6 พรรคการเมืองดัง ตบเท้าร่วมเวทีเสวนาวิชาการ มธ.ศูนย์ลำปาง
“สร้างรัฐสวัสดิการ เลือกตั้งปี 62” อภิสิทธ์-ธนาธร
ประชันวิสัยทัศน์ ย้ำสวัสดิการไม่ได้มาจากการร้องขอ ชี้คนไทยแก่ก่อนรวย
เมื่อวันที่
29 พ.ย.61 ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์ลำปาง อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์ลำปาง จัดงานเสวนาวิชาการ “การสร้างรัฐสวัสดิการ ผ่านการเลือกตั้งปี 62”
เพื่อเปิดวิสัยทัศน์และข้อคิดเห็นของพรรคการเมืองต่างๆ
เกี่ยวกับการสร้างรัฐสวัสดิการ โดยเชิญตัวแทนจากพรรคการเมืองเข้าร่วมเสวนา
6 พรรคการเมืองด้วยกัน ประกอบด้วย ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล
รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดร.นพ. มโน เลาหวณิช เมตตานันโท เลขาธิการพรรคประชาชนปฏิรูป พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายธนาธร
จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
และดร. บุญส่ง ชเลธร สมาชิกพรรคเสรีรวมไทย โดยมีนายปิยพงษ์ นิ่มกุลรัตน์ อดีตรองประธานสภานักศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นายสุพลวัชร์
ภานุพงษ์ชัย อดีตประธานสภานักศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมเสวนาพูดในประเด็นต่างๆคนละ
10 นาที
ดร.เผ่าภูมิ
โรจนสกุล
รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ได้แสดงความคิดเห็นถึงรายได้ของประเทศไทยซึ่งอยู่ในกลุ่มปานกลาง
และติดกับดักนี้มากนานกว่า 20 ปี โดยเกิดจากปัญหา 3
ข้อด้วยกันคือ ข้อแรกประเทศไทยเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงทางการเมือง
เกิดการไม่ต่อเนื่องในโครงสร้างการบริหารประเทศ และระบอบปกครอง ข้อสองด้านเศรษฐกิจ ภาคเอกชนต้องสามารถเคลื่อนตัวได้เร็ว
ถูกข้อจำกัดจากรัฐลดลง เสียภาษีน้อย ภาครัฐมีขนาดเล็ก และข้อสาม ทุนมนุษย์ต้องได้รับการพัฒนา มีสวัสดิการ
การศึกษา สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐานที่ดี แต่อัตราภาษีมาก ภาครัฐมีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเห็นว่าข้อสองและสามค่อนข้างขัดแย้งกัน แต่ประเทศไทยได้เลือกข้อสองคือเน้นภาคเอกชนเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ส่งผลให้อัตราภาษีเงินได้ต่ำ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำ
คนจนถูกละเลย ไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ไม่ได้รับสวัสดิการที่เพียงพอ ทำให้ 15 ปีที่ผ่านมา
อัตราค่าจ้างขึ้นต่ำของคนไทยเพิ่มขึ้น 2 เท่า
ขณะที่กำไรของกลุ่มทุนเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า
การเริ่มต้นที่ต่างกันจึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศ
นายธนาธร
จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวถึงมุมมองที่เชื่อมโยงกับปัญหารัฐสวัสดิการ
5 ข้อ คือ 1.สวัสดิการไม่เคยได้มาจากการร้องขอ โดยอ้างถึง
พ.ร.บ.ประกันสังคม ผ่านสภาฯเมื่อปี 2497
แต่ได้รับการบังคับใช้ปี 2533 ใช้เวลาถึง 36 ปี รวมทั้งกฎหมายลาคลอด
90 วัน เพิ่งได้รับเป็นสิทธิ์ในสมัยรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในปี
2536
ซึ่งส่วนใหญ่จะได้มาจากการต่อสู้ของสามัญชนทั่วไป 2.การจะได้มาต้องเดินไปกับการพัฒนาประชาธิปไตย
เมื่อประชาชนไม่มีความมั่นคงในชีวิต คงไม่มีพลังที่จะไปคิดพัฒนาประเทศชาติและสังคม
ถ้าประชาธิปไตยอ่อนแอ มีการรัฐประหาร 8 ปี 10 ปี ครั้งหนึ่ง ส่งผลการรวมตัวของประชาชนถูกทำลาย
ไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้ประชาชนอ่อนแอ ทั้งสองอย่างนี้ต้องไปด้วยกันเพราะในอดีตที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้ว
และปัจจุบันยังเป็นเช่นนั้น 3.ประเทศไทยมีทรัพยากรเพียงพอที่จะสร้างรัฐสวัสดิการที่ดี ความเชื่อที่ว่าถ้าสร้างรัฐสวัสดิการแล้วประเทศจะล่มจม
ก็ควรปล่อยให้ล่มไปเลย
การพัฒนาประเทศนับแต่ 60 ปีที่ผ่านมา
ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำไปใช้สร้างความมั่งคั่งให้กลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม
