ปูนซิเมนต์ลำปางเล็งเปิดเหมืองลิกไนต์
อ.แม่ทะ ยื่นขอประทานบัตร 4 ใบ เนื้อที่กว่า
9 ร้อยไร่ ล่าสุดสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
ลงพื้นที่จัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชน แต่ยังมีชาวบ้านไม่เอาด้วย
เกรงส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำในชุมชน และไม่ได้จ่ายภาษีท้องที่เพราะจดทะเบียนที่แจ้ห่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2562 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง
ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในพื้นที่ขอประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่ประเภทที่
3 ในโครงการเหมืองแร่ถ่านหินของ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย(ลำปาง)จำกัด จำนวน 4 คำขอประทานบัตร
ในพื้นที่ ม.6 ต.บ้านบอม อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
โดยเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวจัดขึ้นที่ ศาลาเอนกประสงค์ ม.6 ต.บ้านบอม
อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
จากข้อมูลทราบว่า
พื้นที่คำขอประทานบัตรทั้ง 4 แปลงนั้น อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจและพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
(สปก.) รอบด้วยเทือกเขาซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ในทิศเหนือ ทิศตะวันตก และทิศใต้
บริเวณตอนเหนือติดกับอ่างเก็บน้ำห้วยแม่กอง
มีลำห้วยเล็กๆไหลจากเทือกเขาด้านตะวันตก ทิศเหนือและทิศใต้ไหลลงอ่างเก็บน้ำ
ส่วนในบริเวณพื้นที่คำขอประทานบัตรไม่มีลำห้วยที่มีน้ำไหลตลอดปีไหลผ่าน
แต่ในแผนที่ของกรมแผนที่ทหาร มีลำห้วยไพรอยู่ในพื้นที่คำขอ 7 / 2561 และ ห้วยมหาวรรณอยู่ทิศตะวันออก และ ห้วยแม่กอง
อยู่ทางทิศเหนือ
โดยโครงการดังกล่าว
เป็นของ บริษัทปูนซิเมนต์(ลำปาง)จำกัด ซึ่งได้มีการยื่นขอประทานบัตรจำนวน 4 แปลง
ประกอบด้วย คำขอประทานบัตรที่ 7/2561 หมายเลขหลักเขตเหมืองแร่ที่ 30543 เนื้อที่
290-1-65 ไร่ คำขอฯที่
8/2561 หมายเลขฯ 30542 เนื้อที่ 298-3-15 ไร่, คำขอฯที่
9/2561 หมายเลขฯ 30544 เนื้อที่ 267 – 0 – 40 ไร่ และ คำขอฯที่ 10/2561 หมายเลขฯ 30545
เนื้อที่ 102 – 0 – 81 ไร่ รวมพื้นที่ประทานบัตรทำเหมือนแร่ถ่านหินกว่า 900 ไร่ เพื่อทำเหมืองแร่ลิกไนต์ ส่วนหนึ่งนำไปใช้ในการผลิตปูนซิเมนต์ของโรงงาน
และส่วนหนึ่งจะมีการขนส่งปิดมิดชิดในการนำไปส่งแหล่งรับซื้อภายนอก
จากรายงานเบื้องต้น
ทราบว่า ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่ได้มีการคัดค้านในเรื่องดังกล่าว
เพียงแต่มีข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
เช่น อาจเกิดฝุ่นละออง การตกค้างของสารเคมีในการทำเหมือง เสียง
การใช้เส้นทางการขนส่ง แหล่งน้ำสาธารณูปโภคและใช้ในการเกษตรกรรม
อาจเกิดการปนเปื้อน
ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านและการหมดอายุของอ่างเก็บน้ำ
เนื่องจากการสะสมตะกอนดินที่เกิดจากการชะล้างในการทำเหมืองไหลเข้าสู่อ่าง
ทำให้ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ รวมถึงการจ่ายภาษี ซึ่งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย(ลำปาง)
จดทะเบียนที่ อ.แจ้ห่ม แต่ในพื้นที่จะได้รับค่าภาคหลวงแร่
ร้อยละ 20
อย่างไรก็ตาม
ในส่วนรายละเอียดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะอยู่ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA) ซึ่งบริษัทฯอยู่ระหว่างการจัดทำรายงาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น