
จากนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ตามแนวทางไทยแลน 4.0
ซึ่งใช้เครื่องมือการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล
เข้ามาสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับชุมชน ในช่วงเดือนกันยายน 2560 มีหลายโครงการ ที่สนับสนุนให้มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและต่อยอดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการระดับชุมชนให้มีโอกาสช่องทางตลาดออนไลน์เพิ่มขึ้น
จากนี้ยังมีกิจกรรมการตลาดแบบเผยแพร่ช่องทางไลน์ เป็นกิจกรรมเชื่อมโยงไปสู่การพบลูกค้า
และเผยแพร่ตลาดออนไลน์ไปกับบรรจุภัณฑ์ เช่นโครงการ START UP FAIR ภาคเหนือ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล และหอการค้าแฟร์ ที่
ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่

โดย
มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับผิดชอบดำเนินการคัดเลือกศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการทำการค้าออนไลน์
ในชุมชนและวิทยากร E-Commerce
ชุมชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการ ส่งเสริมกิจกรรม การเปิดร้านค้าออนไลน์
และกิจกรรมขับเคลื่อนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับ ชุมชน
พร้อมทั้งพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
ดิจิทัลสำหรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอด
และผลักดันผู้ประกอบการ ชุมชน ให้มีความรู้ความสามารถ
ในการนำสินค้าชุมชนเข้าสู่ร้านค้าออนไลน์ ทำให้ผู้ซื้อ
จากต่างพื้นที่สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ชุมชน
และนำข้อมูลรายการสินค้าชุมชนเข้าสู่กระบวนการ จับคู่ธุรกิจ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม
สามารถเข้าถึงสินค้าชุมชนและร่วมส่งเสริมสินค้าชุมชนอย่างยั่งยืน
โดยได้ทำการคัดเลือกศูนย์เข้าร่วมการฝึกอบรมในกิจกรรมครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 48
ศูนย์ และวิทยากร E-Commerce ชุมชน จำนวน 100 คน ในส่วนของจังหวัดลำปาง เขจ้าโครงโครงการนี้ 4 ราย คือ ผู้แทนจาก ศูนย์สล่าสตรีบ้านหลุก อ.แม่ทะ จ.ลำปาง เจ้าหน้าที่จาก
ศูนย์บริการ ICT เทศบาลตำบลแม่ทะ และที่ปรึกษาอิสระ อีก 2 คน
เข้ารับการฝึกอบรม เพื่อ เป็นผู้ถ่ายทอดแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการ ยกระดับศูนย์ไอซีทีชุมชน
เป็น ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
ดร.สมิทธิ ดารากร ณ
อยุธยา ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลกล่าวว่า
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนฐานรากซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ที่จะต้องเป็นผู้ได้รับประโยชน์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นจากนโยบายที่สำคัญของประเทศ
โดยการใช้ศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศเป็นกลไกการสร้างประโยชน์และเกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่ประชาชนฐานปิรามิดของประเทศ
จึงกำหนดให้มีการศึกษาและพัฒนา Village E-Commerce
ขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยบทบาท
หน้าที่ของศูนย์ดิจิทัลชุมชนกับการสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะส่งเสริมการค้าขายออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน วิสาหกิจชุมชน
รวมถึงประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างประโยชน์ได้อย่างสร้างสรรค์
การพัฒนาต้นแบบหมู่บ้าน/ชุมชนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Village E-Commerce) ที่สามารถนำไปขยายผลในเครือข่ายศูนย์ดิจิทัลชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ
เพื่อให้ชุมชนฐานรากของไทยเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตนเอง
นำไปสู่การพัฒนาประเทศทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการนี้จะต้อง
เป็นทีมสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสินค้าและการท่องเที่ยวชุมชน ที่มีศักยภาพ
ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆในปีงบประมาณ 2561 ต่อไป
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1147 วันที่ 22 - 28 กันยายน 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น