ชาวบ้านแหงกว่า
200 คนลุยศาลากลางขอพบผู้ว่าฯ หลัง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560
ประกาศใช้ บทเฉพาะกาลระบุผู้ว่าฯมีอำนาจอนุญาตคำขอประทานบัตรได้ หวั่นมีการลักไก่อนุมัติคำขอประทานบัตรของบริษัทเขียวเหลืองที่เหลืออยู่อีก
4 แปลง ด้านวิศวกรเหมืองแร่ ยันเหมืองแร่บ้านแหงเป็นประเภทที่
3 อยู่นอกเหนืออำนาจของผู้ว่าฯ และคำขออีก 4 แปลงยังติดพื้นที่ สปก.
ชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหงรวมตัวกันกว่า
200 คน เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดลำปาง เพื่อขอเข้าพบนายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เพื่อต้องการสอบถามขั้นตอนคำขอใบอนุญาตประทานบัตรให้กับบริษัทเขียวเหลือง
จำกัด หลังจากที่ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560 ประกาศใช้เป็นวันแรกในวันที่ 29 ส.ค.60 ซึ่งมีกำหนดใน พ.ร.บ.แร่
ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการอนุมัติคำขอประทานบัตรด้วย
จากนั้นจึงได้เชิญตัวแทนชาวบ้านเข้าไปพูดคุยในห้องประชุม
โดยมีนายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัด มารับหนังสือแทน
ซึ่งสิ่งที่ชาวบ้านต้องการทราบมีอยู่ 5 เรื่องด้วยกัน คือ 1.คำขอประทานบัตรแปลงที่ 4 ,
5 , 7 และ 8 ของบริษัทเขียวเหลือง จำกัด
ปัจจุบันมีการดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใด 2.คำขออนุญาตประทานบัตรแปลงที่
6 ประทานบัตรที่ 30485/16138 ของบริษัทเขียวเหลือง จำกัด
ปัจจุบันมีการดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใด 3.จากที่มีการขอยกเลิกใบอนุญาตแผ้วถางป่าและคำขอใบอนุญาตหยุดการทำเหมืองของบริษัทเขียวเหลือง
จำกัด ปัจจุบันทางบริษัทฯยังได้รับใบอนุญาตให้แผ้วถางป่าหรือไม่
และมีการยื่นขยายคำขอใบอนุญาตหยุดการทำเหมืองต่อไปหรือไม่ 4.กรมป่าไม้ได้มีการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่า
เพื่อขออนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่หรือไม่อย่างไร และมีการออกใบอนุญาตไปแล้วหรือไม่
หรืออยู่ในขั้นตอนใด 5.บริษัท เขียวเหลือง จำกัด
ได้มีการยื่นขออนุญาตใช้พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)
เพื่อขออนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่หรือไม่อย่างไร
และมีการออกใบอนุญาตไปแล้วหรือไม่อย่างไรหรือกำลังอยู่ในขั้นตอนใด
โดยชาวบ้านกลุ่มรักษ์บ้านแหง
ยังคงยืนยันการคัดค้าน และยืนยันว่า บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ยังไม่ได้ดำเนินการตามมาตรการฯในอีไอเอ
36 ข้อ ก่อนเริ่มดำเนินโครงการให้ครบถ้วน
โดยเฉพาะในหัวข้อที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
โดย บริษัท เขียวเหลือง จำกัด นำบุคคลภายนอกพื้นที่ เข้ามาเป็นกรรมการกองทุนต่างๆ
ซึ่งขัดต่อมาตรการตามอีไอเอเพื่อให้หน่วยงานราชการอนุญาตเข้าไปทำเหมืองได้
นอกจากนั้น
ชาวบ้านยังมีข้อสงสัย พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560 ในมาตรา 28 ซึ่งระบุว่า
ในจังหวัดที่จะมีการออกประทานบัตรสําหรับการทําเหมืองประเภทที่ 1 ให้มีคณะกรรมการแร่จังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ
ผู้อํานวยการสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด
ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณี ผู้แทนกรมศิลปากร
ผู้แทนกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ นายอําเภอและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในท้องที่ที่ขอประทานบัตร
และผู้แทน สภาการเหมืองแร่ เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง
และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจํานวน ไม่เกินแปดคน เป็นกรรมการ
มาตรา
29 ให้คณะกรรมการแร่จังหวัดมีอํานาจหน้าที่ (1)ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาต
การต่ออายุ การโอน การเพิกถอน หรือการกําหนดเงื่อนไขใดๆ เกี่ยวกับประทานบัตรสําหรับการทําเหมองประเภทที่
1 (2)
พิจารณาข้อร้องเรียนหรือผลกระทบจากการทําเหมืองประเภทที่1
ตามมาตรา 69 (3) ให้คําปรึกษา คําแนะนํา และความเห็นแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจัดการแร่
ในจังหวัดนั้น (4)
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่รัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการ
จังหวัดมอบหมาย
น.ส.แววรินทร์
บัวเงิน ตัวแทนกลุ่มรักษ์บ้านแหง กล่าวว่า
พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560
ประกาศใช้แล้ว มีบทเฉพาะกาลระบุให้มีคณะกรรมการแร่ระดับจังหวัด
มีบทบาทหน้าที่ในการให้ประทานบัตรแก่ผู้ขอประทานบัตร
และมีการแยกย่อยพื้นที่แร่ออกมาอีกกว่า 100 ไร่
สามารถให้นายก อบต.อนุญาตได้ และ 300 ไร่
อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการแร่ระดับจังหวัด จึงข้องใจว่าเรื่องเดิมที่ได้ขอกันไป
จะอยู่ในกฎหมายแร่ฉบับเก่าหรือในบทเฉพาะกาลของกฎหมายฉบับใหม่หรือไม่
จึงอยากทราบว่าจะมีการปรับเปลี่ยนตามกฎหมายหรือไม่ ในระหว่าง 180 วันที่ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการแร่
และรอกฎหมายลูกของ กพร.
หากจะนำเรื่องนี้เข้ามาพิจารณาขอให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
เพราะเรื่องนี้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน
นายยงยุทธ
นพนิช วิศวกรเหมืองแร่ชำนาญการ ตัวแทนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
กล่าวว่า พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2560
ได้แบ่งประทานบัตรออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ผู้ว่าฯมีอำนาจอนุญาตการออกประทานบัตรโดยผ่านคณะกรรมการแร่จังหวัด
เหมืองแร่ประเภทที่ 1 มีอยู่ 7 ชนิดแร่
เช่น ดินขาว ดินซีเมนต์ ดินทนไฟ ดินมาน เป็นต้น เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ ถ้าเกิน 100 ไร่จะเข้าไปอยู่ประเภทที่ 2 หรือ 3 เช่นแร่ถ่านหิน ซึ่งเป็นกลุ่มแร่ที่มีผลกระทบ เช่นการก่อสร้างต้องมีการระเบิดเหมือง
เป็นต้น ซึ่งแร่ถ่านหินจัดอยู่ประทานบัตรประเภทที่ 3 ผู้ว่าฯไม่มีอำนาจในการอนุญาต เพราะขั้นตอนต้องมีการทำประชาคม
มีการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่ในวิธีการปฏิบัติยังตอบได้ไม่ชัดเจน เนื่องจาก
พ.ร.บ.แร่ เพิ่งมีผลบังคับใช้ ต้องรอดูกฎหมายที่ตามมา คาดว่าคำขอใหม่จะต้องดำเนินการใหม่ทั้งหมด
ยังติดพื้นที่ สปก.ไม่มีการดำเนินการใดต่อ
เรื่องยังอยู่ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1144 วันที่ 1 - 7 กันยายน 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น