มองย้อนกลับไปดูกลุ่มผู้ใช้แรงงานทำงาน 74 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ยังไม่มีเงินเก็บ ไม่มีบ้าน ไม่มีรถ แต่กลุ่มทุนกลับรวยขึ้น ดังนั้น
ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ทรัพยากรของประเทศไปใช้กับคนกลุ่มไหน 4.รัฐสวัสดิการคือการปลดปล่อยศักยภาพของประชาชนและประเทศ
สวัสดิการไม่ใช่เรื่องของจนหรือรวย แต่คือการสร้างให้คนเท่ากัน
คนจะดึงศักยภาพมาใช้ได้ยามท้องอิ่ม และ 5.ต้องทำลายโครงสร้างไม่เป็นธรรมที่ค้ำยันสังคมไทยอยู่
ไม่ว่าโครงสร้างเหล่านี้จะเป็นกลุ่มทหาร
กลุ่มทุนผูกขาด หรือกลุ่มคนอภิสิทธิ์ชน กลุ่มเหล่านี้จะเป็นผู้เสียประโยชน์จากรัฐสวัสดิการ
ซึ่งกดทับประเทศไทยอยู่ ถ้าไม่จัดการเรื่องนี้สวัสดิการต่างๆจะไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการนำเสนอสวัสดิการเข้ามาสู่การเลือกตั้งทุกพรรคการเมืองแน่นอน
และเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกๆครั้งที่ผ่านมาด้วย
ขณะที่
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความเห็นว่า เรื่องสวัสดิการเป็นหัวใจที่จะยกระดับประเทศ ดั้งนั้นจะไม่สามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในประเทศไทย
เห็นด้วยกับความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นปัญหาใหญ่
แต่มีประเด็นที่เป็นตัวเร่งให้ระบบสวัสดิการทำหน้าที่ให้เร็วคือ
คือการที่ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย สัดส่วนผู้มีอายุ 60
ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 20
อีกเพียงไม่กี่ปีอาจจะเพิ่มไปถึงร้อยละ 30 สรุปคือคนไทยกำลังจะแก่ก่อนรวย นอกจากนั้นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว
ทำให้ความมั่นคงในชีวิตและอาชีพลดน้อยลง
จึงจำเป็นเร่งด่วนที่ระบบสวัสดิการจะต้องเกิดขึ้น
การแก้ปัญหาความยากจน
ความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่ทุกมาตรการที่จะเข้ามาสนับสนุนระบบสวัสดิการ
ยกตัวอย่างการมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตอบโจทย์ระบบสวัสดิการได้หรือไม่
ซึ่งหลายคนมองว่าไม่ใช่
แต่หลักของระบบนี้ต้องยอมรับว่าเป็นสิทธิของพลเมืองที่ได้จะได้รับโดยอัตโนมัติ
ไม่ใช่รัฐบาลอยากให้
การบริการทั้งหลายต้องมีถ้วนหน้า ทุกคนมีสิทธิทุกคนต้องได้รับ
และควรมีระบบมีหลักเกณฑ์ว่าควรจะได้เท่าไรอย่างไร ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาการเก็บภาษีค่อนข้างมาก
ข้อจำกัดนี้ก็ยังอยู่ ถ้าจะทำรัฐสวัสดิการ ลดความเหลื่อมล้ำต้องมุ่งเก็บภาษีทางตรง
แต่ประเทศไทยกลับมาเก็บภาษีทางอ้อมเป็นหลัก เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อจำกัดทางสังคม สังคมที่ค่อยๆพัฒนามาจากชนบท
มีคนอีกจำนวนมากไม่ได้มีการสนับสนุนระบบสวัสดิการ จะมีบางกลุ่มมองว่าการช่วยเหลือคนยากจนต้องใช้ระบบสังคมสงเคราะห์ และข้อจำกัดทางการเมือง ไม่ใช่หลักประกันที่จะให้ความสำคัญกับสวัสดิการ
เพราะการเมืองที่อยู่กับระบบอุปถัมภ์และอำนาจ ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายทหาร
หรือรัฐบาลที่ไม่มาจากประชาธิปไตย ไม่ต้องการระบบสวัสดิการ
ซึ่งต้องขจัดข้อจำกัดเหล่านี้ให้ได้
เช่นเดียวกับ
ดร.นพ. มโน เลาหวณิช เมตตานันโท เลขาธิการพรรคประชาชนปฏิรูป ที่เห็นด้วยในเรื่องการมีทรัพยากรประเทศที่เพียงพอ
มีแหล่งต้นทุนที่จะจัดสวัสดิการที่ทั่วถึงได้ แต่ปัญหาคือไม่รู้จะไปทางไหน
และโครงสร้างทางสังคมระบบอุปถัมภ์ไม่เอื้อให้พัฒนาต่อไปได้
ความเชื่อเป็นต้นแบบหนึ่งของสังคมอุปถัมภ์ ชาวพุทธสอนให้เชื่อในกฎแห่งกรรม
ระบบอุปถัมภ์จึงไม่หายไป ต้องปฏิรูปความคิดและคำสอนที่นำมาใช้กันใหม่ ปัญหาเรื่องนี้ทำให้การตรวจสอบทางด้านสังคมน้อย
ทำให้เกิดการคอรัปชั่น การเอารัดเอาเปรียบคนจนตามมา
คือสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แนวคิดของพรรคพลังปฏิรูปคือให้อำนาจประชาชน
เป็นเครื่องมือแก้ไขความทุกข์ร้อน ช่วยเหลือคนพิการ ที่ถูกละเมิดและสวมสิทธิ์ เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น