เราหลายคนอาจติดภาพในใจว่า ถ้าจะดูสารคดีต้องฝีมือต่างชาติ โดยเฉพาะที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักNational Geographic มหาอำนาจของโลกด้านสารคดีของสหรัฐ
แต่ในความเป็นจริงฝีมือการสร้างสารคดีของคนไทย ก็ไม่แพ้ฝรั่ง สารคดีหลายเรื่องที่เราดูด้วยความชื่นชม
เป็นสารคดีฝีมือไทย
ในช่วงปีที่ผ่านมา
คงไม่มีเรื่องราวใดอีกแล้ว
ที่จะน่าสนใจนำมาสร้างเป็นสารคดีมากไปกว่าปรากฎการณ์หมูป่าติดถ้ำ ก่อนหน้าหนี้
สำนักข่าว ABC
ออสเตรเลีย ก็ได้เผยแพร่สารคดีกู้ชีพ “หมูป่า” โดยมีไฮไลต์การสัมภาษณ์นักดำน้ำอังกฤษ
และคู่ดำน้ำชาวออสเตรเลีย
ปีนี้ ไทยพีบีเอส
ซึ่งได้สร้างชื่อด้วยข่าวถ้ำหลวง
จนกระทั่งชุมชนพันธุ์ทิพย์โหวตให้เป็นสถานีในดวงใจอันดับหนึ่ง ได้ถอดบทเรียน
ปฎิบัติการถ้ำหลวง ออกมาในรูปแบบสารคดี เสนออีกแง่มุมหนึ่งที่เราอาจมองข้ามไป
ด้วยฝีมือไทย และถือเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับผู้ที่ติดตามไทยพีบีเอส
ในสถานการณ์ข่าวอ่อนไหว
13หมูป่าติดถ้ำ สังคมมีคำถามมากมาย ในการรายงานข่าวของสื่อมวลชน
มีทั้งการรายงานข่าวในเชิงไสยศาสตร์ ข่าวลือ ข่าวที่ไม่มีที่มา
จนแม้กระทั่งการปลอมตัวเป็นกู้ภัย เข้าไปปะปนกับเจ้าหน้าที่ซึ่งกำลังปฏิบัติการ
การใช้โดรน ซึ่งละเมิดข้อห้าม
และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่จะเกิดกับ ฮ.ลำเลียงหมูป่า
ความสับสนอลหม่าน
ในการทำข่าว ที่คิดแต่เพียงขายข่าว ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีหลักการในการทำงาน
ทำให้ภาพของสื่อสาธารณะ เช่น ไทยพีบีเอส โดดเด่นขึ้นมา ด้วยการทำงานที่มีความรับผิดชอบสูง
มีการผลิตรายการด้านข่าวสารที่มีคุณภาพสูง
หน้าที่เหล่านี้ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายไทยพีบีเอส
ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศเดินทางของผู้ปฎิบัติงานข่าวและรายการทั้งระบบ
เฉพาะเหตุการณ์ข่าวถ้ำหลวงข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่รายการ
ของไทยพีบีเอส เขียนไว้ว่า
จะต้องให้ความสำคัญกับแหล่งที่มา ความถูกต้องของข้อมูล อีกทั้งเมื่อเกิดเหตุ
ต้องรายงานเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ และต้องไม่ละเลยการตรวจสอบความถูกต้องก่อนรายงาน
การทำงานข่าวที่มีหลักจริยธรรมกำกับอย่างเข้มข้นเช่นนี้
เป็นเรื่องยากสำหรับสื่อเชิงพาณิชย์ ที่มุ่งเน้นขายข่าว มีกำไร ขาดทุน
ความอยู่รอดเป็นตัววัดความสำเร็จ แต่ก็เป็นเรื่องที่อธิบายยากสำหรับสังคมไทย
ที่ใช้เรทติ้งเป็นตัววัดความพึงพอใจ แน่นอนสำหรับสารคดีคุณภาพถ้ำหลวง เรื่องนี้
หากจะวัดว่าในช่วงไพร์มไทม์ สารคดีไทยพีบีเอส กับบันเทิงคดี หนัง ละคร เกมโชว์
ในช่องอื่นๆ ก็อาจจะดึงคนที่เป็นแฟนประจำในช่องนั้นๆมาไม่ได้ง่ายนัก
เพราะคำว่าคุณภาพกับเรทติ้งนั้นอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
นี่เป็นเรื่องที่ท้าทาย
มิเพียงท้าทายคนทำงานสื่อสาธารณะ ที่ต้องมีหลักคิด มีวิธีทำงาน
ที่แตกต่างจากสื่อเชิงพาณิชย์
หรือแม้แต่แตกต่างจากวิถีของตัวเองที่เคยทำงานสื่อในภาคเอกชนมาก่อน หากแต่ยังท้าทายสังคม ที่จะต้องปรับ
ต้องเปลี่ยนทัศนคติของพวกเขาที่มีต่อสื่อสาธารณะ
ว่านี่มิใช่สื่อที่ต้องตอบสนองตลาดผู้บริโภค แต่ขณะเดียวกันก็ไม่อาจละเลยที่จะต้องให้มีจำนวนคนดู
คนติดตาม ในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าไปกว่าสื่อเชิงพาณิชย์ช่องอื่นๆด้วย
สิ่งใดที่เรียกว่า
เป็นภาพสะท้อนของความเป็นสื่อสาธารณะ ที่มีความรับผิดชอบสูง มีคุณภาพสูง
อาจมีคำตอบอยู่ใน สารคดีถ้ำหลวง สูญ-หา-เจอ-รอด-ฟื้น 5 ตอนต่อเนื่อง
รับชมพร้อมกันทั่วโลก 14-18 มกราคมนี้ เวลา 20.40-21.30
น. ทางไทยพีบีเอส
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ฉบับที่ 1212 วันที่ 11 - 17 มกราคม 2562)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น