วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

มูลนิธิม้าลำปาง เปิดตัว ออดิโอไกด์ทัวร์ (Audio Guided Tour on an Pony Carriage) ส่งเสริมให้คนเลี้ยงม้าในพื้นที่ และประชาชนนักท่องเที่ยว ร่วมกันอนุรักษ์ม้าลำปาง


จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์


มูลนิธิม้าลำปาง  เปิดตัว ออดิโอไกด์ทัวร์ (Audio Guided Tour on an Pony Carriage) ส่งเสริมให้คนเลี้ยงม้าในพื้นที่ และประชาชนนักท่องเที่ยว ร่วมกันอนุรักษ์ม้าลำปาง ให้อยู่คู่ลำปางประเทศไทย และมรดกโลก หลังพบคนเลี้ยงขาดความรู้ที่ได้มาตรฐาน ผสมม้าข้ามสายพันธุ์ ทำให้ม้าลำปาง ที่มีเชื้อสายในศตวรรษที่ 7 หรือมีต้นกำเนิน 1,300 กว่าปี เริ่มลดน้อยลงหวั่นจะสูญหายไปจากประเทศไทย
วันที่ 26 กุมภาพันธุ์ 2563 ที่มูลนิธิม้าลำปาง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มูลนิธิม้าลำปาง ร่วมกับ บริษัท Narrowcasters Pty LTD (Australia) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดทำ Audioguided tour ให้แก่พิพิธภัณฑ์และโบราณสถานสำคัญทั่วโลก ได้เล็งเห็นความสำคัญและโอกาสในการสร้างการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าในประเทศไทย โดยได้เลือกการสนับสนุนการสร้าง Audio guided tour ให้แก่มูลนิธิม้าลำปาง เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต (Living museum) แห่งแรกของประเทศไทย  



โดยนักท่องเที่ยวได้นั่งรถม้า พร้อมเรียนรู้ประวัติศาสตร์  และได้เผยแพร่ให้โลกได้รับรู้ถึงคุณค่าของสายพันธุ์ม้าไทยที่ยังมีคนรู้อยู่น้อยมาก โดยเฉพาะม้าไทยที่จังหวัดลำปาง และแถบจังหวัดทางภาคเหนือ เป็นม้าสายพันธุ์โบราณเกือบไม่มีเหลือแล้วในโลก ย้อนประวัติสายพันธุ์ไปได้ถึง ศตวรรษที่ 7 แต่ยังมีการใช้อยู่ในสังคมปัจจุบัน รวมไปถึงความเข้าใจผิดเรื่องสรีระและศักยภาพของสายพันธุ์ ทำให้นักท่องเที่ยวไม่นิยมม้าไทย และสร้างปัญหาเรื่องรายได้ จนการเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้สรีระที่นักท่องเที่ยวเข้าใจว่าดี สิ่งนี้เป็นการทำลายสายพันธุ์ที่เป็นมรดกโลก และมีคุณค่าทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์


ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ทางมูลนิธิม้าลำปาง ได้ร่วมมือกับ นักวิจัยด้านพันธุกรรมจากมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอม้าพื้นเมืองในจังหวัดลำปาง โดยเปรียบเทียบฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมม้าทั่วโลก พบว่า ม้าพื้นเมืองของไทย จัดอยู่ในกลุ่มม้าป่าแห่งเอเชีย และมีความเชื่อมโยงกับเชื้อสายม้ามองโกเลีย คือ พันธุ์มองโกเลียน พเวาสกี (Mongolian Przewalski) ม้าโบราณที่ใกล้สูญพันธุ์ และได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในฐานะเป็นม้าป่าสายพันธุ์สุดท้ายของโลก ดังนั้นการจัดกิจกรรมครั้งนี้ก็เพื่อจะให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตื่นตัวร่วมใจกันอนุรักษ์ม้าสายพันธุ์โบราญ ให้ยั่งยืนสืบไป



โดยได้พากันนั่งรถม้าไปตามเส้นทางประวัติศาสตร์เมืองลำปาง ชมวัดสำคัญเมืองโบราณ ผ่านชุมชนเก่า เรียนรู้ประวัติรถม้าจากทางสมาคม และประวัติม้า ไทยสายพันธุ์มรดกโลกจากทางมูลนิธิฯ พร้อมเสียงพากย์บรรยาย 2 ภาษา (Thai, English) และจะมีโครงการภาษาอื่นๆอีก 8 ภาษาในอนาคต การสร้าง Audio guided tour นอกจากจะได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับมรดกไทยที่เป็นมรดกโลกแล้ว ยังจะมีผล ให้เกิดประโยชน์ทางรายได้แก่ผู้ประกอบการรถม้า อีกทั้งเป็นแหล่งรายได้สำคัญ ของการท่องเที่ยวในจังหวัดลำปางอีกด้วย

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์