จากที่ได้มีการออกหนังสือแถลงการณ์ด่าน
จากสมาชิก สร.กฟผ.และผู้ปฏิบัติงาน ขอให้สมาชิกได้ติดตามความเคลื่อนไหว
เนื่องจากมีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้มาขอใช้ประโยชน์จากวัสดุผลพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้าของ
กฟผ.แม่เมาะ เช่น หินคลุก เถ้าลอย ซึ่ง
กฟผ.ไม่สามารถดำเนินการตามที่ร้องขอได้ เนื่องจากขัดต่อระเบียบราชการ
อาจจะมีความเคลื่อนไหวทำการปิดทางเข้าออกที่ลานจอดรถขี้เถ้า และกดดันไล่ผู้บริหาร
กฟผ. ให้ออกจากพื้นที่
ทั้งนี้
จากรายงานข่าวทราบว่า ทางชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอแม่เมาะ ได้มีข้อเรียกร้องให้
กฟผ.แม่เมาะ ดำเนินการตามข้อตกลง 3 ข้อด้วยกัน ซึ่งได้มีการทำบันทึกข้อตกลงกันไว้เมื่อปี
59 ที่ผ่านมา คือ การสนับสนุนงบประมาณตำบลละ 5 ล้าน บาท การขอใช้เศษหินที่
กฟผ.ไม่ใช่แล้ว มาใช้ประโยชน์ และการขอขี้เถ้าลอยที่ กฟผ.นำทิ้งในช่วง 7 วันอันตราย
รวมทั้งการมอบผลประโยชน์ 30 เปอร์เซ็นต์ให้แก่ชมรมผู้ใหญ่บ้านนำไปบริหารจัดการพัฒนาหมู่บ้านในพื้นที่
ในเรื่องดังกล่าว
ได้มีการประชุมพูดคุยกันในส่วนที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายปกครอง
อ.แม่เมาะ
ตัวแทนชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน
กฟผ.แม่เมาะ
ซึ่งมีข้อสรุปเบื้องต้นจากการประชุมเมื่อวันที่ 21
พ.ย. 60 ว่า กฟผ.แม่เมาะได้มีการขออนุมัติงบประมาณตำบลละ 5
ล้านบาทไว้แล้ว
ในส่วนของหินคลุกนั้น เป็นอำนาจของผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ
ซึ่งจะต้องประสานและตกลงกัน และขี้เถ้าลอย
บอร์ด กฟผ.ได้มีข้อสังเกตว่า ให้กลับมาทบทวนและมีการดำเนินการที่เห็นเป็นรูปธรรม
เช่นการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
เพื่อให้คนแม่เมาะมีรายได้ยั่งยืน
มีประโยชน์มากกว่าการนำเถ้าลอยไปขายเท่านั้น
โดยทางชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน
ระบุว่า ขอให้พิจารณาในช่วง 7 วันอันตราย
หรือวันหยุดติดต่อกันหลายวันก่อน
ซึ่งทางบริษัทรับซื้อเถ้าลอยจะไม่มีรถมาขนขี้เถ้าลอย และทาง กฟผ.จะต้องนำเถ้าลอยไปทิ้ง
ทางชมรมฯจะขอเถ้าลอยในส่วนนี้ไปบริหารจัดการเอง และรับผิดชอบค่าใช้จ่ายนี้เอง สำหรับเงินสนับสนุน 30
เปอร์เซ็นต์ ให้ดำเนินการทำเอกสารรองรับตามที่บอร์ด กฟผ.ต้องการไปจนกว่าจะสำเร็จ โดยมีข้อแม้ว่าหากทางบอร์ด
กฟผ.จะให้การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
และสนับสนุนขี้เถ้าลอยให้ชมรมนำไปทำผลิตภัณฑ์นั้นไม่เอา
เนื่องจากทำให้แต่ละเดือนมีรายได้ไม่มาก แต่ต้องการให้ กฟผ.สนับสนุนรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยให้ชมรมมีการจัดทำโครงการรองรับ
และจัดสรรเงินมาให้ชุมชนนำไปดำเนินการได้เลย
ซึ่งข้อตกลงจะได้มีการรายงานให้ผู้บริหาร กฟผ.แม่เมาะทราบ
เพื่อนำเสนอบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งต่อมายังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว
ทางชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน จึงได้ทำหนังสือให้ทาง
กฟผ.หยุดการขนย้ายเถ้าลอยออกจากพื้นที่ จนกว่าจะมีการเจรจาตกลงกันได้
ต่อมาเมื่อวันที่
6 ธ.ค.60 ที่ผ่านมา
ที่ศาลาประชาคม อ.แม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)แม่เมาะ
นำโดยนายอมรพันธ์ ลีลาภรณ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 2 พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร
