เมื่อเทศกาลดอกเสี้ยวบานวนมาถึงอีกครั้งในปีนี้
บ้านป่าเหมี้ยง ชุมชนบนหุบเขาที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ
ห้อมล้อมด้วยดอกไม้ป่าที่เรียกกันว่า ‘ดอกเสี้ยว’ หรือชงโค กำลังบานสะพรั่งรอผู้คนเข้าไปสัมผัสความหอมนวลๆ และถ่ายภาพปรับใจกลับไปประหนึ่งว่า
ได้มาเทียงดงดอกไม้ป่าที่น่าอัศจรรย์ใจ
บ้านป่าเหมี้ยง
หมู่บ้านโฮมสเตย์ตั้งแต่ยุคแรกๆของลำปาง ที่คนไทยได้ยินคำนี้จะนึกถึงบรรยากาศพักแรมที่บ้านของคนท้องถิ่น
จึงเป็นเสน่ห์ที่คนกรุงแสวงหา ทุกๆปีจะมีเมนูดอกเสี้ยวชุบแป้งทอดกรอบ อาหารจากธรรมชาติที่ทานเล่นหรือเป็นสมุนไพรก็ดีนักแล
ใครมาเที่ยวที่นี่ก็ขอให้ชาวบ้าน ร้านค้าที่ปรุงอาหารได้ทำให้ทานเป็นอาหารพิเศษ “ดอกไม้กินได้” เก๋ไก๋ในประเทศไทยที่นี่แหละ..
และที่นี่ยังเป็นแหล่งปลูกชาใบเมี่ยงเก่าแก่
ที่นี่ผลิตเมี่ยงหมัก ที่ทำจากใบชาหมักดอง คนเหนือโบราณนิยมอมเคี้ยวเล่นแก้ง่วง
บ้านป่าเหมี้ยงจึงเป็นแหล่งผลิตขายส่งเมี่ยงทั่วภาคเหนือ ที่เหนือกว่านั้น คนในชุมชนนี้ก็ปลูกกาแฟแซมกับต้นชา
เพิ่มรายได้เสริม แต่ทุกวันนี้เกือบจะกลายเป็นรายได้หลักพอๆกับขายใบชาเลยทีเดียว
ใครจะรู้ว่ากาแฟก็มีรสชั้นเลิศ
เพราะที่นี่มีพืชพันธ์ดอกไม้ป่าและแร่ธาตุในดินเฉพาะที่ลูกหลานคนท้องถิ่นที่นี่ก็
หวลกลับมาสร้างธุรกิจร้านกาแฟเล็กๆในหมู่บ้าน ต่อยอดจากธุรกิจ
จากเดิมที่ปลูกกาแฟขายเมล็ดดิบ ยกระดับเป็นแปรรูป
และสร้างร้านกาแฟในชุมชนเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ในชุมชนอีกหลายอย่าง
คมสัน จันทร์งาม และ อ้อน-อโรชา
ผิวงาม หนึ่งในลูกหลาน เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบ้านป่าเหมี้ยง อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
ที่ตัดสินใจละทิ้งงานจากเมืองใหญ่
กลับมาสร้างตัวจากการปลูกกาแฟที่หมู่บ้านของตัวเอง พัฒนาตัวเองจาก
เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ รวมกลุ่มกันในหมู่บ้านเพื่อแปรรูปคั่วกาแฟขายเป็นวิสาหกิจ
ขณะนี้กำลังศึกษาการทำธุรกิจร้านกาแฟ
เพื่อเดินไปสู่การสร้างธุรกิจกาแฟแบบครบวงจรที่ตั้งอยู่ในชุมชนของตนเองเพราะนอกจากจะเป็นการยกระดับรายได้ของเกษตรกรแล้วยัง
มีโอกาสรายได้จากการท่องเที่ยวในอนาคต
“ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ปลูกกาแฟมากมาย
แต่ละแห่งก็มีลักษณะเฉพาะ หรือจุดขายที่แตกต่างกันออกไป
ในฐานนะที่เราเป็นลูกหลานเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ
