
เรื่องราวของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในความรับรู้ของคนทั่วไป คือหนังสือพิมพ์ที่เน้นการเสนอข่าวประเภทเร้าอารมณ์ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบอกใบ้ให้หวย ข่าวอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์
รวมทั้งข่าวการล่วงละเมิดทางเพศซึ่งมีวิธีการพาดหัวข่าว
การเขียนข่าว ไม่แตกต่างไปจากหนังสือปลุกใจเสือป่า หรือหนังสือพิมพ์บันเทิงทั่วไป
เนื่องเพราะแนวทาง
ประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมาช้านาน
และด้วยโครงสร้างการบริหารที่ส่วนใหญ่อยู่ในระบบครอบครัว
บางแห่งเป็นธุรกิจต่อยอดจากโรงพิมพ์ บางแห่งเป็นฐานอำนาจของนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
ภาพของ “ความเป็นมืออาชีพ” ที่มีหลักคิดในการบริหาร
มีเป้าหมายในเชิงอุดมการณ์ชัดเจนจึงดูเหมือนยังห่างไกล
มายาคติเหล่านี้
จึงมักปรากฏในงานวิจัยหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเกือบทุกเรื่อง
ด้วยความเชื่อพื้นฐานเช่นนั้น
แต่สำหรับผม
ภาพเหล่านี้ ทัศนคติเหล่านี้ เริ่มมีคำถาม
อย่างน้อยก็ในช่วงที่ผมอยู่ในตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ องค์กรสื่อที่มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับ
ดูแลเรื่องจริยธรรม ซึ่งมีหนังสือพิมพ์ต่างจังหวัดเป็นองค์กรสมาชิกกว่า 50 ฉบับ
รวมทั้ง “ลานนาโพสต์” หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
ในจังหวัดลำปางมีหนังสือพิมพ์ทั้งหมดราว
8 ชื่อฉบับ ใกล้เคียงกับหนังสือพิมพ์รายวันในส่วนกลาง
ในจำนวนนี้มีหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์และออกจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอราว 4 ชื่อฉบับ 1 ใน 4 นั้นคือลานนาโพสต์
ที่วางแผงทุกเช้าวันศุกร์ ต่อเนื่องมาไม่ขาดสายกว่า 20 ปีแล้ว
ผมรู้จักลานนาโพสต์ในหลายมิติ
นับจากเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้บรรณาธิการ
ลานนาโพสต์แบบไม่เป็นทางการในคดีหมิ่นประมาท นับจากการเป็นคณบดีคณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยเนชั่น ที่มีที่ตั้งอยู่ที่ลำปาง
ซึ่งจะต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับฝ่ายวิชาชีพ และนับจากบทบาทของประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
ที่ต้องไปเยี่ยมเยือน พบปะสนทนากับผู้บริหารหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอยู่เป็นประจำ
ด้วยความเกี่ยวข้อง
ผูกพันในหลายมิติเช่นนี้ ผมได้กลายเป็นที่ปรึกษาของลานนาโพสต์
แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว และรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของลานนาโพสต์
และคนลานนาโพสต์ก็อาจรู้สึกว่าผมมีหน้าที่ต้องตอบทุกคำถามเกี่ยวกับการทำงานในกองบรรณาธิการไปอย่างปฏิเสธไม่ได้
เมื่อผมพ้นจากหน้าที่ในองค์กรสื่อใหญ่ที่ทำมายาวนานเกือบ
30 ปี บวกกับประสบการณ์การทำงานหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านั้นรวมแล้วราว 40 ปี
ในขณะที่เลือดในกายของความเป็นสื่อยังคุกรุ่นอยู่
ลานนาโพสต์จึงเป็น “ทางเลือก”
ที่น่ายินดีสำหรับช่วงบั้นปลายชีวิตของความเป็นสื่อ
‘รุจน์ โกมลบุตร’ แห่งคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนในบทคัดย่อ ในงานวิจัย การบริหารหนังสือพิมพ์
“ลานนาโพสต์”
: ข้อเสนอต่อการปฏิรูปหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ไว้อย่างน่าสนใจ
“ลานนาโพสต์
เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดลำปางที่เน้นการนำเสนอเนื้อหาแนวการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม ไม่เน้นข่าวอาชญากรรม
อุบัติเหตุเหมือนหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังอยู่รอดได้ในเชิงธุรกิจ
อีกทั้งยังเป็นหนังสือพิมพ์ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ดุลพินิจของประชาชน”
งานวิจัยชิ้นนี้
อธิบายในแง่การจัดการตลาดด้วยว่า ลานนาโพสต์
สามารถพัฒนาเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเชิงคุณภาพ เพราะมีนโยบายที่ชัดเจน
มีแนวทางการทำงานที่ให้ความเสมอภาคแก่แหล่งข่าว นำเสนอเนื้อหาด้วยภาษาที่สุภาพ
เข้าเป็นสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้สังคมได้ตรวจสอบจริยธรรม
และพยายามพัฒนาเนื้อหาไปสู่ผู้อ่านในเขตชนบทให้มากขึ้น
ถึงแม้ว่าคนทำสื่อท้องถิ่นหรือสื่อบ้านนอกทั้งระบบ
ต่างก็เผชิญกับความท้าทายครั้งใหม่
ระหว่างการรักษาความเป็นสื่อหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกับการเคลื่อนย้ายไปสู่สื่อวิทยุ
โทรทัศน์ และสื่ออิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อความอยู่รอด
คนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลง
อิทธิพลของหนังสือพิมพ์น้อยลง ขณะที่สื่อสังคมออนไลน์ กำลังจะเป็นสื่อกระแสหลัก
แต่ผมยังมีความเชื่อมั่นในหนังสือพิมพ์บ้านนอก ในแง่บทบาท หน้าที่ และความจำเป็นที่มีต่อโลก
มิใช่ด้วยเหตุผลทางธุรกิจหรือความอยู่รอด เช่น องค์กรสื่อในเมืองใหญ่
ลานนาโพสต์จึงยังเป็นการงาน
ที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของคนหนังสือพิมพ์มิให้เหือดหายไป
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1095 วันที่ 9 - 15 กันยายน 2559)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น