กฟผ.แม่เมาะนายอำเภอแม่เมาะ ในฐานะประธาน ผู้แทนมณฑลทหารบกที่ 32 กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนราชการ สมาชิกสภาจังหวัดลำปาง และ
ผู้นำชุมชนจาก 5 ตำบลอำเภอแม่เมาะ ประชุมร่วมกัน
เพื่อสรุปแนวทางการซื้อวัตถุพลอยได้(เถ้าลอย) จาก กฟผ.แม่เมาะ
โดยวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ในราคาพิเศษ เพื่อให้เกิดวิสาหกิจชุมชนที่คืนรายได้และการพัฒนาสู่ชุมชน
ตลอดจนสวัสดิการสังคม เช่น
การเยียวยารักษาผู้ประสบอุบัติเหตุจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรถบรรทุกขนส่งเถ้าลอยในพื้นที่
อ.แม่เมาะ
.โดยการประชุม นายอำเภอแม่เมาะ ได้เสนอแนะให้การตั้งวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่มากที่สุด ตลอดจนไม่ขัดกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อสรุปข้อเสนออีกครั้งในวันที่ 8 ธ.ค.60
นายธรรมการ
ชุมศรี ส.อบจ.เขต 2
อ.แม่เมาะ ผู้แทนชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน
กล่าวว่า ทาง กฟผ.ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับทางชมรมผู้ใหญ่บ้านมา 1 ปี
แล้วแต่ก็ยังไม่สามารถทำตามข้อตกลงได้สักข้อ และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ
ทางชมรมฯจึงได้มีการทำหนังสือถึง กฟผ.ขอให้หยุดการขนย้ายเถ้าลอยไปแล้ว เนื่องจาก
กฟผ.ไม่ทำตามข้อตกลง ส่วนกรณีการขอสนับสนุน
30 เปอร์เซ็นต์นั้น ทางชมรมฯได้ขอให้ กฟผ.จำหน่ายเถ้าลอยแบ่งให้ชมรมฯ
โดยมีส่วนลดจากเดิมลง 10 เปอร์เซ็นต์
ให้ทางชมรมฯไปบริหารจัดการเอง ซึ่งจะได้กำไรจากส่วนต่างจากราคาที่ลดลง ส่วนเถ้าลอยอีก 70
เปอร์เซ็นต์ก็ให้ กฟผ.จำหน่ายตามปกติ
และขอเถ้าลอยในช่วง 7
วันอันตรายให้กับทางชมรมฯไปบริหารจัดการเอง
ซึ่งทางชมรมฯขอคำตอบในวันที่ 8 ธ.ค.60 นี้ แต่ทาง
กฟผ.ได้ขอขยายเวลาออกไปเป็นวันที่ 25 ธ.ค. 60 ทางชมรมฯ
จึงจะมีการประชุมวางแผนกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
แหล่งข่าวระบุว่า ในช่วง 7 วันอันตราย ทุกช่วงเทศกาลนั้น
ทาง กฟผ.แม่เมาะได้ให้ความร่วมมือในการหยุดวิ่งรถขนขี่เถ้าลอยบนทางหลวง
ทางชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ได้ขอเถ้าลอยในช่วง 7
วันในการบริหาร และจะขนย้ายเอง ซึ่งจะอยู่
1.1 แสนตัน ปัญหาคือว่าจะนำรถที่ไหนมาทำการขนส่งเนื่องจากการขนเถ้าลอยนั้นต้องใช้รถแบบปิด
ในช่วงวันดังกล่าวจะไม่มีรถวิ่งเลย เป็นประเด็นที่ยังไม่สามารถสรุปกันได้
ส่วนเรื่องการขอสนับสนุน 30 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน
เบื้องต้นทางผู้บริหารได้ท้วงติงว่า
ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือ แต่เป็นการบริหารจัดการที่ไม่ถูกต้อง
เหมือนเป็นการหักหัวคิว จึงต้องเสนอทางบอร์ด กฟผ.พิจารณา
ส่วนงบประมาณตำบลละ
5 ล้านบาทนั้น ได้มีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว
แต่อยู่ระหว่างการหาแนวทางการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้ถูกต้องและไม่ซ้ำซ้อน
อีกกรณีคือการขอเศษหิน ที่ผ่านมา กฟผ.ให้มาโดยตลอด แต่จะให้เพื่อสาธารณะประโยชน์เท่านั้น
แต่ที่มีปัญหาอาจเนื่องจากช่วงที่ กฟผ.ขนส่งหินไปให้นั้น
ทางชาวบ้านขอให้นำไปเทในจุดนั้นจุดนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งทาง
กฟผ.ไม่สามารถให้ได้ จึงมีการพูดกันว่าไม่ได้รับการสนับสนุนหินดังกล่าว
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1158 วันที่ 8 - 14 ธันวาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น