เรามองว่าโอกาสในธุรกิจกาแฟยังมีอีกมาก แต่ต้องศึกษาและพัฒนาตัวเองอีกค่อนข้างมาก
หากจะก้าวขึ้นไปจากความเป็นเกษตรกรที่แค่ผู้ขายเมล็ดกาแฟดิบ เรียนรู้การคั่วกาแฟในรูปของกลุ่มเกษตรกรรวมตัวกันทำโรงคั่วในชุมชน
แต่การคั่วกาแฟก็มีรายละเอียดที่ต้องเรียนรู้มากมาย มากไปกว่านั้นการจะทำร้านกาแฟ
ที่เป็นเหมือนประตูนำผลผลิตไปถึงผู้บริโภคด้วยตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน
ระยะทางของการเรียนรู้ยังอีกยาวไกล หากจะทำให้กาแฟจากบ้านป่าเหมี้ยงเป็นที่รู้จักและเอ่ยถึง”
ในระยะเวลา กว่า 3 ปี
ที่เราเริ่มพัฒนาในการทำโรงคั่วกาแฟของชุมชนร่วมกัน
ส่วนเราเองก็สนใจเพิ่มเติมในการทำธุรกิจร้านกาแฟ การมาเรียนรู้หลักสูตรบาริสต้า
และหลักสูตรการคั่วกาแฟ ร่วมกับโครงการเชียงใหม่เมืองกาแฟ
ก็ถือว่าเป็นการสร้างโอกาสในการยกระดับให้เราก้าวไปแตะ คำว่า
"ธุรกิจกาแฟ" เต็มรูปแบบ
"
เราทำร้านกาแฟของตัวเองที่บ้าน
เพราะทำเลที่บ้านของเราสามารถมองเห็นวิวของหมู่บ้านป่าเหมี้ยงที่อยู่กลางหุบเขา
หากเรานึกภาพนักท่องเที่ยวมานั่งจิบกาแฟที่นี่ ซึ่งเป็นกาแฟที่ปลูกในหมู่บ้าน
แปรรูปในชุมชนของเรา และจิบกาแฟในบรรยากาศในพื้นที่ปลูก
มันจะมีความหมายในอีกมิติหนึ่ง หลายคนเคยถามว่า ทำไมไม่เอากาแฟมาตั้งร้านในเมือง
แต่อ้อนมองว่าเราอยากอยู่บ้านเกิดและชวนให้ผู้คนเข้าไปสัมผัสกับวิชีชุมชนของเรา
ซึ่งต่างจากการนั่งจิบกาแฟในร้านกาแฟในตัวเมือง หากเราทำได้ตามที่ตั้งใจได้จริง
และหาช่องทางสื่อออกไปให้คนข้างนอกรู้
และอยากดื่มกาแฟในพื้นที่จะเกิดผลพลอยได้ในเรื่องเศรษฐกิจชุมชน อีกมากมาย
เกษตรกรในชุมชนก็จะพัฒนาตัวเองให้มีรายได้มากขึ้นในวิถีชีวิตเดิม "
อ้อนบอกเล่าเพื่อเชิญชวนผู้คนที่สนใจชิมชา
กาแฟท้องถิ่นขึ้นไปลิ้มลองกันถึงดอย
มนตราแห่งการดื่มชา
และการเสพกลิ่นรสกาแฟก็ยังเป็นแรงดึงดูดให้นักเที่ยวที่แสวงหาความแปลกใหม่ได้ไปลิ้มลองกัน
งานเทกาลดอกเสี้ยวบานปีนี้ ยังรอให้คนต่างถิ่นไปกินอาหารจากป่า ชา กาแฟจากดอย
นั่งห้อยขาที่โฮมสเตย์ แล้วแชร์ภาพเก๋ไก๋ไปชวนเชิญผู้คนที่เยือน แว่วมาว่าปีหน้า
(ปี2562) จังหวัดลำปางส่งเสริมให้ยกระดับให้เป็น “งานดอกเสี้ยวบานและเทศกาลท่องเที่ยวป่าเหมี้ยง”
ว่าแล้วก็ไปกินกาแฟ แลดูดอกเสี้ยวบานกันนะ
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1170 วันที่ 9 - 15 มีนาคม 2560)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น