วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กฟผ.ประกาศภัยแล้งรุนแรงระดับ 2 ขอให้ใช้น้ำอย่างประหยัดในช่วงนี้ หลังปริมาณน้ำในเขื่อนแม่จางและเขื่อนแม่ขาม เหลืออยู่ประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์

จำนวนผู้เข้าชม เว็บเคาน์เตอร์

กฟผ.แม่เมาะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปางและมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ 2 แหล่งคือ เขื่อนแม่จางมีปริมาณกักเก็บปกติ 102.118 ล้านลูกบาศก์เมตรและเขื่อนแม่ขามมีปริมาณกักเก็บปกติ 35.843 ล้านลูกบาศก์เมตร จากข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ปริมาณน้ำใน 2 เขื่อนใหญ่ ของ กฟผ.แม่เมาะ มีปริมาณคงเหลือใช้ได้คิดเป็น 27.46% และ 17.40% ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเข้าสู่ภาวะภัยแล้งความรุนแรงระดับ 2 ที่ทุกคนควรช่วยกันประหยัดน้ำ และใช้อย่างรู้คุณค่า ทั้งนี้
โรงไฟฟ้าแม่เมาะมีคณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้เกิดประโยชน์สูงสุด พอเพียงต่อระบบการผลิตกระแสไฟฟ้า ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ท้ายน้ำและชุมชนอื่นๆ ตามที่มีการร้องขอ โดยในปี 2563 นี้ กฟผ.แม่เมาะ ได้คาดการณ์ปริมาณการสำรองน้ำใช้สำหรับชุมชนไว้ที่ประมาณ 27 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยส่งน้ำผ่านช่องทางต่างๆ ไปยังชุมชน อ.แม่เมาะ อาทิ ท่อส่งน้ำแม่จาง-ข่วงม่วงท่อส่งน้ำหมู่บ้านสบเมาะตอนบนและตอนล่าง หมู่บ้านฝั่งเกษตรและห้วยเป็ด หมู่บ้านปงชัย หมู่บ้านห้วยคิง, กาลักน้ำจากคลองส่งน้ำแม่จางสำหรับใช้ในกิจกรรมการเกษตรของราษฎรบ้านข่วงม่วง เป็นต้น
นอกจากนั้นแล้ว กฟผ.แม่เมาะ ยังวางแผนบริหารจัดการน้ำสำหรับชุมชนเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ตลอดฤดูแล้งโดยมีแผนสูบน้ำจากเขื่อนแม่ขามเข้าเขื่อนห้วยคิงตอนล่างเพื่อสำรองไว้ใช้สำหรับการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอแม่เมาะ กรณีที่น้ำจากเขื่อนห้วยคิงตอนบนหมดรวมไปถึงแผนการระบายน้ำลงสู่ลำน้ำจางเพื่อรักษาระบบนิเวศและเติมน้ำในฝายต่างๆ ในลุ่มน้ำจางให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่อำเภอ แม่เมาะ อำเภอแม่ทะ และอำเภอเกาะคา ตลอดไปถึงจัดรถบรรทุกน้ำสำหรับเติมน้ำในระบบประปาหมู่บ้านหรือถังเก็บน้ำของชุมชนและเตรียมจุดให้บริการเติม น้ำสำหรับรถน้ำของหน่วยงานท้องถิ่นรอบๆ กฟผ.แม่เมาะ อีกด้วย

Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

18 ปี ลานนาโพสต์

โครงการปั้นดาว

โครงการปั้นดาว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

สถิติการเข้าชมเว็บไซต์