มะเร็งต่อมลูกหมาก มีลักษณะของโรคที่มีการเติบโตขึ้นอย่างช้าๆ
และไม่มีอาการบ่งชี้ที่ชัดเจน หรือหากมีอาการก็จะมีลักษณะคล้ายกับอาการต่อมลูกหมากโต
หรือต่อมลูกหมากอักเสบ ทำให้ถูกมองว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามวัย กว่าจะตรวจพบก็อาจจะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นแล้วโดยเซลล์มะเร็งเหล่านั้นจะสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดหรือต่อมน้ำเหลืองไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกายทำให้อวัยวะนั้นๆ
ถูกทำลายไปในที่สุด โดยมากมักเกิดเกิดกับผู้ชายที่มีอายุ
50-60 ปีขึ้นไป
คนที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
จะมีความเสี่ยงสูงมากกว่าคนทั่วไป
อาการเตือนที่ต้องระวังให้สำรวจว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
* มีเลือดปนในน้ำปัสสาวะ
* รู้สึกปวดเวลาปัสสาวะ
* ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะไม่หมด
* ปวดปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
* อวัยวะเพศไม่ค่อยแข็งตัว
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้หลายวิธี
ประกอบด้วย
- การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือด
Prostate-Specific Antigen(PSA) เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีค่า PSA
อยู่ในระดับ 0-4 ng/ml แนะนำให้ตรวจซ้ำทุก 1
ปี แต่หากมีค่า PSA ที่สูงกว่านั้น ควรได้รับการตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีการอื่นๆ
เพิ่มเติม
- การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (Trans-rectal Ultrasound of the
Prostate: TRUS) เป็นการตรวจที่ใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจลักษณะของต่อมลูกหมาก
- การตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Biopsy) โดยแพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ
เพื่อยืนยันให้ชัดเจนว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น