ลำปางสนธิกำลังจากหลายหน่วยงาน เข้าพื้นที่ใจกลางป่าสงวนแห่งชาติถ้ำผาไท ทวงคืนผืนป่าจากชาวเขาที่เข้าไปครอบครองกว่า 900 ไร่ เบื้องต้นทำความเข้าใจกับชาวเขาจนสำเร็จและยอมคืนพื้นที่แล้ว ส่วนพื้นที่ไหนยังไม่ยินยอมก็ตรวจยึดดำเนินคดีทันที พร้อมมีแผนรองรับอพยพชาวเขาทั้งหมดลงมาจากป่าต้นน้ำมาอยู่พื้นที่ราบลุ่มแล้ว หลังป่าต้นน้ำแห่งนี้ถูกแผ้วถางอย่างหนัก
เมื่อวันที่
21 ก.ย. 59 ที่บริเวณหน้ากองร้อยฝึกรอบพิเศษที่ 3 ค่ายประตูผา อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
นายพีระเมศร์ ตื้อตันสกุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท พร้อมเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่สายตรวจปราบปรามพิเศษ สำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 13
เจ้าหน้าที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 ลำปาง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่
ทหารจากค่ายฝึกรบพิเศษที่ 3 ค่ายประตูผา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปทส.สายที่ 1
ลำปาง ตำรวจ ตชด.33 เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ศปทส.ภ.5 สายที่ 1 ลำปาง ตำรวจ
สภ.งาว พร้อมร้อยเวร (สอบสวน)สภ.งาว จำนวนกว่า 50 นาย ได้เตรียมการเข้าไปทำงานปฏิบัติหน้าที่ขอคืนผืนป่าจากกลุ่มชาวเขานอกพื้นที่
ที่เข้าไปจับจองพื้นที่กลางหุบเขาลึก ในเขตอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ก่อนที่จะปล่อยกำลังทั้งหมดเดินทางไปยังจุดหมาย
บริเวณเขตรอยต่อพื้นที่ 3 อำเภอ
ที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ต๋า-ป่าแม่มาย
ซึ่งเป็นป่าเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ ต.บ้านอ้อน อ.งาว ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ และ ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม
จ.ลำปาง
โดยการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ครั้งนี้
ต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อและต้องใช้โซ่พันล้อรถถึงจะไปยังจุดหมายที่อยู่ห่างแค่
20 กว่ากิโลเมตรแต่การเดินทางใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง ไปถึงชุมชนบ้านแม่หล้า
ที่มีประชากรเป็นชาวเขาเผ่าอิ่วเมี้ยน(เย้า)และเผ่ามูเซอ(ลาหู่)
ซึ่งปลูกบ้านเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านอ้อน อ.งาว ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ 16 หลังคาเรือนประชากรกว่า
100 คน กลุ่มคนเหล่านี้ได้สร้างปัญหาเรื่องบุกรุกแผ้วถาง ตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่ข้าวโพดเลื่อนลอยรุกป่าไปเรื่อยๆ ซึ่งป่าเหล่านี้เป็นป่าต้นน้ำและเป็นจุดไข่แดงของป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ หากไม่รีบดำเนินการพื้นที่ป่าและแม่น้ำลำห้วยจะแห้งหมดไป
ทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกชาวบ้านทั้งหมดมาพบปะพูดคุยทำความเข้าใจ
โดยมี พ.อ.พงษ์เพชร เกษสุภะ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์ป้องปราบปราม 4
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ของกรมอุทยานแห่งชาติฯบินสำรวจเหนือพื้นที่หมู่บ้านโดยรอบ
เพื่อเก็บข้อมูล จากนั้นได้เข้ามาพบพูดคุยชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวเขาที่อพยพมาจากพื้นที่
จ.เชียงราย จ.กำแพงเพชร โดยได้ทำความเข้าใจว่า
กลุ่มผู้อาศัยอยู่มาก่อนปี 2545 ให้อยู่อาศัยทำกินอยู่ที่เดิม มีพื้นที่จำนวน 500
กว่าไร่ โดยได้กันออกจากอุทยานฯ โดยไม่ให้รุกป่าเพิ่มขึ้นอีก
ส่วนผู้ที่มาอยู่อาศัยหลังปี 2545 ที่รุกป่ามากกว่า 900 ไร่ ให้ใช้กฎหมายดำเนินการ
โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือในการขอคืนผืนป่าครั้งนี้อย่างดี
ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทันที ทำให้สามารถตรวจยึดไดทั้งหมด 19 แปลง พื้นที่กว่า
300 ไร่ และจะเร่งดำเนินการตามกฎหมายให้ครอบคลุมทั้งหมด
พร้อมกันนี้ได้มีแผนเตรียมการอพยพชาวเขาทั้งหมดลงจากป่าต้นน้ำมาอาศัยในพื้นที่ราบลุ่มแทน
เพื่อป้องกันการเข้ามาของกลุ่มคนนอกพื้นที่อีก
ทั้งนี้
จากการตรวจสอบพื้นที่ป่าดังกล่าว พบว่าพื้นที่ป่าที่มีการบุกรุก พื้นที่จำนวน 1,457
ไร่ 17 ตารางวา เป็นพื้นที่กันออกบริเวณที่มีการทำกินมาก่อนปี
พ.ศ.2545 จำนวน 528 ไร่ 3 งาน 02 ตารางวาและพื้นที่ที่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าใหม่
จำนวน 928 ไร่ 1 งาน 15 ตารางวา
มีชาวบ้านกลุ่มบ้านแม่หล้า
มีจำนวน 34 ครัวเรือน ประชากร 131 คน อาศัยอยู่ในเขตบ้านแม่ส้าน
ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จว.ลำปาง จำนวน 16 ครัวเรือน อาศัยอยู่ในเขตบ้านนางาม ต.เมืองมาย อ.แจ้ห่ม
จว.ลำปาง จำนวน 16 ครัวเรือน
อาศัยอยู่ในเขต ต.บ้านอ้อน อ.งาว จว.ลำปาง จำนวน 2 ครัวเรือน
ประชากรเป็นชาวม้ง
มูเซอ อพยพมาจาก อ.คลองลาน จว.กำแพงเพชร ยังไม่จัดตั้งเป็นหมู่บ้านมีทั้งอาศัยอยู่ เดิมและอพยพมาใหม่ ไม่มีผู้นำชุมชน พื้นที่ที่มีการอยู่อาศัยและการทำกินทั้งหมด
จำนวน 130 แปลง แยกเป็น เป็นของราษฎร์ที่อาศัยอยู่เดิม จำนวน
87 แปลง เป็นของผู้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาใหม่
จำนวน 43 แปลง
ดังนั้นจึงได้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้บุกรุกใหม่
หลังปี พ.ศ. 2545 จำนวน 928 ไร่ 1 งาน 15
ตารางวา ส่วนผู้ที่ทำกินและอยู่อาศัยมาก่อนปี
พ.ศ. 2545 ให้ทำกินและอยู่อาศัยต่อไป ตาม มติ ค.ร.ม. วันที่ 30 มิ.ย. 2541
ตามพื้นที่ที่กันออกให้ จำนวน 528 ไร่ 3 งาน 02 ตารางวา
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1097 วันที่ 23 - 29 กันยายน 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น