วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

TNN 24 ทีวี “ฟรีแลนซ์”

จำนวนผู้เข้าชม .

ากแถลงการณ์ของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มพนักงาน TNN 24 ที่ถูกเรียกว่า “ฟรีแลนซ์” ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็นจริง ก็แปลว่า สถานีข่าว 24 ชั่วโมง อันมีต้นกระแสธารมาจาก ยูบีซีนิวส์แห่งนี้ จะเป็นสถานีทีวีดิจิตอลล่าสุด ที่อาจถูกพัดหายไปกับปราสาททราย

ทั้งที่เป็นธุรกิจสื่อ ภายใต้ร่มเงาของกลุ่มบริษัทเกษตรอุตสาหกรรม ที่ใหญ่ที่สุด แข็งแกร่งที่สุดในประเทศนี้

แถลงการณ์อ้างว่า ฝ่ายบริหารต้องการบีบพนักงานจำนวนนับร้อย ให้ออกจากงาน และมีการเปลี่ยนสถานะจาก “พนักงานประจำ” ซึ่งบริษัทไทยนิวส์เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน มาเป็น “ฟรีแลนซ์” ที่มีค่าตอบแทนตามสัญญาจ้าง ไม่มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่มีเงินพิเศษ ไม่มีสวัสดิการใดๆ

เป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง จาก “สัญญาจ้างแรงงาน” มาเป็น “สัญญาจ้างทำของ” ซึ่งบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบในการปฎิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และอาจหาเหตุเลิกจ้างผู้รับจ้างเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

การเปลี่ยนสภาพการจ้าง นับเป็น “สาระสำคัญ” ที่ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิโต้แย้ง และฟ้องคดีต่อศาลได้ หรือการบีบให้ต้องเซ็นสัญญาเป็นฟรีแลนซ์ แม้จะมิใช่การบีบให้ออก ก็ถือเป็นการทำให้ลูกจ้างไม่อยู่ในสภาพที่จะทำงานต่อไปได้ตามปกติ เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

อาจเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายจ้าง กับลูกจ้างที่เกิดขึ้นทั่วไป กรณี TNN24 อาจเป็นปัญหาในระดับผู้บริหารระดับสูง หรือผู้บริหารในระดับบรรณาธิการ กับพนักงาน แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ไม่ปกตินี้ ด้านหนึ่งย่อมมาจากความล้มเหลวของอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลทั้งระบบ

ไม่ได้เกิดขึ้นที่ TNN24 เท่านั้น แต่สัญญาณแห่งความล่มสลาย เป็นระลอกคลื่นแห่งสึนามิ  จากเนชั่น วอยซ์ทีวี และอีกหลายสถานีที่ยังไม่ระเบิดออกมา

เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้งในองค์กรสื่อ โดยเฉพาะสถานีข่าว ที่รายงาน วิเคราะห์ ข่าวสารข้อมูล เป็นปากเป็นเสียง เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้คนในสังคมมากมาย แต่กับคนทำงานในองค์กรสื่อเอง กลับถูกกดบีบ ถูกกระทำ ด้วยความไม่เป็นธรรมต่างๆนานา โดยที่ไม่มีใครมาเรียกร้องความเป็นธรรม ร่วมต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ

และแม้ตัวลูกจ้าง ก็แทบไม่มีพื้นที่ในการต่อสู้ เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเอง

ปรากฎการณ์ TNN24 อาจตอกย้ำอนาคตของทีวีดิจิตอลอีกครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มที่สำรวจเรทติ้งคราวใด ไม่เคยโผล่พ้นน้ำขึ้นมาถึงระดับท็อบเทน

ก่อนหน้านี้ เราเคยพูดถึงภูมิทัศน์สื่อ หรือ  media landscape ที่เปลี่ยนไป ทำให้คนเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ที่หลากหลาย รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น

ย้อนหลังไปราว 4  ปี เมื่อมีการเปิดประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง ก็เกิดมายาคติว่า นั่นคือยุคทองของนักนิเทศศาสตร์ ที่จะมีช่องทางทำมาหากินมากขึ้น  ในขณะเดียวกัน นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ก็ถูกปลุกเร้าให้สำคัญผิดว่า จะมีตลาดแรงงานรองรับอย่างมหาศาล เพราะการขยายตัวของฟรีทีวี จากเดิม 6 ช่อง ขยายไป 4 เท่า มีดีมานด์ในตลาด ที่เรียกว่า ยังไม่ทันจบการศึกษา ก็จะมีคนรอรับไปทำงานกันเลยทีเดียว     

วันนี้ คนที่ฝันว่า จะนำองค์กรไปสู่ยุคเรืองรอง โดยมีทีวีดิจิตอล เป็นสะพานทอดข้ามไปนั้น หายหน้าไปหมด พร้อมๆกับการล่มสลายขององค์กร

และบางองค์กร ก็กลายเป็นองค์กรทมิฬ ถีบส่งคนตัวเล็ก ตัวน้อยในองค์กร เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง

วิกฤติทีวีดิจิตอลครั้งนี้ อย่างน้อยก็ได้เห็นธาตุแท้ของคนบางคนชัดเจนขึ้น


(หนังสือพิมพ์ล านนาโพสต์ ฉบับที่ 1167 วันที่ 16 - 22 กุมภาพันธ์ 2561)


Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์