ถุงเงินแหล่งใหม่กองทุนไฟฟ้าอีเอ
โซล่าเซล ผลิตไฟฟ้าขาย 90 เมกกะวัตต์ บนพื้นที่ 2 พันกว่าไร่ สะสมเงินเข้ากองทุนแล้วกว่า
7 ล้าน คลุมพื้นที่ 3 ตำบล 2 อำเภอ
เร่งจัดตั้งคณะกรรมการและสรรหาประธานกองทุน คาดจ่ายเงินได้ในปลายปีนี้
เมื่อวันที่
14 ก.พ. 61 ที่ผ่านมา
นายจารุเกียรติ ปัญญาดี พลังงานจังหวัดลำปาง นำคณะสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดลำปาง
เข้าเยี่ยมชม บริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งอยู่ครอบคลุมพื้นที่ 3
ตำบล 2 อำเภอ คือ ต.บ้านเอื้อม
ต.บ้านเป้า อ.เมืองลำปาง และ ต.หนองหล่ม อ.ห้างฉัตร บนเนื้อที่ 2,354 ไร่ มีขนาดกำลังการผลิต 90 เมกกะวัตถ์ และเริ่มขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ตั้งแต่
17 ก.พ.58 ซึ่งล่าสุด ได้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขึ้น
เพื่อดูแลชุมชนโดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้ารัศมี 5 กิโลเมตร
เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
นายจารุเกียรติ
ปัญญาดี พลังงานจังหวัดลำปาง กล่าวว่า การผลิตไฟฟ้าของอีเอเริ่มปี
2558
สำหรับกองทุนพัฒนาไฟฟ้าจะมีการเก็บเงินเข้ากองทุนอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกจะเป็นช่วงที่มีการก่อสร้าง
มีการเก็บเงินเข้ากองทุน 50,000 บาทต่อ 1 เมกกะวัตต์ และเมื่อมีการผลิตไฟฟ้าก็จะมีการเก็บเงินเข้ากองทุน
หน่วยละ 1 สตางค์ เมื่อเทียบกับ กฟผ.แม่เมาะ
เป็นพลังงานถ่านหิน และกำลังการผลิตสูงกว่าจึงเก็บที่ หน่วยละ 2 สตางค์
กองทุนพัฒนาไฟฟ้ามี
3 ประเภท คือ ประเภท ก มีการจำหน่ายไฟฟ้าเกิน 50
ล้านบาท ประเภท ข จำหน่ายไฟฟ้าตั้งแต่ 1-50
ล้านบาท และประเภท ค จำหน่ายไฟฟ้าต่ำกว่า 1
ล้านบาท ซึ่งบริษัทอีเอจะอยู่ในประเภท
ข แต่ในเร็วๆนี้
ทางกองทุนจะมีการปรับระเบียบทั้ง 3 ประเภท เดิมประเภท ค แต่อาจจะมีการเพิ่มวงเงินขึ้นซึ่งยังไม่ทราบว่าเท่าไร
เพราะระเบียบยังไม่ออกมา หากเพิ่มวงเงินเป็น 1-5 ล้านบาท
กองทุนของบริษัทอีเอ ก็จะกลายเป็นกองทุนที่มีขนาดเล็กที่สุด
ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทน
พลังงานจังหวัด
กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ขั้นตอนต่างๆในการตั้งคณะกรรมการเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว
โดยมีกรรมการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปไม่เกิน 35 คน จะมีตัวแทนของหน่วยงานต่างๆ
รวมไปถึงชุมชนมาร่วมเป็นคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย
ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จะมีนายอำเภอทั้ง 2
อำเภอมาร่วมเป็นคณะกรรมการ ตัวแทนโรงไฟฟ้า
และตัวแทนชุมชน
ภายในปีนี้จะมีการเริ่มประชุมคณะกรรมการ ถ้ามีการประชุมคณะกรรมการในส่วนของตัวแทนชุมชนก็จะได้นำข่าวสารไปแจ้งให้กับในพื้นที่ทราบต่อไป
นางออมสิน ศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า
กองทุนได้มีการจัดตั้งแล้วเมื่อปี 2560
ขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการเข้าไปบริหารกองทุน ในส่วนของอีเอโซล่า
ในฐานะผู้ประกอบการโรงไฟฟ้ามีหน้าที่จ่ายเงินเข้าไปในกองทุนทุกๆหน่วยไฟการผลิตที่เราขายได้
ต้องจ่าย 1 สตางค์
เริ่มจ่ายตั้งแต่เริ่มสร้างโรงไฟฟ้าเมื่อปี 2556 จนถึงปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 7 ล้านบบาท อีเอส่งผู้แทน 1 คนไปเป็นผู้ช่วยเลขา
ตรวจสอบโครงการว่ามีชาวบ้านเสนอโครงการอย่างไร เพื่อขอรับการอนุมัติเงิน ทราบว่าท่านผู้ว่าฯให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก
และน่าจะหยิบยกมาดูในระดับต้นๆ
วัตถุประสงค์ให้มีกองทุน
คือ ความต้องการให้ภาคธุรกิจที่เข้ามาดำเนินการโดยรอบได้ดูแลชุมชน
และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ในด้านของผู้ประกอบการเรามีหน้าที่สมทบทุนเข้าไป และจะมีทีมเข้าไปพูดคุยกับผู้นำชุมชน
เพื่อคัดกรองโปรเจ็คที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน นำไปยื่นขอใช้งบประมาณ
เราไม่อยากเห็นการทำโครงการในลักษณะที่ทางผู้นำชุมชนไปศึกษาดูงานต่างประเทศ ซึ่งควรเป็นสิ่งปลูกสร้าง การบูรณะถนนหนทาง
สาธารณะประโยชน์ที่เป็นของส่วนรวม การเขียนโครงการเข้าไปขออนุมัติกองทุน
ต้องมีเหตุและผลประกอบอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งทางทีมงานพร้อมที่จะช่วยเหลือในส่วนนี้
ก่อนที่จะส่งเข้าไปให้กับคณะกรรมการกองทุน
ส่วนกิจกรรมเสริมอื่นๆที่ร่วมกับชุมชนทางบริษัทได้ดำเนินการในส่วนนี้มาตลอดอยู่แล้ว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น