โครงการตลาดประชารัฐ Modern Trade จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา อย่างเป็นทางการ
ซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดันโดยนโยบายรัฐบาล ที่จะส่งเสริมให้ เกิดการซื้อขาย
และตลาดที่เป็นรูปธรรม สอดรับกับ บริษัทประชารัฐ รักสามัคคี และแนวทางการทำงานประชารัฐระดับพื้นที่
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560 เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการตลาดประชารัฐ
ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลาง
และส่วนภูมิภาค ซึ่งดำเนินงาน ในรูปแบบประชารัฐ
เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ตลาดใหม่ รวมทั้งขยายพื้นที่ตลาดเดิม
สำหรับรองรับการจัดจำหน่ายสินค้าที่กระจายตัว อย่างทั่วถึง
สามารถสนับสนุนให้พี่น้องประชาชน เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงกลุ่มอาชีพต่างๆ
ได้มีโอกาสค้าขายมากขึ้น ลดต้นทุนทางการตลาด และเปิดโอกาสให้กับผู้ค้ารายใหม่
ได้มีพื้นที่จำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น แบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่...
1.ตลาดประชารัฐ Green Market ของ องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย
2. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้ ของกรมการพัฒนาชุมชน จำนวน 2,000 กว่าแห่ง
เป็นการขยายตลาด เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้ค้าในชุมชน และเกษตรกร
ได้มีโอกาสนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น
3. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กว่า 3,800
แห่ง 4. ตลาดประชารัฐ กทม.คืนความสุข 14 แห่ง
เป็นการหาพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการที่เดือดร้อน เนื่องจากไม่มีพื้นที่ค้าขาย
รองรับกลุ่มผู้ค้ารายใหม่กว่า 10,000 ราย 5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด
ดำเนินการโดย จังหวัดและบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
จำกัด ซึ่งเป็นการจำหน่ายสินค้าที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ เช่น สินค้าตามฤดูกาล
สถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น 6. ตลาดประชารัฐ Modern Trade ของกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด
โดยการเพิ่มพื้นที่ตลาดในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ภายในจังหวัด ค่าเช่าถูก
หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย 7. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส.
ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
โดยเพิ่มพื้นที่ให้กับผู้ค้ารายใหม่ในตลาดนัดของ ธ.ก.ส.ที่มีอยู่ 147
แห่งทั่วประเทศ 8. ตลาดประชารัฐต้องชม
ของกระทรวงพาณิชย์ โดยเป็นการส่งเสริมด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์
เพื่อกระตุ้นการค้าขาย เช่น ตลาดน้ำ ตลาดแหล่งท่องเที่ยว และ 9. ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม
ถนนสายวัฒนธรรม ของกระทรวงวัฒนธรรม เป็นการส่งเสริมการตลาดสินค้าเชิงวัฒนธรรม
การขับเคลื่อนโครงการตลาดประชารัฐ ใช้กลไก “ศูนย์ดำรงธรรม” ที่มีอยู่ทั้งในระดับจังหวัด
และอำเภอ เป็นสถานที่รับลงทะเบียน ให้กับผู้ที่ประสงค์จะมีพื้นที่ค้าขาย
ได้ลงทะเบียน เพื่อร่วมโครงการ
การเริ่มต้นที่จะผลักดันจากรัฐจะเกิดผลก็ต่อเมื่อคนในท้องถิ่น
หัวขบวนต่างๆ นำไปดำเนินการอย่างจริงจัง ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าเม็ดเงินที่ลงไปเผื่อผลักดันตลาดประชารัฐจะให้กลายเป็นตลาดแห่งความหวัง
บ่ใช่ตลาดที่มาจุหมาน้อยขึ้นดอยหนาเจ้า
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1158 วันที่ 8 - 14 ธันวาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น