
พื้นบนฟุตบาตถูกผนวกรวมเป็นหน้าร้าน
พื้นที่บนถนนสาธารณะถูกจับจองเป็นพื้นที่ส่วนตัว บางบ้านเขียนถ้อยคำดุดัน
ห้ามจอดรถกีดขวาง แม้รถนั้นจะอยู่บนถนนหลวง
พื้นที่น้ำถูกรุกล้ำเป็นชาน เป็นห้องหับ ทั้งอยู่อาศัย ทั้งทำการค้า การแสดงความเป็นเจ้าของบนพื้นที่สาธารณะเหล่านี้
ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเป็นความผิด แต่ก็เป็นความผิดที่เห็นจำเจ
จนยอมรับกันโดยปริยายว่า ทำได้ไม่ผิด นี่คือนิสัยคนไทย ทำได้คือไทยแท้ ลำปางแท้ๆ
ก็ทำกันเต็มบ้าน เต็มเมือง
เทศบาล
ผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐคนสำคัญที่มีหน้าที่รักษากฎหมาย คือตำรวจ
ต่างคนต่างทำมาหากิน กินตามน้ำ กินตามด่าน กันไป โดยไม่สนใจหน้าที่ ชาวบ้านตาดำๆ
เดินถนนก็ไม่มีกำลังจะไปว่ากล่าวหรือเรียกร้องให้ตำรวจไม่เลือกปฎิบัติ
เพราะในหลายครั้งคนทำมาหากิน หาเช้ากินค่ำ
กลับเป็นกลุ่มคนที่เจ้าหน้าที่รัฐเอาจริง เอาจัง เข้มงวดในการรักษากฎหมาย
ในขณะที่ชาวบ้านระดับอภิสิทธิ์ชน ผู้หลักผู้ใหญ่ ที่คนเคารพยำเกรง
ใช้กฎหมายคนละฉบับ ทำผิดท้าทายกฎหมายอย่างไร ก็สุขสบาย ปลอดภัย
เพราะทำหน้าที่ส่งส่วยสาอากรเสมอต้น เสมอปลาย
ทุกวันนี้ชาวบ้านอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกละเมิดสิทธิ์โดยไม่รู้ตัว
หรือรู้ตัวว่าถูกละเมิดแต่ไม่สามารถทำอะไรได้
ธรรมชาติของน้ำจะไหลที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
นอกเสียจากเราจะบังคับการไหลของน้ำให้ขึ้นสู่ที่สูงด้วยเทคโนโลยี ทางน้ำผ่านไม่ว่าจะเป็นคู คลอง ร่องน้ำ ลำเหมือง
ที่ “เคย” เป็นทางเดินของน้ำในจังหวัดลำปางถูกรุกล้ำบุกยึดครอง
คู
คลอง ร่องระบายน้ำในพื้นที่กลางเมืองลำปางที่อดีตเคยมีหลายสาย ปัจจุบันถูกบุกรุกและแทนที่ด้วยท่อระบายน้ำ
ถมทับด้วยดิน คอนกรีต ใช้ระบบการจัดการน้ำแต่ไม่มีการดูแลบำรุงรักษา
ท่อเหล่านั้นก็อุดตันด้วยขยะ สิ่งปฏิกูลในที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดหากเราเจอปัญหาน้ำท่วมจากการระบายน้ำไม่ทัน
ภาพการรุกล้ำทำลายกำแพงเมืองโบราณอายุพันปีที่ประตูม้า
มีคนจับจองเอาพื้นที่มาใช้ส่วนตัว
แต่ที่น่าแปลกใจคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว มีเพียงคำตอบว่า
ก็ทำอะไรไม่ได้
อยากถามดังๆว่าทำไม่ได้
หรือไม่ ‘กล้า’ทำกันแน่
ย่านรอบโรงเรียน
หน้าโรงพยาบาล แถวตลาดออมสิน พ่อค้าแม่ขายยึดฟุตบาตขายของ เบียดเบียนทางเดินจนคนเดินเท้าต้องใช้ถนน
