ความเป็นพรรคประชาธิปัตย์
พรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดในประเทศนี้ ไม่ได้มีศักยภาพมากนัก
ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เท่าที่สืบค้นได้
ประชาธิปัตย์ เคยมีนายเทียม ไชยนันทน์ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ อดีต ส.ส.ตาก นายอินทรหล่อ สรรพศรี อดีต
ส.ส.เชียงราย นายไกรสร ตันติพงศ์ อดีต ส.ส.เชียงราย นายอินทูล วรกุล อดีต ส.ส.ลำปาง
พรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 โดยหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง คือนายบุญเท่ง
ทองสวัสดิ์ อดีต ส.ส.ลำปาง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 18 สมัยต่อเนื่องมากที่สุดในโลก
ทั้งนี้นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก
และในปีแรกที่ก่อตั้งพรรค นายควง อภัยวงศ์ ก็ได้จัดตั้งรัฐบาล และเป็นนายกรัฐมนตรี
นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยที่มาจากการเลือกตั้ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค คนที่
7
และคาดว่า ในการแข่งขันเพื่อเสนอตัวเป็นหัวหน้าพรรคคนต่อไป
เขาคงยังอยู่ในตำแหน่งนี้ ด้วยศักยภาพที่เหนือกว่าคู่แข่งอีก 2 คน อีกทั้ง จุดยืนที่แน่วแน่ในการต่อต้านเผด็จการ
และยืนหยัดเล่นการเมืองในวิถีประชาธิปไตย
อย่างน้อยในการจัดประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองต่างๆ
เราก็ได้เห็นว่า การเมืองระบบพรรคของประชาธิปัตย์นั้น มีความเข็มแข็ง
และเป็นประชาธิปไตยมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ล้วนมีหัวหน้าพรรคจัดตั้ง
และจัดเตรียมกันมาแล้วทั้งสิ้น
การขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรค นายกรัฐมนตรี
และตำแหน่งการเมืองอื่นๆ ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ถือเป็นขั้น
เป็นตอนในการพิสูจน์ตัวเองจากบทบาท อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งเล็กๆ
จนขึ้นมาสู่ยอดพีระมิดของอำนาจ ด้วยการยอมรับของสมาชิกพรรค
ไม่แตกต่างไปจากนายชวน หลีกภัย
ด้วยบุคลิกของนักวิชาการ บวกกับนักการเมือง
บุคลิกภาพสุขุม นุ่มนวล คล้ายนายชวน หลีกภัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จึงเป็นที่ยอมรับไม่เพียงสมาชิกพรรค หากแต่สังคมทั่วไปก็ได้เห็นภาพนี้ด้วย
แม้จะมีการตั้งข้อสังเกตว่า ไม่เคยมีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน
มีเพียงวาทกรรมชวนเชื่อก็ตาม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดที่ประเทศอังกฤษ
จบปริญญาตรีและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เป็น ส.ส.กทม.ครั้งแรก ในปี 2535
ขณะอายุ 27 ปี และได้เป็นหัวหน้าพรรค
หลังประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งทั่วไป ในปี 2548
เขาได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่
17
ธันวาคม 2551 ในวัย 44 ปี
หลังศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาล เป็นผลให้นายสมชาย
วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในห้วงเวลานั้น อยู่ในวิกฤตการณ์การเงินโลก
และความตึงเครียดทางการเมือง ด้วยการเกิดขึ้นของคนเสื้อแดง
ยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการปิดเว็บไซต์
และสถานีวิทยุจำนวนมาก อีกทั้งการจับกุมและปิดปากสื่อ รายงาน ฮิวแมน ไรดส์วอทส์ ปี 2553 เรียกยุคอภิสิทธิ์ว่า
มีการเซ็นเซอร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย และฟรีดอมเฮาส์
ลดระดับเสรีภาพสื่อไทยเหลือ “ไม่เสรี” นอกจากนั้นในยุค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการร่างกฎหมายเพื่อการกำกับดูแลกันเองของสื่อ
ในรูปของคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพสื่อ
ในบรรยากาศของแรงกดดันทางการเมือง
ในเดือนเมษายน 2552 รัฐบาลเผชิญกับการประท้วงครั้งใหญ่
จนกระทั่งมีการสลายการชุมนุมในปีถัดมา มีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และเสียชีวิต 90
คน กลายเป็นคดีความต่อเนื่องมาถึงวันนี้
หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554
ประชาธิปัตย์ แพ้การเลือกตั้ง
เขาลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 4 กรกฎาคม
และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคต่อไปในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน
การเลือกตั้งครั้งใหม่ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ไม่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ยังคงเป็นผู้นำในสนามการเลือกตั้งหรือไม่
สถานการณ์ของพรรคก็คงยังยากลำบาก ด้วยภาพการทำงานที่ไม่ชัด
และข้อสงสัยในตัวผู้นำ ผลงานที่ชัดเจน นอกเหนือจากลีลา วาทะทางการเมือง
ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ลำปาง
พรรคประชาธิปัตย์ก็เช่นเดียวกัน ชื่อพรรค ความเชื่อถือศรัทธา
ความคุ้นเคยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่ได้มีมากนัก
แต่คะแนนเสียงช่วงที่ผ่านมา ผู้สมัครของพรรคก็สูสีมากกับผู้ชนะ
หากจะขายพรรคคงขายได้สัก 10 % ในฐานะพรรคที่นับเป็นสถาบันการเมืองได้
ที่เหลือคงต้องเป็นบารมี อำนาจ วาสนา ทุนรอนของผู้สมัครเอง
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1202 วันที่ 26 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2561)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น