วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กระทงหลงทาง

จำนวนผู้เข้าชม Counter for tumblr

“จะลอยใจ หรือลอยกระทง อย่าหลงทางนะพี่” วลีลอยๆ ชวนให้คิดถึง วลี เสี่ยวๆ แต่โดน ใจใครหลายคน ในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปี

สีสันของการลอยกระทงเล็ก กระทงใหญ่ เป็นเหมืองดวงไฟที่ล่อแมลงให้ไปเล่นกับแสง ที่จังหวัดลำปางก็มีการประกวดสะเปาลอยน้ำ  เป็นอัตลักษณ์ของประเพณีท้องถิ่น  และเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวได้ 

ไม่ว่าจะ มีนักท่องเที่ยว จากต่างถิ่นมาหรือไม่ ก็ไม่ทีผลกับความอยากจะออกมาลอยกระทงของคนท้องถิ่น แต่งานท่องเที่ยว มาเกี่ยวข้องก็ตอนยุคหลังๆที่เกิดการเชื่อมโยงเรื่องราวของงานลอยกระทงให้ คนภายนอกมาเที่ยวชมประเพณีท้องถิ่น นำรายได้มาจับจ่าย ให้คนท้องถิ่นบ้างก็เท่านั้น

ย้อนกลับไปเมื่อสมัยเด็กๆ(ก็ราวๆ20ปีก่อน) ยังจำได้เมื่อถึงเทศกาลลอยกระทงจะอยากออกไปดูขบวนรถกระทง ที่หลายภาคส่วนร่วมกันจัดขึ้น จะว่าไปแล้วการประกวดกระทงหรือสะเปาก็ถือเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความ สามัคคี ของแต่ละหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ชุมชน เพราะเป็นการเอาความสามารถของคนในองค์กรมาออกกันความคิด ร่วมแรงรวมใจกันตกแต่งรถกระทงออกมาแห่มาโชว์แล้วเอาให้ประชาชนที่มาคอยดูขบวนแห่ได้ชื่นชม

แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า การประกวดขบวนสะเปาทั้งใหญ่และเล็ก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธุรกิจไปเสียแล้ว  เพราะต้องเอางบประมาณไปจ้างออแกไนซ์มาช่วยออกแบบ ตกแต่งรถกระทงและขบวน  ชิงรางวัล ว่ากันว่า ค่าจ้างหลายหมื่น บางขบวนตกแต่งด้วยโฟมแกะสลักเกือบทั้งคัน เหยียบหลักแสนก็มี ภาพบรรยากาศที่เคยเห็นครูศิลป์ออกแบบ นักเรียน นักศึกษาช่วยกันประกอบสะเปาแทบไม่มีให้เห็นกันอีกแล้ว จะเห็นก็แต่ร้านรับจ้างรับงานกันมือขวิด

เพื่อ... รางวัล.. และชื่อเสียง..ขององค์กร

การทำขบวนกระทงลักษณะนี้ อาจเรียกได้ว่ามิใช่เป็นแนวทางการมีส่วนร่วมที่แท้จริง  คนในองค์กร หรือท้องถิ่นนั้น.. จะสำคัญอะไร ในเมื่อ "ใช้เงิน" จ้างคนนอกสร้างเบ็ดเสร็จแล้ว

งบประมาณหลวงที่เคยแจกจ่ายลงไปช่วยชุมชน ทำรถขบวน กลายเป็นงบฯที่ลอยไป แบบ "หลงทาง"

ถ้าจะให้ดี เจ้าภาพงบฯ ควรจะจัดระเบียบนโยบายกันใหม่ ให้ใช้เงินกระจายไปอย่างสร้างสรรค์ เทศกาลลอยกระทง ก็เห็นจะมีส่วนในการการวัดความเข้มแข็ง ของท้องถิ่นนั้น.. อย่างมีนัยสำคัญ ที่ต้องทบทวน

