
“ปัญหาขยะถือเป็นวาระแห่งชาติ”
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นขานรับนโยบายรัฐบาล
จึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างรูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่
ภายใต้หลักประชารัฐ เป็นการสร้างความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
ได้ก่อสร้างศูนย์จัดการขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร ณ บ้านศรีดอนไชย หมู่ที่ 5
ต.ต้นธงชัย อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง และบูรณาการการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง
จำนวน 49 แห่ง โดยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการบริหารจัดการขยะอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม
อบจ.ลำปาง
ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างจิตสำนึก การสร้างจิตสาธารณะ
การตระหนักรู้และการเป็นต้นแบบที่ดี มาใช้ในการบริหารจัดการขยะ โดยใช้หลักการ 3Rs คือ Reduce (ใช้น้อย) Reuse (ใช้ซ้ำ) Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) การรณรงค์คัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อลดขยะต้นทาง
เริ่มจากการคัดแยกขยะเปียกออกจากขยะทั่วไป
โดยการนำถังพลาสติกทั่วไปมาเจาะก้นถังแล้วนำไปฝังดิน
ปิดฝาด้านบนเพื่อควบคุมปริมาณอากาศและสภาวะแวดล้อมไม่ให้อากาศถ่ายเทออกจากถังพลาสติกได้ง่าย
ขยะเปียกที่ย่อยสลายง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก จะย่อยสลายภายใน 15 – 30 วัน
กลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินและต้นไม้ ซึ่งในเบื้องต้น อบจ.ลำปาง
เป็นต้นแบบคัดแยกขยะเปียกภายในสถานที่ทำงานก่อนที่จะนำไปปฏิบัติขยายผลกับครัวเรือนในพื้นที่
อปท. อื่นๆ จำนวน 49 แห่ง และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
จึงจัดโครงการ “สร้างการมีส่วนร่วมจัดการขยะจังหวัดลำปางอย่างยั่งยืน”
โดยดำเนินการในลักษณะสัญจรพบปะประชาชน ลงพื้นที่ในแต่ละ อปท.
ส่งเสริมความรู้ด้านการบริหารจัดการขยะ ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดประชุมประชาคมระดับอำเภอ
เพื่อสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน
อีกทั้งจัดการประกวดชุมชนหมู่บ้านดีเด่นในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยเต็มรูปแบบ 100%
เพื่อขยายผลการดำเนินงานฯ
สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านการจัดการขยะที่ได้ผลแก่ชุมชนหมู่บ้านอื่นๆ
ต่อไปในอนาคต
โดยชุมชนหมู่บ้านดีเด่นที่ได้รับรางวัลจากการประกวดฯ
จะได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่
เพื่อนำไปต่อยอดการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีรางวัลดังนี้
รางวัลชนะเลิศ ได้รับงบประมาณจัดสรร จำนวนเงิน 500,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ
อันดับ 1 ได้รับงบประมาณจัดสรร จำนวนเงิน 300,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศ
อันดับ 2 ได้รับงบประมาณจัดสรร จำนวนเงิน 200,000 บาท
รางวัลชมเชย
3 รางวัล
ได้รับงบประมาณจัดสรร รางวัลละ 100
,000 บาท
อันจะส่งผลให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ
นำไปสู่การพัฒนาจังหวัดลำปางให้เป็นเมืองสะอาด น่าอยู่ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น