วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561

TPBS องค์กรซ่อนเงื่อน

จำนวนผู้เข้าชม Home Remedies For Wrinkles

ากเดินตามเส้นทางที่มาของ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ TPBS ก็จะเข้าใจได้ว่า หัวใจสำคัญในการมีอยู่ของ TPBS คือความเป็นอิสระชนิดเข้มข้น เป็นอิสระทั้งจากอำนาจรัฐ อำนาจทุน รวมทั้งอำนาจของกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

เพราะรากเหง้าของ TPBS คือ ITV  ทีวีเสรี ที่ก่อเกิดมาจากแนวคิดปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภายใต้รัฐ ซึ่งบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร การใช้ความรุนแรงของรัฐต่อผู้ชุมนุม ต่อต้านนายกรัฐมนตรีคนนอก ในห้วงเดือนพฤษภาคม 2535 จนกระทั่งเกิดองค์กรขึ้นมาอย่างน้อย 2 องค์กรหลัก  องค์กรหนึ่งทำหน้าที่ปฏิรูปโครงสร้างการจัดการคลื่นวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์  ได้แก่ กสทช อีกองค์กรหนึ่งคือ สถานีโทรทัศน์เสรี หรือไอทีวี ซึ่งคาดหวังกันในขณะนั้นว่า จะนำเสนอข้อมูล ข่าวสารอย่างเป็นอิสระ

ดังนั้น เราจึงเห็นถ้อยคำ ที่ตอกย้ำความเป็นอิสระของ TPBS ในพระราชบัญญัติจัดตั้งหลายมาตรา เช่น TPBS มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แต่ดำเนินการภายใต้ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ (มาตรา 5)

คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจ หน้าที่ คุ้มครองรักษาความเป็นอิสระของคณะกรรมการบริหาร ผู้อำนวยการ และพนักงานให้ปลอดจากการแทรกแซงใดๆ (มาตรา 28 -2 ) คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่จัดทำข้อบังคับด้านจริยธรรมของวิชาชีพ ครอบคลุมเนื้อหาสาระหลายประการ รวมทั้ง ความเป็นอิสระของวิชาชีพ และความรับผิดชอบต่อสาธารณชน(มาตรา 42-2)

พระราชบัญญัติ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 กำหนดอำนาจหน้าที่สำคัญในการรักษาความเป็นอิสระขององค์การ ไว้ที่คณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการนโยบายจึงต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงแนวคิด และปรัชญาในการก่อเกิด TPBS

ในสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดหวังสื่อที่เป็นอิสระได้อย่างแท้จริง เพราะล้วนแต่เกาะเกี่ยวกับอำนาจรัฐ และอำนาจทุน TPBS จึงเป็นความหวังหนึ่งเดียวของความเป็นสื่อ ที่จะสะท้อนภาพความเป็นจริงอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา

หากคณะกรรมการนโยบาย ไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ ยังสำคัญว่า TPBS เป็นองค์กรใต้รัฐ ที่ต้องฟังผู้มีอำนาจ หรือเพิกเฉยต่อกระบวนการปฏิรูปที่จะรวบรัด TPBS ให้เป็นองค์กรสื่อในระนาบเดียวกับ สื่อในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ และ อสมท นั่นย่อมเป็นการทำผิดหน้าที่ และเท่ากับทำลายหลักการสำคัญขององค์การนี้

นอกจากนั้น คณะกรรมการนโยบายจะต้องเข้าใจขอบเขต บทบาท หน้าที่ที่จะไม่เข้าไปก้าวก่ายฝ่ายบริหาร รวมทั้งฝ่ายปฏิบัติการ คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่เพียงกำกับดูแลองค์การ โดยมอบหมายงานให้ฝ่ายบริหาร

หน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายคือการตัดสินใจ บนพื้นฐานของประสบการณ์และความเข้าใจถึงปรัชญาและแนวคิดขององค์การ คณะกรรมการต้องตัดสินใจทุกเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์การ ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับการประเมินข้อมูล การจัดลำดับความสำคัญ และสุดท้ายคือการตัดสินใจ จากความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติ และประสบการณ์ของคณะกรรมการทุกคน

บทสรุปของ TPBS เมื่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 คือ ความไม่ชัดเจนในบทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายที่จะกำหนดทิศทางขององค์การทั้งระบบ ความไม่เป็นอิสระและไม่เป็นเอกภาพของกรรมการนโยบาย ภาวะผู้นำของคณะกรรมการโยบาย การได้มาซึ่งคณะกรรมการนโยบายที่มีข้อจำกัด

การขับเคลื่อน TPBS สู่ทศวรรษที่ 2  นี้ สำคัญเร่งด่วนอย่างยิ่ง การปฏิรูปคณะกรรมการนโยบาย   


(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1174 วันที่ 6 - 19 เมษายน 2561)
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์