 “จะลอยใจ หรือลอยกระทง อย่าหลงทางนะพี่” วลีลอยๆ ชวนให้คิดถึง วลี เสี่ยวๆ แต่โดน ใจใครหลายคน ในช่วงเทศกาลลอยกระทงของทุกปี

สีสันของการลอยกระทงเล็ก กระทงใหญ่ เป็นเหมืองดวงไฟที่ล่อแมลงให้ไปเล่นกับแสง ที่จังหวัดลำปางก็มีการประกวดสะเปาลอยน้ำ  เป็นอัตลักษณ์ของประเพณีท้องถิ่น  และเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวได้ 

ไม่ว่าจะ มีนักท่องเที่ยว จากต่างถิ่นมาหรือไม่ ก็ไม่ทีผลกับความอยากจะออกมาลอยกระทงของคนท้องถิ่น แต่งานท่องเที่ยว มาเกี่ยวข้องก็ตอนยุคหลังๆที่เกิดการเชื่อมโยงเรื่องราวของงานลอยกระทงให้ คนภายนอกมาเที่ยวชมประเพณีท้องถิ่น นำรายได้มาจับจ่าย ให้คนท้องถิ่นบ้างก็เท่านั้น

ย้อนกลับไปเมื่อสมัยเด็กๆ(ก็ราวๆ20ปีก่อน) ยังจำได้เมื่อถึงเทศกาลลอยกระทงจะอยากออกไปดูขบวนรถกระทง ที่หลายภาคส่วนร่วมกันจัดขึ้น จะว่าไปแล้วการประกวดกระทงหรือสะเปาก็ถือเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความ สามัคคี ของแต่ละหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ชุมชน เพราะเป็นการเอาความสามารถของคนในองค์กรมาออกกันความคิด ร่วมแรงรวมใจกันตกแต่งรถกระทงออกมาแห่มาโชว์แล้วเอาให้ประชาชนที่มาคอยดูขบวนแห่ได้ชื่นชม

แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า การประกวดขบวนสะเปาทั้งใหญ่และเล็ก ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธุรกิจไปเสียแล้ว  เพราะต้องเอางบประมาณไปจ้างออแกไนซ์มาช่วยออกแบบ ตกแต่งรถกระทงและขบวน  ชิงรางวัล ว่ากันว่า ค่าจ้างหลายหมื่น บางขบวนตกแต่งด้วยโฟมแกะสลักเกือบทั้งคัน เหยียบหลักแสนก็มี ภาพบรรยากาศที่เคยเห็นครูศิลป์ออกแบบ นักเรียน นักศึกษาช่วยกันประกอบสะเปาแทบไม่มีให้เห็นกันอีกแล้ว จะเห็นก็แต่ร้านรับจ้างรับงานกันมือขวิด

เพื่อ... รางวัล.. และชื่อเสียง..ขององค์กร

การทำขบวนกระทงลักษณะนี้ อาจเรียกได้ว่ามิใช่เป็นแนวทางการมีส่วนร่วมที่แท้จริง  คนในองค์กร หรือท้องถิ่นนั้น.. จะสำคัญอะไร ในเมื่อ "ใช้เงิน" จ้างคนนอกสร้างเบ็ดเสร็จแล้ว

งบประมาณหลวงที่เคยแจกจ่ายลงไปช่วยชุมชน ทำรถขบวน กลายเป็นงบฯที่ลอยไป แบบ "หลงทาง"

ถ้าจะให้ดี เจ้าภาพงบฯ ควรจะจัดระเบียบนโยบายกันใหม่ ให้ใช้เงินกระจายไปอย่างสร้างสรรค์ เทศกาลลอยกระทง ก็เห็นจะมีส่วนในการการวัดความเข้มแข็ง ของท้องถิ่นนั้น.. อย่างมีนัยสำคัญ ที่ต้องทบทวน

(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1154 วันที่ 10 -16 พฤศจิกายน 2560)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์