
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
เป็นโรคที่เกิดจากการที่โดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิกากัด โดย อาการที่พบได้บ่อย
คือ มีไข้
ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแทบไม่พบการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ สถานการณ์โรคไวรัสซิกาประเทศไทย ในปี 2561 ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 พบผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 87 ราย ใน 14 จังหวัด 44 อำเภอ สำหรับจังหวัดลำปาง ในอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยพบผู้ป่วยโรคนี้ ปัจจุบันพบ ผู้ติดเชื้อ จำนวน 24 ราย ในพื้นที่อำเภอวังเหนือ
ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแทบไม่พบการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ สถานการณ์โรคไวรัสซิกาประเทศไทย ในปี 2561 ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 พบผู้ติดเชื้อรวมทั้งหมด 87 ราย ใน 14 จังหวัด 44 อำเภอ สำหรับจังหวัดลำปาง ในอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยพบผู้ป่วยโรคนี้ ปัจจุบันพบ ผู้ติดเชื้อ จำนวน 24 ราย ในพื้นที่อำเภอวังเหนือ
เนื่องจากพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา
อาจทำให้ทารกมีศีรษะเล็กแต่กำเนิด และสมองฝ่อได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
จึงขอความร่วมมือให้ทุกสถานบริการที่ดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ให้ข้อมูล/คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกาการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ซิกาเป็นโรคติดเชื้อที่ยุงลายเป็นพาหะนำโรค
ประชาชนจึงควรป้องกันและควบคุมโรค ด้วยวิธีการดังนี้
ป้องกันการโดนยุงกัดด้วยการทายากันยุง
สวมผ้าสีอ่อนหรือเนื้อหนา ปิดประตู กางมุ้ง หรือใช้ม่านกันยุง
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณที่อยู่อาศัยและบริเวณรอบบ้าน
เช่น ใช้ฝาปิดหรือครอบภาชนะ
คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ ในภาชนะที่มีน้ำต่าง ๆ
คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ ในภาชนะที่มีน้ำต่าง ๆ
หญิงมีครรภ์ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสอาจคงอยู่ในน้ำอสุจิได้ถึง
6
เดือน หากมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การดำเนินงานตามมาตรการ
3 เก็บ คือ เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะเศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย
เก็บน้ำปิดให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่
การดำเนิน 3
มาตรการนี้ สามารถป้องกันได้
3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายค้าแนะนำสำหรับหญิงครรภ์ที่พำนักอยู่ในพื้นที่ที่มีการยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา เนื่องจากพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา อาจทำให้ทารกมีศีรษะเล็กแต่กำเนิด และสมองฝ่อได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงกำหนดให้มีการเก็บตัวอย่างเลือด และปัสสาวะของสตรีมีครรภ์ในพื้นที่ทุกรายเพื่อตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่
กรณีผลการตรวจยืนยันว่าไม่มีการติดเชื้อ
ให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันในข้างต้น
กรณีผลการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อซิกา
ไม่ได้แปลว่าทารกในครรภ์จะผิดปกติทุกราย
(มีโอกา 1- 30%) จึงต้องทำอัลตราซาวน์ติดตามต่อเนื่องว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่
นอกจากการฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ จะต้องพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำอัลตราซาวน์ทันที
1) หากพบความผิดปกติจะมีการส่งผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อ
กรณีอายุครรภ์ไม่เกิน
24 สัปดาห์
หากจะพิจารณายุติการตั้งครรภ์ จะต้องนำเข้าคณะกรรมการยุติการตั้งครรภ์พิจารณาตามเกณฑ์
และต้องปรึกษาหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวก่อน
กรณีอายุครรภ์เกิน 24 สัปดาห์จะต้องส่งต่อผู้เชี่ยวชาญดูแลเฉพาะ
2) หากไม่พบความผิดปกติ
ต้องติดตามทำอัลตราซาวน์เพื่อสังเกตความผิดปกติทุกเดือน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น