ฟุตบาธ กลายเป็นที่จอดรถ ริมถนนที่จอดรถได้ก็นำหลักมาขวาง ติดป้ายว่าห้ามจอด ยึดครองหน้าตึกที่เป็นที่สาธารณะเป็นของตัวเองแถมยังทำป้ายปักหน้าร้านว่าที่จอดรถของ....เท่านั้น
แหม๊....สุดยอดจริงๆเลย
สังคมเริ่มไร้ระเบียบ
และที่เลวร้ายความนั้นคือผู้ที่ดูแลระเบียบไม่ใส่ใจ
เราพยายามบริหารจัดการระเบียบน้ำ
จัดระเบียบอาคารบ้านเรือน แต่เราไม่พยายามจัดระเบียบคน ระเบียบสังคมที่กำลังละเมิดสิทธิ์ไม่ที่เราไม่รู้ตัว
จะว่าไป
พฤติกรรมตัวอย่างที่กล่าวถึงนี้มีความผิดอาญา ทั้งจำและปรับ
เช่น
ผู้ที่ทำให้รางระบายน้ำ ร่องน้ำ หรือท่อระบายของโสโครก
อันเป็นสิ่งสาธารณะเกิดขัดข้อง ทำให้เกิดปฏิกูลแก่น้ำในบ่อ
สระหรือที่ขังน้ำอันมีไว้สำปรับประชาชนใช้สอย กีดขวางทางสาธารณะ ขุดหลุมหรือราง
หรือปลูกปัก หรือวางสิ่งเกะกะไว้ในทางสาธารณะ แขวน
ติดตั้งหรือวางของไว้ในลักษณะที่น่าจะตก หรือพัง
มีโทษทางอาญาทั้งจำคุก และปรับ
แต่กลับกลายเป็นว่าตั้งงบประมาณมีแต่โครงการคลีนแม่น้ำ
เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุทั้งนั้น แต่ไม่ไปดูต้นเหตุบ้านเรือนที่ปล่อยน้ำทิ้งลงแม่น้ำ
ทั้งมีมีกฎแต่ไม่ใช้กฎใช้แต่งบประมาณให้หมดไป แต่ปัญหาไม่หมดตาม
ริมถนนหน้าห้างลำปาง
ที่ติดป้ายจราจรชัดเจนว่าห้ามจอด ทั้งฟุตบาธ ทาสี ขาว-แดง
แต่ก็ยังมีรถใหญ่รถเล็กมาจอดเรียงรายกันไปหมด แถมอีกฝั่งถนนมีทั้งป้ายทั้งตัวหนังสือแถมวางกรวยชัดเจนว่าห้ามจอด
แต่พอถึงวันเสาร์-อาทิตย์ ‘กรวยเทวดา’ มีขาเดินได้
กระเถิบตัวไปอยู่ขอบทาง เสกให้ถนนกลายเป็นที่จอดรถ อนึ่งว่า
ตำรวจจะจับออกใบสั่งรถทุกคันได้ก็ทำไป
ครั้นพอตำรวจไปจับไปออกไปสั่งก็เกิดดราม่าว่าริมถนนก็ต้องจอดรถได้ซิ
เมื่อกฎหมายไม่สามารถสร้างระเบียบได้
กฎหมู่ก็ละเลยกีดขวางการจราจรกันต่อไปเพราะคันอื่นจอดได้คันต่อไปก็จอดตาม
เหมือนอย่างตลาดออมสินขายส่งผักช่วงราว
3 ทุ่ม ดูเหมือนจะจอดรถกันอย่างไร้ระเบียบมาขึ้น จากที่เคยซ้อน2ชั้น กลายเป็น 3
ชั้น กีดขวางพื้นผิดจราจรที่เสียพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เหล่าพ่อค้าแม่ค้าไปแล้ว
น่าเศร้า
ที่น่าจะมีคนรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความผิดน้อยกว่าน้อย
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1115 วันที่ 3 - 9 กุมภาพันธ์ 2560 )
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น