นายกสมาคมเครื่องปั้นห่วงผู้ประกอบการส่งออกสินค้า
หลังอเมริการะงับสิทธิ GSP กับสินค้าไทยหลายรายการ
รวมไปถึงเซรามิกพอร์ซเลน แม้จะยังไม่กระทบมากแต่เตือนให้ตั้งรับ พร้อมเผยเซรามิกเกิดปัญหามานานแล้ว
ตั้งแต่ค่าแรง ค่าแก๊ส ต้นทุนวัตถุดิบ
จากกรณีประธานาธิบดีโดนัลด์
ทรัมป์ ลงนามระงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP
(จีเอสพี) กับ สินค้าไทยมีมากถึง 573 รายการ
คิดเป็นมูลค่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 39,650
ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่า
“ไทยล้มเหลวในการจัดสิทธิที่เหมาะสมให้กับแรงงานตามหลักสากล” ซึ่งสินค้าไทยที่อยู่ในรายการที่จะถูกตัดสิทธิ
GSP ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2563 โดยรายการสินค้าที่ถูกระงับสิทธิทางภาษี
เช่น อาหารทะเล, ผักผลไม้, เมล็ดพันธุ์
น้ำเชื่อมและน้ำตาล, ซอสถั่วเหลือง, น้ำผักและน้ำผลไม้,
อุปกรณ์เครื่องครัว, ประตูหน้าต่าง, ไม้อัด, ไม้แปรรูป, ตะกร้าดอกไม้ประดิษฐ์,
จานชาม, เครื่องประดับ, เหล็กแผ่น
และสเตนเลส เป็นต้น ทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐฯ
จะต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐ ซึ่งจากเดิมไม่ต้องเสีย
โดยจะต้องเสียภาษีเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4-5
ในส่วนของผู้ประกอบการเซรามิคจังหวัดลำปาง
เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับกระทบจากการตัดสิทธิ GSP เช่นกัน
เนื่องจากสินค้าเซรามิกพอร์ซเลน
ซึ่งเป็นงานเซรามิกที่ละเอียดกว่างานทั่วไป นิยมใช้ในกลุ่มชาวต่างชาติ
เนื่องจากมีราคาสูง รวมอยู่ในกลุ่มสินค้าดังกล่าวด้วย
นายต่อศักดิ์
ประคำทอง นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า จากกรณีประเทศสหรัฐอเมริการะงับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป
หรือ GSP
กับสินค้าไทย ส่งผลรวมไปถึงสินค้าเซรามิกส่งออกของจังหวัดลำปาง
คือผลิตภัณฑ์เซรามิกเนื้อพอร์ซเลน ซึ่งการตัดสิทธิจะมีอยู่
2 ประเภทคือ Hotelware จะมีการขึ้นภาษี
25 เปอร์เซ็นต์ และ Houseware ขึ้นประมาณ
8-9 เปอร์เซ็นต์ จากการสอบถามสมาชิกฯ
ผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ เบื้องต้นพบว่าได้รับผลกระทบแต่น้อยมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์สินค้าเซรามิกลำปาง
ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินขาวทั่วไป เป็นสินค้าครัวเรือน และงานตกแต่ง
สำหรับเซรามิกเนื้อพอร์ซเลน
หรือเนื้อสีขาว ที่อยู่ในกลุ่มถูกตัดสิทธิ
GSP
แม้จะมีการส่งออกไป ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็ไม่มากนัก ซึ่งจะมีโรงงานขนาดใหญ่ในลำปาง
ที่เป็นผู้ผลิตเซรามิคเนื้อพอร์ซเลน ประเภทสินค้าบนโต๊ะอาหาร (Tableware) ส่งออกอยู่ที่ประมาณ ปีละ 5 แสนชิ้น
ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ถือว่าหนัก ขณะนี้ทางโรงงานก็ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
อาจจะต้องมีการหาตลาดใหม่
นายกสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง
กล่าวต่อไปว่า ตามจริงแล้วอุตสาหกรรมเซรามิกบ้านเรา
ได้รับผลกระทบจากด้านอื่นมาตลอดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากต้นทุนการผลิต ทั้งด้านเชื้อเพลิงแก๊ส
LPG
และค่าแรงงาน
รวมไปถึงต้นทุนวัตถุดิบต่างๆที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์เศรษฐกิจช่วงนี้ค่อนข้างไม่ดี
ทำให้ธุรกิจซบเซาลง ในการหาตลาดใหม่จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะยังไม่ทราบว่าตลาดอื่นต้องการสินค้าประเภทไหน
ปัจจุบันนี้อาจจะยังไม่เห็นผลเพราะยังมีออเดอร์ส่งออกต่อเนื่องถึงสิ้นปี คงต้องรอดูผลจากระยะยาวคือหลังช่วงเดือนเมษายน 2563 ว่าตลาดทางสหรัฐอเมริกาจะหายไปหรือไม่
ด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ขณะนี้ได้มีการเตรียมจัดงานลำปางเซรามิกแฟร์ ครั้งที่ 32 ในวันที่ 29 พฤศจิกายน – 10
ธันวาคม 2562
ผนวกกับในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม
จะมีการจัดประชุมหอการค้าทั่วประเทศที่ จ.ลำปาง
ได้มีความคาดหวังว่าจะมีเงินหมุนเวียนในจังหวัด 50 ล้านบาท
กลุ่มนักธุรกิจจากหอการค้าจะมีโอกาสเข้ามาร่วมงานนี้และมียอดเงินเข้ามาหมุนเวียนภายในงานลำปางเซรามิกแฟร์ และอีกกิจกรรมหนึ่งคือทางสมาคมฯได้ร่วมกับทาง
อบจ.ลำปาง และเซ็นทรัล จัดงานเซรามิกเวิร์ลคราส เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 62 ที่ผ่านมา
มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อต่างๆทำให้เซรามิกลำปางเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และยังมีทางจังหวัดลำปางที่ได้จัดงานมหกรรมเซรามิกมาแล้ว
2 ครั้งที่จังหวัดกรุงเทพฯ โดยทางผู้ว่าฯ ทรงพล สวาสดิ์ธรรม
ก็ได้มีการตั้งงบประมาณจัดงานไว้ในปี 63 ก่อนที่จะเกษียณราชการ
ซึ่งงานนี้สามารถทำเงินให้เข้ามาในจังหวัดได้ 5-10 ล้านบาท เราได้พยายามกระตุ้นในส่วนนี้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ
SME เพื่อให้มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในจังหวัดมากขึ้น
(หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับที่ 1248 วันที่ 1 - 14 พฤศจิกายน 2562)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น