บิสทอล์ค ฉบับนี้ หนีไม่พ้นเรื่องของกระแสเทศกาลสงกรานต์ ตามธรรมเนียมของคนเมือง หรือ ชาวเหนือ ก็จะตื่นตัวรับสงกรานต์กันตั้งแต่เนิ่นๆ นับเป็นช่วงทองของพ่อค้าแม่ขาย ทั้งในตลาดสด ร้านค้าพาณิชย์ ในเมืองไปจนถึงร้านค้าระดับหมู่บ้าน
ชุดล้านนา เสื้อผ้าพื้นเมืองกำลังมาแรง
แม้กระแส “ออเจ้า” จะแซงไปเล็กน้อย แต่กระแส
ปี๋ใหม่เมืองบ้านเรายังไม่เคยแผ่วจางไปจากขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ในช่วงนี้เราจึงเห็นเสื้อผ้าชุดพื้นเมือง ขายตามตลาดนัด ตลาดสดกันคึกคัก
ส่วนสินค้าที่ ขาดไม่ได้ในเทศกาลสงกรานต์คือ สินค้าหมวดพิธีกรรม และศาสนา
ทั้งข้าวตอกดอกไม้ และตุงชัย ตุงล้านนา ที่ซื้อหากันไปร่วมงานบุญเข้าวัด
“ตุง” ในภาษาถิ่นล้านนา
ซึ่งภาษาไทยกลาง เรียกว่าธง
ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธจุดประสงค์ของการทำตุงและการตานตุงในล้านนาก็คือ
การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่าเมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก
วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ “การตานตุง”
จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งภาคเหนือ ล้านนา
นอกจากนี้ยังมี
อาชีพที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงสิ่งมงคลของชาวล้านนาคือการจัดเครื่องรดน้ำดำหัว
ขมิ้นส้มป่อย ใช้ในวันขึ้นปีใหม่ไทย
ปีใหม่เมือง หรือเทศกาลสงกรานต์หรือพิธีกรรมต่างๆของชาวล้านนาส่วนใหญ่จะขาดไม่ได้คือฝักส้มป่อย และต้องเป็นส้มป่อยเดือนห้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมของชาวล้านนา
เนื่องด้วยส้มป่อยเป็นสิ่งที่คนโบราณเชื่อกันว่าเป็นสิ่งมงคล ช่วยล้างความอัปมงคลต่างๆ ซึ่งส่วนประกอบของน้ำขมิ้นส้มป่อย
ประกอบไปด้วย ฝักส้มป่อยเดือนห้า
ดอกคำฝอย ดอกสารภี น้ำขมิ้น
น้ำอบน้ำหอม
เทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นช่องทางสร้างโอกาสเงินรายได้จะหมุนเวียนไปยัง
ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือ ชาวบ้าน ในท้องถิ่น ที่มีอาชีพการทำตุง และขายข้าวตอก
ขมิ้นส้มป่อย งานทอผ้าขาวม้า
งานทอผ้าพื้นเมือง ขายส่งร้านค้า
อย่าลืมอุดหนุนสินค้าท้องถิ่น
จัดแจงไปรดน้ำดำหัว ปันรายได้เข้าชุมชน ปันความสุขในวันสงกรานต์
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1174 วันที่ 6 - 19 เมษายน 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น