
นับเป็นข่าวดีที่ปี 2562 นี้ฤดูผลผลิตสับปะรดลำปางไม่ได้รับผลผกระทบล้นตลาด
ส่งผลในทางบวกให้กับเกษตรกรที่กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ และการตลาดสับปะรดลำปาง
ให้เป็นที่รู้จักในรูปแบบของสับปะรดกินผลสดที่มีรสชาติหวาน อร่อย แถมเป็นสับปะรดอินทรีย์
และ สับปะรดปลอดเคมี ซึ่งแตกต่างจากผลผลิตที่ขายเข้าโรงงานทั่วไปตามแนวทางบูรณาการเชื่อมโยง
การพัฒนาไปทิศทางเดียวกันให้ยกระดับคุณภาพสับปะรดลำปางดี เด่น ดังไปไกล
ลานนา Bizweek รายงานว่า ตามที่จังหวัดลำปาง มีนโยบายช่วยเหลือ
สนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ทั้งระยะสั้น และระยะยาว
ตามแผนยุทธศาสตร์ด้านเกษตรของจังหวัดลำปางผลักดันให้ สับปะรดลำปางเป็น
สินค้าการเกษตรหลักของจังหวัด 4 แนวทาง คือ 1.สับปะรดปลอดภัยแปลงใหญ่
เน้นการปลูกแบบไม่ใช้สารเคมี เพื่อการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน และปริมาณที่เพียงพอต่อการขายผลสด
ส่งห้าง และการส่งออกในอนาคต 2.การปลูกสับปะรด นอกฤดูกาล
เพื่อสนับสนุนให้สับปะรดลำปางมีขายตลอดทั้งปี
3.พัฒนาปรับเปลี่ยนสายพันธุ์
ที่ตลาดมีความต้องการสูงทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก คือพันธุ์ MD2 ซึ่งมีคุณสมบัติ รสชาติหวานหอม
ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา ลำปาง ร่วมมือกับ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดอินทรีย์
ก็เริ่มดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์สับปะรดของจังหวัดลำปางเอง คือสายพันธุ์หอมเขลางค์ (LP
1) สำเร็จแล้วในปีนี้ 4.การส่งเสริมด้านการตลาด ด้วยการสร้างแบรนด์
หรือตราสัญลักษณ์สินค้าสับปะรดของลำปางให้เป็นที่จดจำ โดย เน้นให้ผู้ปริโภคทั่วไป
นึกถึงสับปะรดลำปางที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวานรสน้ำผึ้งและที่สำคัญ
คือเป็นสับปะรดปลอดภัย ให้ติดตลาดว่า “สับปะรดน้ำผึ้งลำปาง หวาน ปานน้ำผึ้งเพื่อผลการตลาดระยะยาว
ล่าสุด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำปาง
กำลังเตรียมดำเนินการจัดทำ เกษตรแบบพันธสัญญา ( Contract Farming ) ระหว่างเกษตรกรแปลงใหญ่สับปะรด
สหกรณ์ผู้ปลูกสับปะรด ตำบลบ้านเสด็จ ,สหกรณ์ผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดลำปาง
กับ โรงงานแปรรูปสับปะรด บริษัทเถกิงอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง จำกัด
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตและแก้ไขปัญหาสับปะรดจังหวัดลำปางที่ยั่งยืน
ขณะที่
เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด อำเภองาว ที่ปลูกสับปะรดสายพันธุ์ขนาดเล็ก ที่สวนป้าจิตรา
และลุงอาร์ต สรรพรัตน์ กวาวสนั่น สองสามีภรรยา ชาวบ้านใหม่ธานี อำเภองาว สำเร็จ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่อำเภองาว (Young Smart Farmer) เป็นแรงขับเคลื่อนการตลาดและการขยายผลการพัฒนา
ลุยตลาดขายผลสดสับปะรด “ภูงาว” ในปีนี้อย่างจริงจัง
สร้างการตื่นตัวให้กับผู้ปลูกสับปะรดรายอื่นๆในพื้นที่อำเภองาวเป็นอย่างมาก
ขณะที่ปฏิบัติการเกษตรสุขภาพ
เกษตรคุณภาพ จังหวัดลำปาง ในการผลักดันงบประมาณพัฒนาจังหวัด สนับสนุนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดสายพันธุ์
MD2 เห็นผลเป็นรูปธรรมในปีนี้ สอดคล้องกับ การเชื่อมโยงให้
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ว.ว.)
เข้ามาช่วยพัฒนาการรักษายืดอายุการแปรรูปสับปะรดอีกทางหนึ่งเริ่มดำเนินการแล้ว
ชาวสวนสับปะรดที่อยู่ในเครือข่ายการพัฒนาตาม
แผนงาน ลำปางโมเดลยิ้มแป้นรับเป้าหมายพัฒนาสับปะรดแบบยั่งยืน
เป็นพืชเศรษฐกิจคู่เมืองลำปาง จะทำให้พื้นที่ปลูกที่มีอยู่ ราว 24,000
กว่าไร่ ซึ่งได้ผลผลิตภาพรวมทั้งหมด 60,000 กว่าตัน จะปรับเปลี่ยนสัดส่วนการตลาดให้ขายผลสดมากกว่า
20-30 % เปลี่ยนเส้นทางขายเข้าโรงงานเป็นขายผลสดได้ราคาดีตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น