท เริ่มกลายเป็นของธรรมดาไปแล้ว
เพราะถูกแทนที่ด้วยโคมไฟหน้าแบบซีนอน ที่ให้ความสว่างเกินสองเท่าของหลอดไฟฮาโลเจนในระดับเดียวกัน
การจะให้โคมไฟหน้าของรถ
ปรับลำแสงให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ต้องอาศัยสิ่งสำคัญ 2 อย่างด้วยกัน
ก่อนอื่นต้องมีโคมไฟที่มีระบบปรับได้ทั้งขนาดและทิศทางของลำแสง แต่จะปรับให้เป็นอย่างไร
จึงจะเหมาะสมต่อการมองของผู้ขับ และต่อความปลอดภัยของทั้งผู้ขับและผู้ร่วมใช้ถนน
งานนี้ต้องมีผู้ตัดสินใจและสั่งการครับ ซึ่งก็คือบรรดาเซนเซอร์ทั้งหลาย
ที่วัดและส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ของระบบนี้ และต้องใช้ข้อมูลค่อนข้างมาก เช่น
ความเร็วของรถ ซึ่งไม่ต้องมีเซนเซอร์พิเศษ เพราะใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์วัดความเร็วของระบบอื่น
มุมเลี้ยวของล้อ ซึ่งไม่จำเป็นต้องวัดที่ช่วงล่างโดยตรง
แต่ใช้เซนเซอร์วัดมุมของแกนพวงมาลัยแทน ระยะยุบตัวของล้อหน้าและล้อหลัง
ใช้เซนเซอร์วัดระยะยุบตัวของปีกนกเปรียบเทียบกับตัวถังรถ
เพื่อนำมาคำนวณแล้วส่งสัญญาณไปปรับมุมก้ม-เงย ของโคมไฟหน้า
เพื่อป้องกันลำแสงส่องเข้าตาผู้ขับรถที่แล่นสวนทางมา
ส่วนไฟที่ช่วยให้มองเห็นขณะเลี้ยวทางแยก
ไม่ต้องใช้ระบบควบคุมให้ยุ่งยาก ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟส่องสว่างของรถ
มีความเห็นตรงกันว่า ใช้ไฟตัดหมอกธรรมดานี่แหละเปลี่ยนมุมให้หันไปส่องด้านข้าง ก็จะได้
ไฟเลี้ยวทางแยก ที่ใช้งานได้ดีเลย สิ่งที่ยากขึ้นมาอีกระดับหนึ่งคือ
การปรับไฟส่องถนนที่ให้ระยะส่องสว่างคงที่ ไม่ว่าจะเป็นตอนขึ้นหรือลงเนิน
รวมทั้งตอนขึ้นหรือลงสะพานด้วย ลองนึกถึงภาพว่าเราขับรถมาถึงเชิงเนิน
หรือเชิงสะพาน ลำแสงของโคมไฟหน้าแบบที่ปรับไม่ได้
จะส่องสว่างผิวถนนหน้ารถเราได้สั้นลง
เราไม่สามารถเห็นผิวถนนส่วนที่เชิดขึ้นสูงและอยู่ไกลออกไป
ถ้าต้องการให้เห็นผิวถนนได้ไกลเท่า
หรือเกือบเท่าขณะขับอยู่บนทางราบเราจะต้องให้โคมไฟปล่อยแสงเชิดสูงขึ้นกว่าปกติ
หรือตอนที่รถอยู่เกือบถึงยอดเนิน หรือยอดสะพาน หรืออาจอยู่บนยอดพอดี
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1091 วันที่ 12 - 18 สิงหาคม 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น